วารสารพฤกษศาสตร์ไทย สวนสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์
     
แสดงบทความ
 
ชื่อบทความ(ไทย): กายวิภาคศาสตร์เนื้อเยื่อชั้นผิวใบของพืชวงศ์ส้ม (Rutaceae) บางชนิดในประเทศไทย
ชื่อบทความ(Eng): Leaf epidermal anatomy of some species of the family Rutaceae from Thailand
ชื่อผู้แต่ง(ไทย): ดาราวรรณ สุขเจริญ1 อนิษฐาน ศรีนวล1,* และ วิโรจน์ เกษรบัว2
ชื่อผู้แต่ง(Eng) : DARAWAN SUKCHAROEN1, ANITTHAN SRINUAL1,* & WIROT KESONBUA2
เลขที่หน้า: 11  ถึง 26
ปี: 2557
ปีที่: 6
ฉบับที่: 1   แสดงบทความทั้งหมดของฉบับ
บทคัดย่อ:

ศึกษาลักษณะกายวิภาคศาสตร์เนื้อเยื่อชั้นผิวใบของพืชวงศ์ส้ม (Rutaceae) ในประเทศไทยจำนวน 13 สกุล 22 ชนิด 3 พันธุ์ รวม 25 แทกซา ได้แก่ สกุล Citrus 6 ชนิด 3 พันธุ์, Clausena 3 ชนิดGlycosmis และ Murraya สกุลละ 2 ชนิด และสกุล Acronychia, Aegle, Atalantia, Feroniella,Micromelum, Naringi,Toddalia, Triphasia และ Zanthoxylum สกุลละ 1 ชนิด โดยนำตัวอย่างมาลอกผิวและย้อมด้วยสีซาฟรานิน 1% ที่ละลายในน้ำ พบว่าลักษณะเนื้อเยื่อชั้นผิวใบที่สามารถนำมาใช้ในการระบุชนิดพืชบางชนิดและบางสกุลได้แก่ ลักษณะของผิวเคลือบคิวทิน รูปร่างของเซลล์ในเนื้อเยื่อชั้นผิว ลักษณะของผนังเซลล์ด้านตั้งฉากกับผิวชนิดของปากใบ การมีหรือไม่มีไทรโคม ชนิดของไทรโคม ชนิดของผลึกและชนิดของช่องสารหลั่งนอกจากนี้ยังสามารถใช้ลักษณะดังกล่าวในการแบ่งกลุ่มพืชที่ศึกษาได้ เช่น ชนิดของปากใบสามารถแบ่ง พืชออกเป็น 5 กลุ่ม ได้แก่ กลุ่มที่ 1 มีปากใบแบบอะโนโมไซติก (anomocytic stomata) กลุ่มที่ 2 มีปากใบแบบไซโคลไซติก (cyclocytic stomata) กลุ่มที่ 3 มีปากใบแบบไซโคลไซติกและแบบอะโนโมไซติก กลุ่มที่ 4 มีปากใบแบบไซโคลไซติกและแอคทิโนโซติก (actinocytic stomata) กลุ่มที่ 5 มีปากใบแบบไซโคลไซติกและพาราไซติก (paracytic stomata) อย่างไรก็ตามการแบ่งกลุ่มที่ได้ไม่สอดคล้องกับความสัมพันธ์ทางวิวัฒนาการชาติพันธุ์

The leaf epidermal characteristics of 13 genera 22 species three varieties 25 taxa of the family Rutaceae in Thailand were studied, including six species and three varieties of Citrus, three species of Clausena, two species each of Glycosmis and Murraya and one species each of Acronychia, Aegle, Atalantia, Feroniella, Micromelum, Naringi, Toddalia, Triphasia and Zanthoxylum. The samples were investigated by leaf epidermal peeling and stained with 1% safranin in water. The results indicated that the significant leaf epidermal characteristics for species and genera identification are cuticular ornamentation, shapes of the epidermal cell, characteristics of anticlinal cell wall, types of stomata, the presence/absence of trichomes, types of trichomes ,types of crystals and types of secretory cavities. In addition, these characters can be used to separate the studied plants into groups. For example, the studied plants can be divided into five groups based on types of stomata: 1) anomocytic stomata; 2) cyclocytic stomata; 3) cyclocytic and anomocytic stomata; 4) cyclocytic and actinocytic stomata and 5) cyclocytic and paracytic stomata. However, the groups based on leaf epidermal characteristics were not congruent with the phylogenetic relationships.

download count:
 



    right-buttom
     
 

There are 81 online

All rights reserved The Botanical Garden Organization,Thailand