วารสารพฤกษศาสตร์ไทย สวนสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์
     
แสดงบทความ
 
ชื่อบทความ(ไทย): กายวิภาคศาสตร์เนื้อเยื่อชั้นผิวใบและการจัดจำแนกพืชวงศ์แคหางค่าง (Bignoniaceae) บางชนิดในประเทศไทย
ชื่อบทความ(Eng): Leaf epidermal anatomy and classification of some Bignoniaceae species in Thailand
ชื่อผู้แต่ง(ไทย): เติมพงศ์ พุ่มศรีภานนท์1 อนิษฐาน ศรีนวล1,* และ วิโรจน์ เกษรบัว2
ชื่อผู้แต่ง(Eng) : TERMPONG POOMSRIPANON1, ANITTHAN SRINUAL1,* & WIROT KESONBUA2
เลขที่หน้า: 129  ถึง 150
ปี: 2562
ปีที่: 11
ฉบับที่: 2   แสดงบทความทั้งหมดของฉบับ
บทคัดย่อ:

     ศึกษาลักษณะกายวิภาคศาสตร์เนื้อเยื่อชั้นผิวใบของพืชวงศ์แคหางค่างจำนวน 22 สกุล 26 ชนิด โดยวิธีการลอกผิวใบและการทำให้แผ่นใบใส พบลักษณะกายวิภาคศาสตร์ทั่วไปคือ 1) ลักษณะผิวเคลือบคิวทินเป็นแบบเรียบและแบบริ้วขนาน 2) รูปร่างของเซลล์ในเนื้อเยื่อชั้นผิวมีรูปร่างไม่แน่นอนและรูปร่างหลายเหลี่ยม 3) ผนังเซลล์ในเนื้อเยื่อชั้นผิวมีลักษณะเรียบ เว้าตื้น และเว้าลึก 4) ปากใบเป็นแบบอะนอโมไซติก ไซโคลไซติก ไดอะไซติก และพาราไซติก 5) เนื้อเยื่อชั้นผิวมีขนรูปโล่ ขนเซลล์เดียว ขนหลายเซลล์ ขนต่อมแบบหลายเซลล์ขนรูปดาว และหนามจากผิว และ 6) สารสะสมเป็นผลึกรูปเข็ม และเซลล์สะสมสารติดสีแดง ลักษณะดังกล่าวสามารถนำไปสร้างรูปวิธานระบุชนิดของพืชที่ศึกษาได้นอกจากนี้ยังสามารถใช้ลักษณะของผิวเคลือบคิวทิน รูปร่างเซลล์ในเนื้อเยื่อชั้นผิวชนิดปากใบ และชนิดขน ในการแบ่งพืชที่ศึกษาออกเป็น 6 กลุ่ม สนับสนุนการจัดจำแนกโดยใช้ข้อมูลระดับโมเลกุลที่แบ่งพืชวงศ์นี้ออกเป็น 8 เคลด (clade) ตามระบบการจัดจำแนกของ Olmstead et al. (2009) ซึ่งครอบคลุมสกุลของพืชที่มีการกระจายพันธุ์ในประเทศไทย จำนวน 6 เคลด

      Theleaf epidermal characteristics of 26 selected species in 22 genera of Bignoniaceae were anatomically investigated using peelingand clearing methods. The general epidermal characteristics of studied species are as follows; 1) the cuticle structures are smooth and striated, 2) the shapes of epidermal cells are irregular and polygonal, 3) the cell wall are straight, emarginated and cleft, 4) the types of stomata are anomocytic, cyclocytic, diacytic and paracytic, 5) the types of trichome are peltate, unicellular, multicellular, glandular multicellular, stellate and prickle and 6) the types of inclusions are raphide crystal and red staining inclusion cell. These characteristics can be used to construct a key for species identification. Moreover, the outstanding anatomical characteristics consisting of the cuticlestructures, the epidermal cell shapes, the stomatal types, and the trichometypes are considered to divide the studied species into six groups. These obtained results were also in line with the molecular study of Olmstead etal. (2009) who divided this family into eight clades and six of them were found in Thailand.


download count: 60
 



    right-buttom
     
 

There are 222 online

All rights reserved The Botanical Garden Organization,Thailand