วารสารพฤกษศาสตร์ไทย สวนสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์
     
แสดงบทความ
 
ชื่อบทความ(ไทย): พืชที่ให้สีย้อมและองค์ความรู้พื้นบ้านในการย้อมสีธรรมชาติของกลุ่มชาติพันธุ์ ไทลาว ในอำเภออาจสามารถ และอำเภอโพธิ์ชัย จังหวัดร้อยเอ็ด
ชื่อบทความ(Eng): Dye plants and traditional knowledge of natural dyeing of Tai-Lao ethnicity in At Samat and Pho Chai districts, Roi Et province
ชื่อผู้แต่ง(ไทย): เอื้อมพร จันทร์สองดวง1,* กนกกรณ์ ศิริทิพย์2 รัชนีพร นาไชย1 ลัดดาวัลย์ บัวคำโคตร1 และ เบญจมาศ อ่อนพุทธา1
ชื่อผู้แต่ง(Eng) : AUEMPORN JUNSONGDUANG1,*, KANOKKORN SIRITHIP2, RACHANEEPORN NACHAI1, LADDAWAN BUAKAMKOAT1 & BENJAMASS ORNPUTTHA1
เลขที่หน้า: 109  ถึง 126
ปี: 2561
ปีที่: 10
ฉบับที่: 1   แสดงบทความทั้งหมดของฉบับ
บทคัดย่อ:

     ศึกษาความหลากหลายทางชีวภาพระดับชนิดของพืชที่ให้สีย้อม รวบรวมความรู้พื้นบ้าน และเทคนิคการใช้พืชในการย้อมสีผ้าของกลุ่มชาติพันธุ์ไทลาวในอำเภออาจสามารถ และอำเภอโพธิ์ชัย จังหวัดร้อยเอ็ด โดยการสำรวจพืชที่ให้สีย้อมของกลุ่มชาติพันธุ์ไทลาวใช้การสัมภาษณ์แบบกึ่งโครงสร้างและสำรวจชนิดพืชในภาคสนาม ระหว่างเดือนสิงหาคม พ.. 2558 ถึงเดือนมกราคม พ.. 2559 โดยสัมภาษณ์ผู้ให้ข้อมูลซึ่งเป็นตัวแทนของทั้ง 2 อำเภอ จำนวน 13 คน พบพืชที่ใช้ในการย้อมสีทั้งหมด 36 ชนิด 32 สกุล 22 วงศ์ โดยพบว่าพืชวงศ์ถั่ว (Fabaceae) มีการใช้มากที่สุด9 ชนิด ส่วนของพืชที่ใช้ย้อมมากที่สุดคือ เปลือก 21 ชนิด (58%) ลักษณะวิสัยของพืชที่ให้สีย้อมพบมากที่สุดคือไม้ต้น 25 ชนิด (69%) แหล่งที่มาของพืชที่ให้สีย้อมที่พบมากที่สุดคือสวนครัว จำนวน 16 ชนิด (44%) พืชที่มีค่าดัชนีการใช้ (Use Value Index) มากที่สุดของทั้ง 2 อำเภอได้แก่ มะม่วง (Mangifera indica L.) (0.84) รองลงมาคือคราม (Indigofera tinctoria L.) และยูคา (Eucalyptus globulus Labill.) (0.76) พบสารที่ช่วยติดสี (mordant) ทั้งหมด 8 ชนิด ได้แก่ นํ้าโคลน เกลือ สารส้ม จุนสี นํ้าปูนใสสนิม นํ้าสบู่ และนํ้ามะขามเปียก

     The objectives of this study were to study dye plants diversity and to collect the traditional knowledge and technique in dying process of Tai-Lao ethnicity in At Samat and Pho Chai districts, Rot Et province. This study was conducted during August 2015 – January 2016. The total 13 key informants representatives of the two districts were interviewed by semi-structure interviewed. The 36 species of dye plants belonging to 32 genera and 22 families were found. The most species richness of dye plant was Fabaceae with 9 species. The most part used was bark with 21 species (58%), while the most habit of dye plants was tree within 25 species (69%). The most resources to obtain dye plant was home gardens with 16 species (44%). The highest of Use Value index among the two districts was Mangifera indica L. (0.84)followed by Indigofera tinctoria L. and Eucalyptus globulus Labill.(0.76). The total 8 types of mordant were found in this study including : mud, salt, Alum, Copper (II) sulfate, Calcium hydroxide (Ca(OH)2), rust, soap, and tamarind juice.

download count: 84
 



    right-buttom
     
 

There are 870 online

All rights reserved The Botanical Garden Organization,Thailand