วารสารพฤกษศาสตร์ไทย สวนสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์
     
แสดงบทความ
 
ชื่อบทความ(ไทย): คุณภาพเมล็ดกาแฟอาราบิก้าภายใต้รูปแบบการปลูกแบบต่างๆ ของชาวเขา ชาติพันธุ์อาข่า ตำบลวาวี อำเภอแม่สรวย จังหวัดเชียงราย
ชื่อบทความ(Eng): Quality of arabica coffee beans planted under different planting patterns by Akha tribe, Wawee sub-district, Mae Suai district, Chiang Rai province
ชื่อผู้แต่ง(ไทย): ประชา เตชนันท์1 วิชญ์ภาส สังพาลี2,* สาวิกา กอนแสง2 และ ผานิตย์ นาขยัน2
ชื่อผู้แต่ง(Eng) : Pracha Techanant1, WITCHAPHART SUNGPALEE2,*, Sawika Konsaeng2 & PHANIT NAKAYAN2
เลขที่หน้า: 273  ถึง 284
ปี: 2560
ปีที่: 9
ฉบับที่: 2   แสดงบทความทั้งหมดของฉบับ
บทคัดย่อ:

   การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาคุณภาพเมล็ดกาแฟอาราบิก้าภายใต้การปลูกรูปแบบต่าง ๆ ของชาวเขาชาติพันธุ์อาข่า เพื่อใช้เป็นแนวทางการส่งเสริมการปลูกกาแฟบนพื้นที่สูงให้ได้เมล็ดกาแฟคุณภาพ และรักษาระบบนิเวศอย่างยั่งยืน ในพื้นที่ปลูกกาแฟภายใต้รูปแบบที่แตกต่างกัน 5 รูปแบบ ได้แก่ พื้นที่ปลูกกาแฟร่วมกับการปลูกไม้ผลเมืองหนาว พื้นที่ปลูกกาแฟร่วมกับไม้ผลเมืองหนาวและป่าธรรมชาติที่มีการฟื้นฟู พื้นที่ปลูกกาแฟแบบเชิงเดี่ยว พื้นที่ปลูกกาแฟใต้เรือนยอดป่าธรรมชาติดั้งเดิม และพื้นที่ปลูกกาแฟในพื้นที่ป่าฟื้นฟูตามธรรมชาติทำการวางแผนการทดลองแบบสุ่มตลอด การศึกษาทำโดยการสุ่มพื้นที่วางแปลงขนาด 50× 20 เมตร พื้นที่ละ 3 แปลง โดยกาแฟอาราบิก้ามีอายุ 5–7 ปี ซึ่งไม่แตกต่างกันในแต่ละพื้นที่ ทำการสุ่มเก็บเมล็ดกาแฟภายในแปลงละ 600 เมล็ด ชั่งนํ้าหนักเมล็ดผลสดวัดขนาดเมล็ดกาแฟ ด้านเมล็ดประกบด้านข้าง และด้านความยาว ชั่งนํ้าหนักเมล็ดผลแห้ง จากนั้นทำการสี คัดแยกชั่งนํ้าหนักเมล็ดดีเมล็ดที่ถูกแมลงกัดเจาะ เมล็ดแตกฉีกหูช้าง และเปลือก ผลการศึกษาพบว่า เมล็ดกาแฟที่ปลูกภายใต้เรือนยอดป่าธรรมชาติมีนํ้าหนักเฉลี่ย ทั้งนํ้าหนักผลสด และผลแห้ง ค่าเฉลี่ยความกว้างด้านประกบและนํ้าหนักเมล็ดดี สูงกว่าเมล็ดกาแฟที่ปลูกภายใต้รูปแบบอื่น อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ

     This study aimed to explore quality of Arabica coffee beans under different plantinpatterns by Akha tribe, Wawee sub-district, Mae Suai district, Chiang Raiprovince. It could be a guideline for the promotion of coffee growing in a highland to obtain quality of coffee beans and sustainably maintain the ecological system. The different planting patterns were of 5 types: 1) growing coffee together with temperate fruit trees; 2) growing coffee together with temperate fruit trees and rehabilitated natural forest; 3) mono coffee growing;4) growing coffee in the area of traditional, natural forest; and 5) growing coffee in the rehabilitated natural forest. The experimental planning was completely randomized design. There were 3 coffee plots sized of 50 x 20 meters each,with coffee trees of 5–7 years old in each area. Six hundred fresh coffee beans were collected randomly and weighted. The beans were also measured for width and length. Dried coffee beans were weighted, milled and sorted in terms of quality. Findings show that the coffee beans grown in the natural forest area were of higher quality than those grown in other coffee planting types, in terms of average weight (fresh and dried coffee beans) and width with a statistically significant level.


download count: 62
 



    right-buttom
     
 

There are 25 online

All rights reserved The Botanical Garden Organization,Thailand