วารสารพฤกษศาสตร์ไทย สวนสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์
     
แสดงบทความ
 
ชื่อบทความ(ไทย): การขยายพันธุ์ต้นลักษณา (Gentiana nudicaulis Kurz subsp. lakshnakarae (Kerr) Halda) ด้วยการเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อ
ชื่อบทความ(Eng): Propagation of Gentiana nudicaulis Kurz subsp. lakshnakarae (Kerr) Halda by tissue culture
ชื่อผู้แต่ง(ไทย): เฌอ ชาติ โรจนกร เชิงปัญญา อัจฉรา เมืองครุฑ ทยา เจนจิตติกุล และ งามนิจ ชื่อบุญงาม*
ชื่อผู้แต่ง(Eng) : CHER CHART, RODJANACORN CHUENGPANYA, ATCHARA MUANGKROOT, THAYA JENJITTIKUL & NGARMNIJ CHUENBOONNGARM*
เลขที่หน้า: 67  ถึง 87
ปี: 2563
ปีที่: 12
ฉบับที่: 1   แสดงบทความทั้งหมดของฉบับ
บทคัดย่อ:

     ต้นลักษณา (Gentiana nudicaulis Kurz subsp. lakshnakarae (Kerr) Halda) เป็นพืชหายาก ซึ่งพบในประเทศไทยเท่านั้น ทำให้การอนุรักษ์พืชชนิดนี้โดยผ่านการศึกษาวิธีการเพิ่มปริมาณต้นลักษณาให้ได้จำนวนมากด้วยวิธีการเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อพืชจึงเป็นจุดประสงค์ของงานวิจัยชิ้นนี้โดยเริ่มจากการศึกษาชิ้นส่วนและความเข้มข้นของอาหารสังเคราะห์สูตร Murashigeและ Skoog (MS) ที่เหมาะสมและพบว่าชิ้นพืชส่วนโคนลำต้นปลอดเชื้อซึ่งมีข้อแรกและอาหารสังเคราะห์สูตร MS ที่ลดความเข้มข้นของธาตุอาหารและน้ำตาลชูโครสลงครึ่งหนึ่ง (½MS) เป็นชิ้นพืชและสูตรอาหารที่เหมาะสมต่อการเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อต้นลักษณาจากนั้นจึงศึกษาความเข้มข้นของเบนซิลอะดีนิน (N6-benzyladenine: BA) ที่เหมาะสมต่อการขยายพันธุ์ต้นลักษณาในหลอดทดลองโดยนำข้อแรกจากส่วนโคนลำต้นไปเลี้ยงบนอาหารสังเคราะห์สูตร ½MS ที่มี BA เข้มข้น 0–2 มิลลิกรัม/ลิตร นาน 8 สัปดาห์ และย้ายชิ้นพืชไปเลี้ยงต่อบนอาหารสังเคราะห์สูตร ½MS อีก 4 สัปดาห์ ผลการทดลองพบว่า BA เข้มข้น 0.1 มิลลิกรัม/ลิตร เป็นความเข้มข้นที่ดีที่สุดต่อการชักนำให้เกิดยอดใหม่โดยได้ยอดใหม่ที่มีจำนวนและความสูงเฉลี่ย คือ 12.90 ± 1.01 ยอด/ชิ้นพืช 3.75 ± 0.15 เซนติเมตร ตามลำดับอาหารสูตรนี้ยังชักนำให้ชิ้นพืชเกิดรากได้ถึงร้อยละ 90 โดยมีจำนวนรากต่อชิ้นพืชและความยาวรากเฉลี่ยที่เกิดขึ้น คือ 21.90 ± 2.70 ราก/ชิ้นพืช และ 3.02 ± 0.26 เซนติเมตร ตามลำดับ ผลจากการศึกษานี้สามารถใช้เป็นวิธีการอนุรักษ์พันธุ์ต้นลักษณานอกถิ่นอาศัยและอาจสามารถใช้เป็นวิธีส่งเสริมให้พืชชนิดนี้เป็นไม้ประดับเชิงเศรษฐกิจหรือศึกษาหาสารออกฤทธิ์ทางชีวภาพที่สำคัญต่อไป

     Gentiananudicaulis Kurz subsp. lakshnakarae  (Kerr) Halda is a rare plantand found only in Thailand. Therefore, the conservation of this plant speciesthrough the mass-propagation method based on plant tissue culture technique isthe aim of this study. The investigation of suitable explant type and strengthof Murashige & Skoog (MS) medium for culturing G. nudicaulis subsp. lakshnakaraewere firstly done. The results indicated that the segment of invitro stembases contained first node and the basal medium supplementedwith half-strengths of MS nutrients and sucrose (½MS) were the appropriate explantstype and medium formulation for culturing G. nudicaulis subsp. lakshnakarae.Then, the proper N6-benzyladenine (BA) concentration for invitro propagation of this plant was studied. The first node from stembase segments were cultured onto ½MS medium supplemented with 0–2 mg/L BA for 8weeks before transfer onto ½MS medium for another 4 weeks. The outcomesrevealed that 0.1 mg/L was the most appropriate BA concentration for shootinduction. This medium exhibited the average number of new shoots per explantand new shoot height at 12.90 ± 1.01shoots and 3.75 ± 0.15 cm, respectively.Moreover, this medium also induced new roots from explants at 90% with theaverage root number per explant and root length at21.90 ± 2.70 roots and 3.02 ±0.26 cm, respectively. The results of this study can be used as ex situ  conservation method for G. nudicaulis subsp. lakshnakarae, and can be applied as asupportive tool for encouraging this species as a part of economic ornamentalplant or investigating bioactive compounds in further study.


download count: 42
 



    right-buttom
     
 

There are 66 online

All rights reserved The Botanical Garden Organization,Thailand