ศึกษากายวิภาคศาสตร์เนื้อเยื่อชั้นผิวใบของพืชวงศ์มะดูกในประเทศไทยจำนวน 13 สกุล 23 ชนิด โดยวิธีการลอกผิว พบลักษณะทั่วไปของเนื้อเยื่อชั้นผิวใบของพืชที่ศึกษามีดังต่อไปนี้รูปร่างเซลล์ในเนื้อเยื่อ ชั้นผิวแบบหลายเหลี่ยม หรือแบบรูปร่างคล้ายจิ๊กซอว์ผนังเซลล์ในเนื้อเยื่อชั้นผิวเรียบ และผนังเซลล์ในเนื้อเยื่อชั้นผิวหยัก ปากใบมี 4 แบบ ได้แก่ แบบเลเทอโรไซติก พาราไซติกไซโคลไซติก และแอนไอโซไซติก ชนิดของสารสะสม ได้แก่ ผลึกรูปดาว ผลึกรูปปริซึม ผลึกรูปเข็มและสารสะสมติดสีแดงเข้ม พบบางชนิดมีช่องหลั่งสาร ความหนาแน่นเฉลี่ยของปากใบมีค่าอยู่ในช่วง 193.4–1, 038.7 ปากใบต่อ 1 ตร.มม. ความยาวเฉลี่ยของปากใบมีค่าอยู่ในช่วง 8.47–24.53 ไมโครเมตร และค่าดัชนีของปากใบอยู่ในช่วง 5.41–19.89 เปอร์เซ็นต์ จากผลการศึกษาพบว่ารูปร่างและผนังเซลล์ของเนื้อเยื่อชั้นผิวใบชนิดของปากใบ รูปแบบสารสะสม และช่องหลั่งสาร ในเนื้อเยื่อชั้นผิวใบสามารถนำมาใช้เป็นข้อมูลในการระบุชนิดได้
Theleaf epidermal characteristics of 23 species belonging to 13 genera of the family Celastraceae in Thailand wereconducted by using leaf epidermal peeling method. The general data in leafepidermal anatomy of Celastraceae in Thailand are as follows. The shapes ofepidermal cells are polygonal or jigsaw-like. The anticlinal walls are straightand undulate. Four stomatal types, leterocytic, paracytic, cyclocytic andanisocytic were observed in this study. In addition, types of inclusion areprisms, druses, raphides and dark red staining inclusions. Some species werefound secretory cavity. Stomatal density varies 193.4–1,038.7 per mm2. Stomatal length ranges from 8.47 to 24.53 micrometre. Stomatal index is 5.41–19.89%. Theresults indicate that shape and anticlinal wallof epidermal cell, type of stoma, inclusion and secretory cavity providestaxonomic supportive evidence for species identification.