การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อตรวจสอบการใช้ประโยชน์ของเครื่องหมายดีเอ็นเอประเภท InDel ในข้าวพันธุ์พื้นเมืองของไทย โดยการเปรียบเทียบเบื้องต้นระหว่างข้าว 13 พันธุ์ ที่ได้จากศูนย์ปฏิบัติการและเก็บเมล็ดเชื้อพันธุ์ข้าวแห่งชาติศูนย์วิจัยข้าวปทุมธานี ประกอบด้วย ข้าวไร่ ข้าวนาสวน ข้าวเหนียว และข้าวเจ้าจำนวน 4, 9, 8 และ 5 พันธุ ์ ตามลำดับ การศึกษาโดยใช้เครื่องหมาย 26 เครื่องหมาย ที่ตำแหน่งโครโมโซมต่างๆ แสดงให้เห็นว่า 22 เครื่องหมาย มีภาวะพหุสัณฐานของความยาวแอมพลิคอน ในอย่างน้อยหนึ่งพันธุ์ ขนาดของแอมพลิคอนอยู่ในช่วง 90 ถึง 320 คู่เบส ขนาดความแตกต่างของแอมพลิคอนอยู่ในช่วง 30 ถึง 100 คู่เบส จำนวนรูปแบบของภาวะพหุสัณฐานที่มากที่สุดคือ 3 แบบ พบได้ใน 4 เครื่องหมาย ความถี่สูงของภาวะพหุสัณฐานและความง่ายในการตรวจพบของเครื่องหมาย InDel เหล่านี้ ชี้ให้เห็นว่า เครื่องหมายประเภทนี้สามารถนำมาใช้ระบุตำแหน่งลักษณะพันธุกรรมที่สำคัญ และช่วยในการปรับปรุงพันธุ์ข้าวโดยใช้พันธุ์พื้นเมืองของไทยได้
This study aimed to examine the usefulness of InDel DNA markers in a preliminary comparison among 13 native Thai rice cultivars. The cultivars were obtained from the National Rice Seed Storage Laboratory for Genetic Resources, Pathum Thani Rice Research Center, including four upland, nine lowland, eight glutinous, and five non-glutinous cultivars. Examination of 26 markers at various chromosome positions showed that 22 markers had polymorphism in amplicon length in at least one of the tested cultivars. The amplicon sizes ranged from 90 to 320 bp, and the size differences ranged from 30 to 100 bp. The highest number of polymorphic patterns was 3 and could be detected in four markers. The high polymorphism frequency and the ease of detection of these InDel markers suggest that they can be used to identify important trait loci and assist breeding of traits from native Thai rice cultivars.