วารสารพฤกษศาสตร์ไทย สวนสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์
     
แสดงบทความ
 
ชื่อบทความ(ไทย): การศึกษาเบื้องต้นของไพรีโนไลเคน จากเกาะต่างๆ ของประเทศไทย
ชื่อบทความ(Eng): Preliminary study on the Pyrenolichens from the Islands of Thailand
ชื่อผู้แต่ง(ไทย): สุภัทรา โพธิ์แก้ว* เวชศาสตร์ พลเยี่ยม กวินนาถ บัวเรือง ขจรศักดิ์ วงศ์ชีวรัตน์ และ กัณฑรีย์ บุญประกอบ
ชื่อผู้แต่ง(Eng) : SUPATTARA PHOKAEO*, WETCHASART POLYIAM, KAWINNAT BUARUANG, KAJONHSAK VONGSHEWARAT & KANSRI BOONPRAGOB
เลขที่หน้า: 62  ถึง 73
ปี: 2556
ปีที่: 5
ฉบับที่: พิเศษ   แสดงบทความทั้งหมดของฉบับ
บทคัดย่อ:

     ไพรีโนไลเคนเป็นไลเคนแบบครัสโตสที่สร้างสปอร์แบบมีสีและไม่มีสีภายในโครงสร้างสืบพันธุ์แบบเพอริทีเซียการศึกษานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อสำรวจความหลากหลายของสายพันธุ์ไพรีโนไลเคนเฉพาะกลุ่มที่มีโครงสร้างสืบพันธุ์แบบเพอริทีเซียและสร้างสปอร์แบบมีสีในหมู่เกาะต่างๆทั้งฝั่งอ่าวไทย และอันดามันของประเทศไทยโดยทำการเก็บและรวบรวมตัวอย่างไลเคนตั้งแต่ปี พ.. 2548-2552 จาก 16 เกาะ ในระบบนิเวศ 5 ประเภท คือ ป่าดิบชื้น ป่าดิบแล้งป่ารุ่นสอง ป่าชายเลน และป่าปลูกจากตัวอย่างทั้งหมด 162  ตัวอย่าง สามารถจำแนกได้ 4 สกุล ได้แก่ สกุล Anthracothecium,  Mycoporellum, Pyrenulaและ Sulcopyrenula ในจำนวนนี้สามารถระบุชนิดได้ 52 ชนิด ซึ่งเป็นไลเคนที่ไม่เคยมีรายงานมาก่อนในประเทศไทย 27  ชนิด และพบไลเคนที่คาดว่าจะเป็นชนิดใหม่ของโลก 2 ชนิด คือ Mycoporellumsp.1 และ Pyrenula sp.1 โดยไลเคนที่พบแพร่กระจายได้ทั่วไปคือ Pyrenula aspistea, P.kurzii และ P. nitidula การสำรวจครั้งนี้พบไพรีโนไลเคนมีความหลากหลายมากที่สุดในเกาะตะรุเตา รองลงมาคือ เกาะกูด เกาะยาวใหญ่ และเกาะแสมสาร คิดเป็นร้อยละ 36, 29 และ 23 ตามลำดับส่วนเกาะที่พบความหลากหลายของไลเคนได้น้อยเช่น เกาะสิมิลัน เกาะขาม และเกาะสินไห

     Pyrenolichens are crustose lichen, which produces pigmented and colorless ascospores in the perithecia as sexual reproductive structure. The aim of this study is to investigate the diversity of pigmented ascospores of the pyrenolichens on islands both in the Gulf of Thailand and the Andaman Sea of Thailand. During 2005 to 2009, lichen specimens were collected from five forest types in 16 Islands. These forest types are tropical rain forest, dry evergreen forest, secondary forest, mangrove forest and plantations. A total of 162 lichen specimens were identified into four genera, which were Anthracothecium, Mycoporellum, Pyrenula and Sulcopyrenula. Among the 52 species, of which 27 species were recorded for the first time in Thailand. Two unidentified taxa were found, consisted of Mycoporellum sp.1 and Pyrenula sp.1. The common species were Pyrenulaaspistea, P. kurzii and P. nitidula. This work demonstrated that the high diversity of the pyrenolichens were found on Tarutao, Kood, Yao Yai and Samaesan islands consisted of 36, 29 and 23 percent of the total species were found, respectively. Low diversity was recorded from Similan, Kham and Sinhai islands.

download count:
 



    right-buttom
     
 

There are 5 online

All rights reserved The Botanical Garden Organization,Thailand