ศึกษาลักษณะกายวิภาคศาสตร์ใบของพืชสมุนไพรบางชนิดบริเวณป่าชายเลนในภาคตะวันออกของประเทศไทย จำนวน 15 ชนิด 10 วงศ์ โดยวิธีการลอกผิวใบ การทำให้แผ่นใบใส และตัดตามขวางแผ่นใบและก้านใบด้วยกรรมวิธีพาราฟฟิน พบลักษณะกายวิภาคศาสตร์ทั่วไปของพืชที่ศึกษาดังนี้ 1) ลักษณะของผิวเคลือบคิวทินแบบเรียบและเป็นริ้วเรียงแบบขนาน 2) รูปร่างของเซลล์ในเนื้อเยื่อชั้นผิวมีรูปร่างหลายเหลี่ยม รูปร่างไม่แน่นอน และรูปร่างคล้ายจิกซอว์ 3) ผนังเซลล์ในเนื้อเยื่อชั้นผิวเรียบ เว้าตื้น และเว้าลึก 4) ชนิดของปากใบเป็นแบบแอนอโมไซติก ไซโคลไซติก พาราไซติก และเททระไซติก 5) อาจมีหรือไม่มีเนื้อเยื่อชั้นรองจากผิว 6) ชนิดของขน ได้แก่ ขนเซลล์เดียว ขนหลายเซลล์ ขนต่อม ขนรูปโล่ และปุ่มเล็ก 7) มีโซฟิลล์เป็นแบบสองด้านเหมือนกันหรือมีโซฟิลล์สองด้านต่างกัน 8) อาจมีหรือไม่มีเซลล์สร้างสารเมือก 9) อาจมีหรือไม่มีสเกลอรีด และ 10) รูปแบบของสารสะสมเป็นผลึกรูปดาว ผลึกรูปปริซึม และสารสะสมติดสีแดงเข้ม/น้ำตาลเข้ม ส่วนโครงสร้างที่เก็บสารเป็นแบบช่องสารหลั่ง ลักษณะดังกล่าวสามารถนำไปใช้สร้างรูปวิธานสำหรับการระบุชนิดของพืชที่ศึกษาได้นอกจากนี้ยังพบลักษณะกายวิภาคศาสตร์ที่มีการปรับตัวให้เข้ากับสภาพแวดล้อมของป่าชายเลนได้แก่ การมีผิวเคลือบคิวทินหนา สารสะสมและผลึก ขน มีโซฟิลล์สองด้านเหมือนกันเนื้อเยื่อชั้นรองจากผิว เซลล์สร้างสารเมือก และช่องสารหลั่ง
Leaf anatomical studies of some medicinal plants in mangrove forest of Eastern Thailand were investigated. Samples of 15 species belonging to 10 families were studied by leaf epidermal peeling method, clearing method and transverse section of leaf blade and petiole by paraffin method. The generalized epidermal characteristics of studied species are as follows: 1) the cuticular ornamentation are smooth and striated, 2) the shapes of epidermal cells are polygonal, irregular and jigsaw-like, 3) the cell walls are straight, emarginate and cleft, 4) the types of stomata are anomocytic, cyclocytic, paracytic and tetracytic, 5) the hypodermis are presence or absence, 6) the types of trichomes are unicellular hair, multicellular hair, glandular hair, peltate hair and papillae, 7) the mesophylls are isobilateral or dorsiventral, 8) the mucilaginous cells are presence or absence, 9) the sclereids are presence or absence, and 10) the types of inclusions are druse crystal, prismatic crystal, dark red/dark brown staining inclusions and secretory structure which is secretory cavity. These characteristics can be used to construct a key for species identification. Moreover, the results show anatomical characters which are adapted to mangrove environment, such as thick cuticle, the presence of inclusions and crystals, trichomes, isobilateral mesophyll, hypodermis, mucilaginous cells and secretory cavities.