วารสารพฤกษศาสตร์ไทย สวนสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์
     
แสดงบทความ
 
ชื่อบทความ(ไทย): การขยายพันธุ์ฮ่อม (Strobilanthes cusia (Nees) Kuntze) ด้วยวิธีการเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อ
ชื่อบทความ(Eng): Micropropagation of Hom (Strobilanthes cusia (Nees) Kuntze)
ชื่อผู้แต่ง(ไทย): วรรณา มังกิตะ สุคนธ์ทิพย์ วงศ์เมือง และ กมลพร ปานง่อม
ชื่อผู้แต่ง(Eng) : WANNA MANGKITA, SUKHONTHIP WONGMUANG* & KAMONPORN PANNGOM
เลขที่หน้า: 187  ถึง 197
ปี: 2554
ปีที่: 3
ฉบับที่: 2   แสดงบทความทั้งหมดของฉบับ
บทคัดย่อ:         การขยายพันธุ์ฮ่อมด้วยการเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อ โดยการนำชิ้นส่วนยอดมาฟอกฆ่าเชื้อด้วยโซเดียมไฮโปคลอไรต์ แล้วนำไปเลี้ยงในอาหารสูตร MS ซึ่งเติมสารควบคุมการเจริญเติบโต 6-benzylaminopurine (BAP) ที่ความเข้มข้นต่าง ๆ เลี้ยงในสภาพปลอดเชื้อ ที่อุณหภูมิ 25 ± 2 องศาเซลเซียส ความเข้มแสง 3,000 ลักซ์ จากหลอดฟลูออเรสเซนต์ ได้รับแสง 16 ชั่วโมง/วัน เป็นเวลา 8 สัปดาห์ พบว่า การเดิม BAP ทำให้จำนวนยอดมีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญ (P<0.05) และที่ความเข้มข้น 2 มิลลิกรัม/ลิตร สามารถชักนำให้เกิดยอดที่มีความยาวมากกว่า 1 เซนติเมตร จำนวนสูงสุด (10.8) จากการศึกษาผลของสารควบคุมการเจริญเติบโต indole-3-aceticอacid (IAA) ต่อการเกิดราก จำนวนราก และความยาวของรากฮ่อม พบว่า การเลี้ยงในอาหารที่เดิม IAA ที่ระดับความเข้มข้น 5 มิลลิกรัม/ลิตร สามารถชักนำให้ต้นฮ่อมมีจำนวนรากเฉลี่ย 4.8 ราก และเกิดรากได้ร้อยละ 100 ภายในเวลา 5 สัปดาห์ ต้นฮ่อมมีลักษณะที่เหมาะสมต่อการนำไปปรับสภาพในโรงเรืองและเมื่อย้ายไปปลูกคืนสู่สภาพธรรมชาติ มีอัตรารอดชีวิตร้อยละ 85
        Strobilanthes cusia (Nees) Kuntze was micropropagated by a tissue culture technique. The shoots of S. cusia were sterilized in sodium hypochlorite and cultured on MS medium supplemented with 6-benzylaminopurine (BAP) at various concentrations. The cultures were maintained at 25 ± 2°C under a 16-h illumination at 3,000 lux provided by cool-white fluorescent tubes for 8 weeks. Supplementing with BAP resulted in a significant difference in the number of shoots. It was the most effective in shoot induction at2 mg/l with the highest average number of shoots being 10.8. A study was also conducted on the effect of indole-3-acetic acid (IAA) on root induction, the number of roots and root length. It was found that supplementing with 5 mg/l IAA brought about the highest number of roots (4.8) and rooting percentage (100%). The micropropagated plantlets were acclimatized and successfully transferred to soil with 85% of survival rate.

download count:
 



    right-buttom
     
 

There are 89 online

All rights reserved The Botanical Garden Organization,Thailand