ผักหวานป่าเป็นพืชที่พบได้มากในพื้นที่ป่าเต็งรังที่มีสภาพแห้งแล้งและมีความอุดมสมบูรณ์ของดินต่ำ ชาวบ้านเชื่อว่าไฟจะกระตุ้นการแตกยอดของผักหวานป่า จึงเป็นสาเหตุหนึ่งที่ทำให้ชาวบ้านเผาป่าทุกปี การศึกษานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลกระทบของไฟป่าที่มีต่อประชากรผักหวานป่า โดยเปรียบเทียบความหนาแน่นและโครงสร้างประชากรของผักหวานป่าในพื้นที่กันไฟในพื้นที่ศูนย์ศึกษาการพัฒนาห้วยฮ่องไคร้อันเนื่องมาจากพระราชดำริซึ่งเป็นพื้นที่ที่กันไฟเข้ามากว่า 15 ปี และพื้นที่มีไฟเข้าทุกปีในพื้นที่เขื่อนแม่กวงอุดมธารา จังหวัดเชียงใหม่ ทำการศึกษาในช่วงเดือนตุลาคมถึงเดือนธันวาคม 2556 โดยวางแปลงขนาด 40x40 ตารางเมตร พื้นที่ละ 4 แปลง สำรวจจำนวนผักหวานป่าวัดความสูงและขนาดเส้นรอบวงที่คอราก จากการศึกษาพบว่าประชากรผักหวานป่ามีการกระจายตัวแบบเกาะกลุ่ม ความหนาแน่นเฉลี่ยในพื้นที่มีไฟและพื้นที่กันไฟอยู่ที่ 66.00 และ 66.25 ต้น/ไร่ ตามลำดับ ทั้งนี้พบว่าจำนวนของประชากรที่มีขนาดเส้นรอบวงที่คอรากระหว่าง 10.00-13.99 เซนติเมตร ในพื้นที่กันไฟมีค่าสูงกว่าพื้นที่ที่มีไฟเข้าอย่างมีนัยสำคัญ (p<0.05)
Melientha suavis Pierre is a native species commonly found in dry dipterocarp forest especially in the area with poor soil condition. Local people believe that forest fire will stimulate sprouting of this species. This study aims to study effects of forest fires on population density and population structure of M. suavis. The populations of M.suavis in Huai Hong Khrai Royal Development Center which have been protected from fire for more than 15 years and in Mae Kuang Udomthara Dam which burned annually were compared. The study was done between October and December 2013. There were four plots of 40x40 m2 in burned areas and four plots in un-burned areas. All M. suavis were counted and recorded for height and root collar girth. The study showed that the populations of M. suavis were distributed in clumps. The average population density in burned and un-burned plots was 66.00 and 66.25 individual/rai, respectively. The proportion of M. suavis which have root colar girth between 10.00-13.99 cm in un-burned area was significantly higher than the burned area (p<0.05).