วารสารพฤกษศาสตร์ไทย สวนสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์
     
แสดงบทความ
 
ชื่อบทความ(ไทย): ผลของโพแทสเซียมคลอเรตต่อการเติบโต การออกดอก และความเข้มข้น ของไนโตรเจนในใบของกล้วยไม้ฟาแลนอปซิสลูกผสม
ชื่อบทความ(Eng): Effect of potassium chlorate on growth, flowering and nitrogen concentration in leaf of Phalaenopsis Orchid Hybrid
ชื่อผู้แต่ง(ไทย): ศิริลักษณ์ จีนขจร และ โสระยา ร่วมรังษี*
ชื่อผู้แต่ง(Eng) : SIRILAK JEENKAJON & SORAYA RUAMRUNGSRI*
เลขที่หน้า: 157  ถึง 163
ปี: 2557
ปีที่: 6
ฉบับที่: พิเศษ   แสดงบทความทั้งหมดของฉบับ
บทคัดย่อ:

     โพแทสเซียมคลอเรต (KClO3) เป็นสารเคมีที่ใช้กระตุ้นการออกดอกของลำไย และมีรายงานว่าสารนี้มีผลต่อการออกดอกของกล้วยไม้บางชนิดดังนั้นงานวิจัยนี้จึงมีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลของโพแทสเซียมคลอเรตต่อการเจริญเติบโต การออกดอกและความเข้มข้นของไนโตรเจนในใบของต้นกล้วยไม้ฟาแลนอปซิสลูกผสม ใช้ต้นฟาแลนอปซิสอายุ 3 ปี ปลูกในกระถางขนาด 6 นิ้ว ใช้เปลือกสน : กาบมะพร้าวสับ : สแฟกนัมมอส : ถ่านทุบ อัตราส่วน 1 : 1 : 1 : 1 เป็นวัสดุปลูก หลังย้ายปลูกประมาณ 1 เดือน ให้พืชได้รับสารละลายโพแทสเซียมคลอเรตทางรากปริมาณ 20 มิลลิลิตรต่อต้น ที่ระดับความเข้มข้นและความถี่ในการให้สารแตกต่างกันดังนี้ 1) ให้โพแทสเซียมคลอเรต 0 มิลลิโมลาร์(กรรมวิธีควบคุม) 2) ให้โพแทสเซียมคลอเรตที่ความเข้มข้น 4 มิลลิโมลาร์ ทุก 15 วัน 3) ให้โพแทสเซียมคลอเรตที่ความเข้มข้น 4 มิลลิโมลาร์ ทุก 30 วัน 4) ให้โพแทสเซียมคลอเรตที่ความเข้มข้น8 มิลลิโมลาร์ ทุก 15 วัน และ 5) ให้โพแทสเซียมคลอเรตที่ความเข้มข้น 8 มิลลิโมลาร์ ทุก 30 วัน ผลการทดลองพบว่า การให้สารละลายโพแทสเซียมคลอเรตทุกกรรมวิธีมีแนวโน้มทำให้พืชมีความสูงต้นและน้ำหนักแห้งลดลงแต่ไม่มีความแตกต่างทางสถิติกับกรรมวิธีควบคุมซึ่งมีความสูงต้นเฉลี่ย 5.5 เซนติเมตร น้ำหนักแห้ง 8.4 กรัม กรรมวิธีที่ได้รับสารโพแทสเซียมคลอเรต 8 มิลลิโมลาร์ ทุก 30 วัน มีแนวโน้มให้พื้นที่ใบสูงกว่ากรรมวิธีควบคุม ด้านการออกดอกพบว่า การให้สารโพแทสเซียมคลอเรตที่ความเข้มข้น 4 มิลลิโมลาร์ทุก 30 วัน มีค่าเฉลี่ยจำนวนดอกต่อช่อ ความยาวก้านช่อดอก สูงกว่ากรรมวิธีควบคุม และการออกดอกเร็วกว่ากรรมวิธีควบคุม การได้รับสารโพแทสเซียมคลอเรตเพิ่มขึ้นทำให้ความเข้มข้นของธาตุไนโตรเจนในใบลดลงอย่างมีนัยสำคัญ

     Potassium chlorate (KClO3) is a chemical uses for stimulating flowering of longan and its effect on flowering of some orchids also has been reported.Therefore, this research was aimed to study the effect of KClO3 on growth, flowering and nitrogen concentration in leaf of Phalaenopsis Hybrid. Three-year-old Phalaenaopsis plants, were grown in six inch pots containing pine bark : coconut cube :sphagnum moss : charcoal cube at the ratio of 1 : 1 : 1 : 1 for one month. Then plants were supplied with KClO3 solution at 20 ml/plant via root at various concentrations and frequency of applications, i.e. applied with 1) 0 mM of KClO3 (control treatment), 2) 4 mM, every 15 days, 3) 4 mM, every 30 days, 4) 8mM, every 15 days and 5) 8 mM, every 30 days. The results showed that KClO3 application of all treatments tended to decrease plant height and dry weight but it was not significant difference compared with control plant. The average plant height and dry weight of control treatmentwas 5.5 cm and 8.4 g, respectively. The KClO3 application at 8 mM every 30 days tended to give the higher of leaf area than control group. In case of flowering, orchid plants subjected to 4 mM KClO3 at every 30 days tended to show the higher of flowers number and inflorescence length than control treatment. In addition, nitrogen concentrations in leaf significantly decreased with increasing potassium chlorate concentration.

download count:
 



    right-buttom
     
 

There are 33 online

All rights reserved The Botanical Garden Organization,Thailand