วารสารพฤกษศาสตร์ไทย สวนสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์
     
แสดงบทความ
 
ชื่อบทความ(ไทย): การกระจายและผลผลิตรากใต้ดินในป่าชายเลนรุ่นสอง จังหวัดตราด
ชื่อบทความ(Eng): Distribution and production of below-ground root in a secondary mangrove forest, Trat province
ชื่อผู้แต่ง(ไทย): ธัญลักษณ์ เจริญพรภักดี1,* ศศิธร พ่วงปาน1 ทนุวงศ์ แสงเทียน2 สมานใจ มั่นศิลป์2 และ พิพัฒน์ พัฒนผลไพบูลย์1
ชื่อผู้แต่ง(Eng) : THANYALAK CHAROENPHONPHAKDI1,*, SASITORN POUNGPARN1, TANUWONG SANGTIEAN2, SAMANJAI MANSILP2 & PIPAT PATANAPONPAIBOON1
เลขที่หน้า: 37  ถึง 44
ปี: 2557
ปีที่: 6
ฉบับที่: พิเศษ   แสดงบทความทั้งหมดของฉบับ
บทคัดย่อ:

     ศึกษาการกระจายของรากในเขตพันธุ์ไม้สามเขตได้แก่ ไม้แสม ไม้โกงกาง และไม้ตะบูน ในป่าชายเลนรุ่นสองบริเวณปากแม่น้ำตราดใช้ soil core เก็บตัวอย่างดินที่ระดับความลึก 0-30 เซนติเมตร เพื่อแยกตัวอย่างราก จำแนกเป็นรากมีชีวิตและซากราก รากมีชีวิตจะถูกจำแนกต่อไปตามขนาดเส้นผ่านศูนย์กลาง ผลการศึกษาพบว่ามวลชีวภาพรากใต้ดินทั้งหมดมีค่ามากที่สุดในเขตไม้โกงกาง รองลงมาคือไม้แสม และไม้ตะบูน ตามลำดับ ซึ่งสอดคล้องกับโครงสร้างป่า ดยรวม เป็นที่น่าสนใจว่าปริมาณรากฝอย (เส้นผ่านศูนย์กลางน้อยกว่า 2 มิลลิเมตร) มีสัดส่วนสูงถึง 27.9-70.0% ของมวลชีวภาพรากทั้งหมด และมีปริมาณต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติระหว่างเขตพันธุ์ไม้ (ANOVA, P<0.050) จึงศึกษาผลผลิตของรากฝอยในแต่ละเขตพันธุ์ไม้โดยวิธี ingrowth core เก็บรากที่เกิดขึ้นใน ingrowth core ในช่วงระยะเวลา 1 และ 10 เดือน คำนวณผลผลิตรากฝอยจากน้ำหนักรากต่อปริมาตรต่อวัน ผลการศึกษาสามารถนำไปอธิบายรูปแบบการกระจายของมวลชีวภาพรากกล่าวคือ ในเขตไม้แสมมีผลผลิตรากฝอยสูงมากในช่วง 1 เดือน(1.904 กรัม/ตารางเมตร/วันจากนั้นผลผลิตจึงลดลงเป็น 0.797 กรัม/ตารางเมตร/วัน เนื่องจากความหนาแน่นของต้นไม้มีค่าน้อยประกอบกับไม้แสมเป็นไม้เบิกนำที่มักมีอัตราการเจริญที่รวดเร็วในช่วงแรก ในขณะที่ผลผลิตรากฝอยในเขตไม้โกงกางและไม้ตะบูนมีค่าสูงถึง 3.428 และ 2.440 กรัม/ตารางเมตร/วัน ตามลำดับ อภิปรายผลการศึกษาโดยชี้ให้เห็นความสำคัญของผลผลิตรากฝอยในวัฏจักรคาร์บอนของระบบนิเวศป่าชายเลน

     We studied root distribution in three vegetative zones (AvicenniaRhizophora, and Xylocarpus zones) in a secondary mangrove forest on estuary of the Trat river. A soil core was used for soil samplings at a depth of 0-30 cm. Roots were separated into living root and necromass. The living roots were sorted into diameter classes. The results showed that the highest root biomass was found in the Rhizophora zone, following by the Avicenniaand Xylocarpus zones, respectively. In overall, the root biomass related with the forest structure. It is interesting that amount of fine root (<2 mm in diameter) shared 27.9-70.0% of the total root biomass. Moreover, it was difference among zones (ANOVA, P<0.050). The root production was then studied using in growth core. Roots growing in the core were collected after 1 and 10 months. The root production was calculated by root weight per volume per day. The pattern of root distribution was explained by the root production. The Avicennia zone showed a very high rate of fine root production (1.904 g/m2/day), then it decreased to 0.797 g/m2/day. It is because of relatively low tree-density in this zone, and a characteristic of pioneer species of Avicennia spp. growing quickly in the early stage. The root production in the Rhizophora and Xylocarpus zone showed high rates as 3.428 and 2.440 g/m2/day, respectively. The importance of fine root production in carbon cycle of mangrove ecosystem was discussed.     

download count:
 



    right-buttom
     
 

There are 274 online

All rights reserved The Botanical Garden Organization,Thailand