วารสารพฤกษศาสตร์ไทย สวนสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์
     
แสดงบทความ
 
ชื่อบทความ(ไทย): ความหลากหลายของพืชมีเมล็ดในป่าชายน้ำตามแนวคลองศก จังหวัดสุราษฎร์ธานี
ชื่อบทความ(Eng): The diversity of seed plants in the riparian forest along the Sok Canal, Surat Thani province
ชื่อผู้แต่ง(ไทย): กาญจนา คงเอียด จรัล ลีรติวงศ์* และ ประกาศ สว่างโชติ
ชื่อผู้แต่ง(Eng) : KANJANA KONG-IED, CHARAN LEERATIWONG & PRAKART SAWANGCHOTE
เลขที่หน้า: 63  ถึง 78
ปี: 2554
ปีที่: 3
ฉบับที่: 1   แสดงบทความทั้งหมดของฉบับ
บทคัดย่อ:         ป่าชายน้ำ เป็นพื้นที่ป่าที่มีความสำคัญอย่างยิ่งในเชิงนิเวศและมีความสำคัญต่อคุณภาพชีวิตของมนุษย์ แต่เนื่องจากเป็นระบบนิเวศที่มนุษย์สามารถเข้าถึงได้ง่ายและใช้ประโยชน์อย่างมาก ทำใหพื้นที่ป่าชายน้ำลดลงอย่างรวดเร็ว งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความหลากหลายของพืชมีเมล็ดที่พบในป่าชายน้ำตามแนวคลองศก จังหวัดสุราษฎร์ธานี โดยการสำรวจ เก็บตัวอย่างพรรณไม้ และตรวจสอบชนิด ระหว่างเดือนมิถุนายน พ.ศ. 2551 ถึงเดือนพฤษภาคม พ.ศ. 2552 โดยตัวอย่างพรรณไม้แห้งจะจัดเก็บที่พิพิธภัณฑ์พืช มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ และหอพรรณไม้กรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช ผลการศึกษาพบพรรณไม้ 58 วงศ์ 145 สกุล และ 221 ชนิดโดยพรรณไม้ในวงศ์เปล้า (Euphorbiaceae) มีจำนวนชนิดมากที่สุด คือ 33 ชนิด และสกุลที่มีจำนวนชนิดมากที่สุด คือ สกุลไทร (Ficus L.) มีจำนวน 13 ชนิด พบพรรณไม้เฉพาะถิ่นของเขตพรรณพฤกษชาติภาคใต้ของประเทศไทยและหายาก 2 ชนิด ได้แก่ ชิงชี่ใหญ่ (Capparis klossii Ridl.) และพลับท้องขาว (Diospyros scalariformis Fletcher) พรรณไม้หายาก 3 ชนิด ได้แก่ ช้าม่วง (Anisopterascaphula (Roxb.) Kurz) ลูกนาคา (Drypetes curtisii (Hook.f.) Pax & K. Hoffm.) และ เงาะป่า(Nephilium melliferum Gagnep.) สภาพภูมิประเทศที่แตกต่างกันตามแนวคลองทำให้เกิดสังคมพืชที่มีพรรณไม้แตกต่างกัน และปัจจัยจากกิจกรรมของมนุษย์มีความสำคัญอย่างมากต่อโครงสร้างสังคมพืชบริเวณตอนกลางของลำคลอง การศึกษาทางอนุกรมวิธานอย่างต่อเนื่องจะทำให้พบพืชเฉพาะถิ่นพืชหายาก หรือพืชที่ใกล้สูญพันธุ์เพิ่มมากขึ้น ผลการศึกษานี้ จะมีประโยชน์ต่อการวางแผนจัดการทรัพยากรป่าชายน้ำ และเป็นประโยชน์ต่อการศึกษาป่าชายน้ำอื่นๆ ต่อไปได้
        Riparian forests serve numerous important ecological functions and are crucially important for the quality of human life. Because of the easy access of the riparian forests, they are therefore vulnerable to destruction by human activities. The purpose of this research is to study the diversity of seed plants in the riparian forest along the Sok Canal, Surat Thani province. Surveying, collecting and identifying were performed between June, 2008 and May, 2009. Dried specimens were deposited at the Prince of Songkla University Herbarium (PSU) and the Forest Herbarium (BKF). Fifty eight families, 145 genera and 221 species were recorded. Euphorbiaceae is the most diverse family with 33 species and Ficus L. is the most diverse genus with 13 species. Capparis klossii Ridl. and Diospyros scalariformis Fletcher are rare and endemic to Peninsular Thailand. Anisoptera scaphula (Roxb.) Kurz, Drypetes curtisii (Hook.f.) Pax & K. Hoffm. and Nephilium melliferum Gagnep. are rare species. Different topographies along the canal produce different communities and species composition. At the middle of the canal, anthropogenic activities play a major role in controlling community structure. The continuing taxonomic studies can increase the record number of endemic, rare and/or endangered species. The results of this study can be fruitful to management plan for the riparian forests and to future studies of riparian forests.
download count:
 



    right-buttom
     
 

There are 191 online

All rights reserved The Botanical Garden Organization,Thailand