โรคเหี่ยวเน่าแดงเป็นโรคอ้อยที่มีความรุนแรงก่อให้เกิดความสูญเสียผลผลิตน้ำตาล มีสาเหตุจากเชื้อราต้นเหตุ 2 ชนิด คือ Colletotrichum falcatum และ Fusariummoniliforme โดยอาการของโรคที่สังเกตได้คือ เนื้อเยื่อท่อลำเลียงของลำต้นเปลี่ยนเป็นสีแดง งานวิจัยนี้จึงมีวัตถุประสงค์เพื่อวิเคราะห์การกระจายตัวของธาตุอาหารในอ้อยที่แสดงและไม่แสดงอาการของโรค ผ่านเทคนิคการสังเคราะห์ภาพการเรืองรังสีเอกซ์ สายพันธุ์อ้อยที่ใช้คือสายพันธุ์ tBy20-0154 ซึ่งมีความอ่อนแอต่อโรค และปลูกในแปลงทดสอบที่จังหวัดเพชรบูรณ์ ผลการศึกษาโดยกล้องจุลทรรศน์พบว่า เนื้อเยื่อลำต้นอ้อยที่แสดงอาการของโรคมีสีแดง และผลการศึกษาโดยวิธีสร้างภาพการเรืองรังสีเอกซ์พบว่า ปริมาณธาตุเหล็กในตัวอย่างทั้งสองกลุ่มไม่แตกต่างกัน จึงใช้เหล็กเป็นธาตุพื้นฐานเพื่อเปรียบเทียบในการวิเคราะห์ความแตกต่างของธาตุอื่นๆ ซึ่งพบว่าธาตุแคลเซียมกำมะถัน คลอรีน และแมงกานีส ภายในอ้อยที่แสดงอาการของโรคมีค่าสูงกว่าภายในอ้อยที่ไม่แสดงอาการเป็น 1.5, 2.9, 4.8 และ 2.6 เท่า ตามลำดับ (p<0.05) และพบความสัมพันธ์ระหว่างธาตุทั้ง 4 ชนิด ซึ่งมีช่วงของค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ (r) ตั้งแต่ 0.421 ถึง 0.884 ดังนั้นระดับของธาตุทั้งสี่ชนิดจึงน่าจะเกี่ยวข้องกับการพัฒนาอาการของโรค จึงควรศึกษาความสัมพันธ์ของธาตุเหล่านี้ในกระบวนการเกิดโรคเหี่ยวเน่าแดงอ้อยต่อไป
Red rot is a serious sugarcane disease caused by the fungi Colletotrichum falcatum and Fusarium moniliforme leading to loss of sugar productivity. Symptoms of red rot disease include the presence of reddened vascular bundles across the stem.The aim of this study was to analyze nutrient distribution induced by red rot disease using micro-X-ray fluorescence imaging. Sugarcane variety tBy20-0154, sensitive to the red rot disease,grown under field conditions of Phetchabun province, Thailand with and without symptoms was used in this study. Optical steromicroscopy revealed mainly the difference in tissue color. From micro-X-ray fluorescence imaging, the amount of Fe in both symptomatic and asymptomatic tissues was not different. Therefore, Fe was subsequently used as the baseline element for analyzing the levels of other elements in the study. The elemental composition of Ca, S, Cl and Mn in the symptomatic plants were 1.5, 2.9, 4.8 and 2.6 times as high as those in the asymptomatic plants (p<0.05). In addition, a series of statistical analyses suggested that these elements were highly correlated with r ranging from 0.421 to 0.884. Therefore, the levels of Ca, S, Cl and Mn may be affected by the disease progression. It is interesting to further investigate the roles of these elements in the development of red rot disease in sugarcane.