วารสารพฤกษศาสตร์ไทย สวนสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์
     
แสดงบทความ
 
ชื่อบทความ(ไทย): การผันแปรตามฤดูกาลของการหายใจของดินในป่าชายเลนรุ่นที่สอง จังหวัดเพชรบุรี
ชื่อบทความ(Eng): Seasonal variation of soil respiration in secondary mangrove forest, Phetchaburi province
ชื่อผู้แต่ง(ไทย): จีรนันท์ เพชรแก้ว1,* ชนิตา ปาลิยะวุฒิ1 และ ทนุวงศ์ แสงเทียน2
ชื่อผู้แต่ง(Eng) : JEERANAN PETKAEW1,*, CHANITA PALIYAVUTH1 & TANUWONG SANGTIEAN2
เลขที่หน้า: 45  ถึง 52
ปี: 2557
ปีที่: 6
ฉบับที่: พิเศษ   แสดงบทความทั้งหมดของฉบับ
บทคัดย่อ:

     การหายใจของดินจัดเปน็องคป์ ระกอบหนึ่งที่สำคัญของวัฏจักรคารบ์อนเกิดจาก 2 องค์ประกอบ คือ การหายใจของสิ่งมีชีวิตในดินที่สร้างอาหารเองไม่ได้และการหายใจของรากการศึกษาการหายใจของดินในระบบนิเวศป่าชายเลนยังมีน้อยดังนั้นการศึกษานี้จึงมีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาการหายใจของดินในป่าชายเลนโดยวางแปลงศึกษาขนาด 50x50 ตารางเมตร ในพื้นที่ศึกษาพบเฉพาะแสมทะเล ซึ่งมีความหนาแน่น 4,644 ต้นต่อเฮกแตร์ เส้นผ่านศูนย์กลางระดับอกเฉลี่ย เส้นผ่านศูนย์กลางระดับพื้นดินเฉลี่ยและความสูงเฉลี่ย เท่ากับ 6.56 เซนติเมตร 8.59 เซนติเมตร และ 5.22 เมตร ตามลำดับ วัดการหายใจของดินในระหว่างน้ำลงโดยใช้เครื่อง portable photosynthesis system ที่เชื่อมต่อกับ soil chamber ศึกษาในช่วงฤดูแล้งและฤดูฝน รวมทั้งศึกษามวลชีวภาพรากและความสัมพันธ์ระหว่างการหายใจของดินกับอุณหภูมิดินผลการศึกษาพบอัตราการหายใจของดินมีค่าเฉลี่ยอยู่ในช่วง 0.749 ถึง 1.676 μmol CO2 m-2s-1 อัตราการหายใจของดินในฤดูแล้งมีค่าสูงกว่าในฤดูฝนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ สำหรับมวลชีวภาพรากมีค่าเฉลี่ยอยู่ในช่วง 30.59 ถึง 32.11 ตันต่อเฮกแตร์ นอกจากนี้พบความสัมพันธ์เชิงเส้นตรงระหว่างอัตราการหายใจของดินกับอุณหภูมิดินอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (R2=0.1664, p<0.01) และความสัมพันธ์เชิงเส้นตรงระหว่างมวลชีวภาพรากเหนือดินและรากใต้ดิน (R2=0.2956, p<0.01) เมื่อวัดการหายใจของดินโดยการครอบรากเหนือดินด้วย soil chamber พบความสัมพันธ์เชิงเส้นตรงระหว่างอัตราการหายใจของดินและมวลชีวภาพรากเหนือดินอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (R2=0.5122, p<0.01) ดังนั้นการศึกษานี้จึงแสดงให้เห็นว่าการหายใจของดินจะผันแปรไปตามฤดูกาลและเพิ่มขึ้นตามการเพิ่มของอุณหภูมิดิน

     Soil respiration is a major component of the carbon cycle which composes of heterotrophic respiration and root respiration. However, there have been a few studies of the soil respiration rate in mangrove forest. This study aimed to investigate the soil respiration in the mangrove forest. A study site of 50x50 m2 was established. The purest and of Avicennia marina was found in this study site. Tree density, average DBH, D0 and tree height were 4,644 trees ha-1, 6.56 cm, 8.59 cm and 5.22 m, respectively. The soil respiration was measured during low tide in dry and rainy season, using a portable photosynthesis system connected with a soil chamber. In addition, the root biomass, the relationship between soil respiration and soil temperature were determined. The results showed that the average soil respiration rate ranged from 0.749 to 1.676 μmol CO2 m-2s-1. The soil respiration rate in dry season showed significantly higher than in rainy season. The root biomass ranged from 30.59 to 32.11 ton ha-1. Moreover, there was a significant linear relationship between soil respiration rate and soil temperature (R2=0.1664, p<0.01) and between aboveground and belowground root biomass (R2=0.2956, p<0.01). Soil respiration that includes aboveground roots was measured using a soil chamber. A linear regression was found between soil respiration rate and aboveground root biomass (R2=0.5122, p<0.01). Therefore, these results indicated that soil respiration varied with season and increased with increasing soil temperature.

download count:
 



    right-buttom
     
 

There are 202 online

All rights reserved The Botanical Garden Organization,Thailand