การเปรียบเทียบประสิทธิภาพของแมลงช้างปีกใส (Plesiochrysaramburi (Schneider), Neuroptera: Chrysopidae) ในการกินเพลี้ยแป้งทำลายมันสำปะหลัง 4 ชนิด ได้แก่ เพลี้ยแป้งลาย (Ferrisia virgata Cockerell) เพลี้ยแป้งแจ็คเบียดเลย์ (Pseudococus jackbeardsleyi Gimpel & Miller) เพลี้ยแป้งมันสำปะหลังสีเขียว (Phenacoccus madeirensis Green) และเพลี้ยแป้งมันสำปะหลังสีชมพู (Ph. manihoti Matile-Ferrero) โดยใช้เพลี้ยแป้งวัย 2 เป็นเหยื่อ ทำการทดลองโดยใช้ตัวอ่อนแมลงช้างปีกใสวัย 1, 2 และ 3 จำนวนวัยละ 20 ตัว แต่ละตัวให้เหยื่อจำนวน 100 ตัว ทุก 24 ชั่วโมง จนกระทั่งตัวอ่อนแมลงช้างปีกใสเจริญเติบโตเป็นดักแด้ในสภาพห้องปฏิบัติการ ณ อุณหภูมิ 26±2 องศาเซลเซียส ความชื้นสัมพัทธ์ 70±5 เปอร์เซ็นต์ ระหว่างเดือนกรกฎาคมถึงเดือนตุลาคม 2556 พบว่า แมลงช้างปีกใสตัวอ่อนวัย 1-3 สามารถกินเพลี้ยแป้งมันสำปะหลังสีชมพูได้มากที่สุดเฉลี่ย 105.25±15.66 ตัว แตกต่างอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติกับการกินเพลี้ยแป้งแจ็คเบียดเลย์,เพลี้ยแป้งมันสำปะหลังสีเขียว และเพลี้ยแป้งลาย ซึ่งแมลงช้างปีกใสสามารถกินเพลี้ยแป้งทั้งสามชนิดได้เฉลี่ย 90.48±11.32, 89.65±12.32 และ 62.02±12.58 ตัวตามลำดับ แมลงช้างปีกใสชนิดนี้แสดงศักยภาพในการเป็นชีวปัจจัยที่มีประสิทธิภาพ ในการควบคุมเพลี้ยแป้งทำลายมันสำปะหลังทั้ง 4 ชนิด โดยเฉพาะอย่างยิ่งกับเพลี้ยแป้งมันสำปะหลังสีชมพูที่เป็นศัตรูร้ายแรงของมันสำปะหลัง
Feeding capacity of the green lacewing (Plesiochrysa ramburi (Schneider), Neuroptera: Chrysopidae) on four species of mealybugs attacking cassava namely,Ferrisia virgata Cockerell, Pseudococcus jackbeardsleyi Gimpel & Miller, Phenacoccus madeirensis Green and Ph. Manihoti Matile-Ferrero (Homoptera: Pseudococcidae) was studied under laboratory condition at 26±2°C and 70±5% RH during July to October 2013 using second instar nymph of mealybugs as prey. Twenty individuals of first, second and third instar larvae of the lacewing were used in the experiment which each of them was provided with 100 individuals of preys in 24 hours interval till it enter pupal stage. The result revealed that first to third instar larvae of P. ramburi had the highest feeding capacity on Ph. manihoti with significantly different from Ps. jackbeardsleyi, Ph. madeirensis and F. virgata which the green lacewing could feed these mealybugs in averaged 105.25±15.66, 90.48±11.32, 89.65±12.32 and 62.02±12.58 individuals, respectively. This green lacewing has shown a potential as an effective biological control agent of these mealybugs, especially Ph. manihoti which is the most serious pest of cassava.