วารสารพฤกษศาสตร์ไทย สวนสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์
     
แสดงบทความ
 
ชื่อบทความ(ไทย): ความหลากหลายของข้าวพันธุ์พื้นเมือง วัฒนธรรม และการใช้ประโยชน์ ในบริเวณทุ่งสัมฤทธิ์ จังหวัดนครราชสีมา
ชื่อบทความ(Eng): Diversity of rice landrace, culture and utilization in Tung Sumrit, Nakhon Ratchasima province
ชื่อผู้แต่ง(ไทย): ธีระ ธรรมวงศา1,* กรรณิการ์ ตอบกลาง1 ช่อผกา จอสูงเนิน1 และ สายใจ ปอสูงเนิน2
ชื่อผู้แต่ง(Eng) : THEERA THUMMAVONGSA1,*, KANNIKA TOBKLANG1, CHOPAKA JOSUNGNOEN1 & SAIJAI POSOONGNOEN2
เลขที่หน้า: 59  ถึง 72
ปี: 2560
ปีที่: 9
ฉบับที่: 1   แสดงบทความทั้งหมดของฉบับ
บทคัดย่อ:

     งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความหลากหลาย วัฒนธรรม และการใช้ประโยชน์ของข้าวพันธุ์พื้นเมืองบริเวณทุ่งสัมฤทธิ์ จังหวัดนครราชสีมา ระหว่างเดือนมกราคม พ.. 2557 ถึงเดือนธันวาคม พ.. 2558 โดยเก็บรวบรวมข้าวในพื้นที่ปลูกประเมินลักษณะทางสัณฐานวิทยา ผลการศึกษา พบข้าวพื้นเมืองจำนวน 39 พันธุ์ แบ่งตามนิเวศวิทยาการปลูกได้ 3 กลุ่ม คือ ข้าวนาสวนข้าวไร่ และข้าวขึ้นน้ำ และมีลักษณะทางสัณฐานวิทยาที่มีความหลากหลาย พบ 12 ลักษณะ ที่สามารถใช้จำแนกความแตกต่างของพันธุ์ข้าวได้ และสามารถแบ่งข้าวตามลักษณะทางสัณฐานวิทยาของข้าวกล้องได้ 7 กลุ่ม การศึกษาข้อมูลทางวัฒนธรรมและการใช้ประโยชน์ พบว่าข้าวพื้นเมืองในพื้นที่ลดจำนวนลง เนื่องจากสภาพปัญหาภัยแล้งเหตุผลในการอนุรักษ์ข้าวพื้นเมืองของคนในชุมชน คือ มีคุณลักษณะพิเศษ เช่น มีกลิ่นหอม ผลผลิตมาก และมีการปรับตัวได้ดีในสภาวะน้ำท่วมและแล้ง ระบบการเพาะปลูก ส่วนใหญ่ทำนาหว่านประเพณีที่ยังคงมีอยู่ในพื้นที่ คือ พิธีกรรมการแรกนา พิธีหว่านข้าวเอาฤกษ์ เป็นต้น นอกจากนี้มีการใช้ประโยชน์ทางด้านอาหาร เช่น การทำเส้นหมี่โคราช ขนมจีน เป็นต้น การศึกษานี้แสดงให้เห็นว่าข้าวพื้นเมืองสามารถพัฒนาเพื่อเป็นตัวบ่งชี้ทางภูมิศาสตร์ และสามารถใช้เป็นฐานข้อมูลสำหรับการเผยแพร่และสร้างเครือข่ายความรู้เกี่ยวกับข้าวพื้นเมืองในอนาคต

     

download count: 97
 



    right-buttom
     
 

There are 235 online

All rights reserved The Botanical Garden Organization,Thailand