วารสารพฤกษศาสตร์ไทย สวนสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์
     
แสดงบทความ
 
ชื่อบทความ(ไทย): กายวิภาคศาสตร์เปรียบเทียบเนื้อเยื่อชั้นผิวใบของพืชวงศ์กระดังงา (Annonaceae) บางชนิดในประเทศไทย
ชื่อบทความ(Eng): Comparative leaf epidermal anatomy of some species of the family Annonaceae from Thailand
ชื่อผู้แต่ง(ไทย): อนิษฐาน ศรีนวล1,* และ วิโรจน์ เกษรบัว2
ชื่อผู้แต่ง(Eng) : ANITTHAN SRINUAL1,* & WIROT KESONBUA2
เลขที่หน้า: 27  ถึง 42
ปี: 2557
ปีที่: 6
ฉบับที่: 1   แสดงบทความทั้งหมดของฉบับ
บทคัดย่อ:

        ศึกษากายวิภาคศาสตร์เนื้อเยื่อชั้นผิวใบของพืชวงศ์กระดังงาในประเทศไทยจำนวน 13 สกุล 35 ชนิด โดยวิธีการลอกผิว พบลักษณะทั่วไปของเนื้อเยื่อชั้นผิวใบของพืชที่ศึกษาดังนี้ 1) รูปร่างของเซลล์ในเนื้อเยื่อชั้นผิวหลายเหลี่ยม (polygonal) หรือคล้ายจิกซอว์ (jigsaw-like) 2) ผนังเซลล์ในเนื้อเยื่อชั้นผิวเรียบ (straight) เรียบถึงเว้าเป็นคลื่น (straight to sinuate) เรียบถึงเว้าลึก (straight to cleft) เว้าเป็นคลื่น (sinuate) เว้าตื้น (emarginate) และเว้าลึก (cleft) 3) ปากใบเป็นแบบพาราไซติก (paracyticstomata) ยกเว้นพืชในสกุล Miliusa ที่มีปากใบเป็นแบบพาราเททระไซติก (paratetracytic stomata) 4) ชนิดของไทรโคม (trichomes) ได้แก่ ขนเซลล์เดียว (unicellular hair) ขนเซลล์เดียวคล้าย กระบอง (claviform unicellular hair) ขนเซลล์เดียวมีฐานรูปดาว (unicellular hair with stellate base) ขนเซลล์เดียวมีฐานรูปโล่ (unicellular hair with peltate base) ขนสองเซลล์ (bicellular hair) ขนสองเซลล์คล้ายกระบอง (claviform bicellular hair) ขนสองเซลล์มีฐานรูปดาว (bicellular hair with stellatebase) ขนหลายเซลล์ (multicellular hair) ขนหลายเซลล์คล้ายกระบอง (claviform multicellular hair)ขนหลายเซลล์มีฐานรูปดาว (multicellular hair with stellatebase) ขนรูปดาว (stellate hair) และ ขนต่อม (glandular hair) 5) ชนิดของสารสะสม ได้แก่ ผลึกรูปปริซึม (prismatic crystal) ผลึกรูปดาว (drusecrystal) และสารสะสมติดสีแดงเข้ม 6) โครงสร้างที่เก็บสาร (secretory structures) ได้แก่ ต่อม (gland) และช่องสารหลั่ง (secretory cavity) ลักษณะดังกล่าวสามารถใช้ในการระบุพืชบางชนิดหรือสกุลที่มีความสัมพันธ์ใกล้ชิดกันหรือใช้แบ่งกลุ่มพืชที่ศึกษาได้ เช่น สามารถใช้ชนิดของปากใบแบ่งพืชออกเป็น 2 กลุ่ม ได้แก่ กลุ่มที่ 1 มีปากใบแบบพาราไซติก กลุ่มที่ 2 มีปากใบแบบพาราเททระไซติก เป็นต้น อย่างไรก็ตามการแบ่งกลุ่มพืชโดยใช้ลักษณะทางกายวิภาคศาสตร์ของเนื้อเยื่อชั้นผิวไม่สัมพันธ์กับระบบการจำแนกปัจจุบัน

        The leaf epidermal characteristics of 35 species belonging to 13 genera of the family Annonaceae in Thailand were investigated by leaf epidermal peeling. The generalized epidermal characteristics in species studied are as follows: 1) the shapes of epidermal cells are polygonal or jigsaw-like, 2) the cell walls are straight, straight to sinuate, straight to cleft, sinuate, emarginated and cleft, 3) all of the species studied are paracytic stomata except those in the genus Miliusa, whichhave paratetracytic stomata, 4) the types of trichomes are unicellular hair, claviform unicellular hair, unicellular hair with stellate base, unicellular hair with peltate base, bicellular hair, claviform bicellular hair, bicellular hair with stellate base, multicellular hair, claviform multicellular hair, multicellular hair with stellate base, stellate hair and glandular hair, 5) the types of inclusions are prismatic crystal, druse crystal, dark red staining inclusions, and 6) the types of secretory structures are gland and secretory cavity. These characteristics can be used to identify some closely related species or genera, and separate the family into groups. For example, the family can be divided into two groups based on stomatal types: 1) paracytic group and 2) paratetracytic group. However, the groups based on leaf epidermal characteristics were not congruent with the current classification.

download count:
 



    right-buttom
     
 

There are 88 online

All rights reserved The Botanical Garden Organization,Thailand