วารสารพฤกษศาสตร์ไทย สวนสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์
     
แสดงบทความ
 
ชื่อบทความ(ไทย): ผลของไคโทซานต่อการเจริญเติบโตของหญ้าหวาน (Stevia rebaudiana Bertoni) ในหลอดทดลอง
ชื่อบทความ(Eng): Effects of chitosan on growth of stevia (Stevia rebaudiana Bertoni) in vitro
ชื่อผู้แต่ง(ไทย): ราตรี สันติวงค์* พัชรา ลิมปนะเวช และ ยุพิน จินตภากร
ชื่อผู้แต่ง(Eng) : RATREE SANTIWONG*, PATCHRA LIMPANAVECH & YUPYN CHINTAPAKORN
เลขที่หน้า: 93  ถึง 99
ปี: 2555
ปีที่: 4
ฉบับที่: พิเศษ   แสดงบทความทั้งหมดของฉบับ
บทคัดย่อ:      งานวิจัยนี้ได้ศึกษาผลของสารไคโทซานต่อการเจริญเติบโตของหญ้าหวาน (Stevia

rebaudiana Bertoni) ในหลอดทดลอง โดยศึกษาเปรียบเทียบการใช้ไคโทซานชนิดพอลิเมอร์ (P) และโอลิโกเมอร์ (O) ซึ่งแต่ละชนิดมีเปอร์เซ็นต์การกำจัดหมู่อะซิติล (Degree of Deacetylation หรือ DD) เท่ากับ 80 และ 90 เปอร์เซ็นต์ ที่ความเข้มข้น 0, 5, 10, 20 และ 40 ppm โดยเติมในอาหารเลี้ยงเนื้อเยื่อสูตร Murashige & Skoog (1962) ที่เลี้ยงส่วนข้อเดี่ยวของหญ้าหวานเป็นเวลา 6 สัปดาห์ พบว่าไคโทซาน O80 ความเข้มข้น 5 ppm สามารถกระตุ้นการเจริญเติบโตของยอด โดยทำให้ความยาวยอดเฉลี่ยเพิ่มขึ้นอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติจาก 7.0±0.89 มิลลิเมตร ในชุดควบคุมที่ไม่เติมไคโทซาน เพิ่มขึ้นเป็น11.13±1.76 มิลลิเมตร และพบการเพิ่มขึ้นของค่าเฉลี่ยน้ำหนักสดและน้ำหนักแห้งของยอดเป็น 1.9 และ 1.8 เท่าของชุดควบคุมตามลำดับ นอกจากนี้ ในชุดการทดลองเดียวกันนั้น ยังมีผลชักนำให้เกิดรากได้มากกว่าเมื่อเปรียบเทียบกับชุดควบคุม ส่วนชุดการทดลองที่ให้ค่าเฉลี่ยจำนวนยอดต่อข้อสูงสุดพบในชุดการทดลองที่ใช้ไคโทซาน P80 และ P90 ความเข้มข้น 10 และ 5 ppm ตามลำดับ คือมีค่าเฉลี่ยจำนวนยอดต่อข้อ 1.94±0.04 ทั้ง P80 และ P90 ที่ความเข้มข้น 10 และ 5 ppm ให้ค่าเฉลี่ยเท่ากัน ซึ่งมีแนวโน้มสูงกว่าของชุดควบคุม1.81±0.06 ยอดต่อข้อ

      This research was carried out to study the effects of chitosan on growth of Stevia rebaudiana Bertoni in vitro by comparing the use of 80% and 90% Degree of Deacetylation (DD) of both oligomer (O) and polymeric (P) chitosan at concentrations of 0, 5, 10, 20 and 40 ppm in Murashige & Skoog (1962) medium to culture stevia single nodal sections in vitro for six weeks. It was found that chitosan O80 at concentration of 5 ppm could stimulate shoot growth by increasing the average shoot length significantly from 7.0±0.89 mm of the non-chitosan treated control treatment to 11.13±1.76 mm and both average fresh and dry weight of shoot increased 1.9 and 1.8 times of the control, respectively. Moreover, the mentioned treatment also induced more roots when compared to the control. The highest average number of shoot per node of 1.94±0.04 was found in the treatment using chitosan P80 and P90 at the concentration of 10 and 5 ppm respectively which tended to be higher than of the control treatment 1.81±0.06.

download count:
 



    right-buttom
     
 

There are 101 online

All rights reserved The Botanical Garden Organization,Thailand