วารสารพฤกษศาสตร์ไทย สวนสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์
     
แสดงบทความ
 
ชื่อบทความ(ไทย): การเกิดสปอร์ การเกิดเซลล์สืบพันธุ์ และการเกิดเอ็มบริโอในกล้วยไม้ดินหมูกลิ้ง (Eulophia andamanensis Rchb.f.)
ชื่อบทความ(Eng): Sporogenesis, Gametogenesis and Embryogenesis of Eulophia andamanensis Rchb.f.
ชื่อผู้แต่ง(ไทย): นราศักดิ์ ศรียศ* และ อัจฉรา ธรรมถาวร
ชื่อผู้แต่ง(Eng) : NARASAK SRIYOS* & ACHARA THAMMATHAWORN
เลขที่หน้า: 83  ถึง 99
ปี: 2553
ปีที่: 2
ฉบับที่: 2   แสดงบทความทั้งหมดของฉบับ
บทคัดย่อ:            ศึกษาการเกิดสปอร์ การเกิดเซลล์สืบพันธุ์ และการเกิดเอ็มบริโอ ในกล้วยไม้ดินหมูกลิ้ง (Eulophia andamanensis Rchb.f.) โดยการตัดอับเรณูตามขวางด้วยกรรมวิธีพาราฟินและการทำให้ ออวุลใส เพื่อค้นหาลักษณะเฉพาะทางด้านชีววิทยาการสืบพันธุ์ของกล้วยไม้ชนิดนี้ พบว่าการแบ่งไซโทพลาซึมของเซลล์กำเนิดไมโครสปอร์เกิดขึ้นพร้อมกัน ได้ไมโครสปอร์กลุ่มละสี่มีรูปร่างแบบ
ตรงข้ามสลับตั้งฉาก แบบสมมาตร แบบเส้นตรง แบบรูปตัวที และแบบปิระมิดฐานสามเหลี่ยมเรณูระยะสองเซลล์ ประกอบด้วยเซลล์เจเนอเรทิฟและเซลล์ไม่เกี่ยวกับเพศ ผนังอับเรณูประกอบด้วยเนื่อเยื่อชั้นผิว 1 ชั้น โดยเซลล์ในเนื้อเยื่อชั้นผิวมีปุ่มเล็กรูปสามเหลี่ยม ชั้นเอนโดทีเชียมมีความหนา 2-3 ชั้น เนื้อเยื่อชั้นกลาง 1 ชั้น และชั้นทาพีตัมแบบหลั่งที่มี 1 นิวเคลียส 1 ชั้น โดยเนื้อเยื่อชั้นกลางและทาพีตัมจะสลายไปหลังจากเกิดไมโครสปอร์ ดังนั้นผนังอับเรณูในระยะที่เจริญเต็มที่จะเหลือเพียงเนื้อเยื่อชั้นผิวและเอนโดทีเชียมเท่านั้น ออวุลเป็นแบบคว่ำ มีผนังออวุล 2 ชั้น และมีนิวเซลลัสบางถุงเอ็มบริโอเกิดจาก 1 เมกะสปอร์ แบบ Polygonum type ปรากฎการณ์สไตรค์ (strike phenomenon) ทำให้ได้ถุงเอ็มบริโอที่เจริญเต็มที่มี 7 นิวเคลียส หลอดเรณูเจริญเข้าสู่ถุงเอ็มบริโอแบบพอโรแกมีไซโกตแบ่งเซลล์ตามขวางได้โพรเอ็มบริโอระยะ 2 เซลล์ ที่ประกอบด้วยเซลล์ฐานที่มีขนาดใหญ่กว่าเซลล์ปลาย โพรเอ็มบริโอในระยะ 4 เซลล์ เป็นรูปสมมาตร แกนยึดเอ็มบริโอมี 4 เซลล์ โดย 2 เซลล์เจริญไปทางด้านไมโครไพล์ ส่วนอีก 2 เซลล์เจริญไปทางด้านฐานออวุล เอนโดสเปิร์มเป็นแบบนิวเคลียสเมื่อเมล็ดเจริญเต็มที่ประกอบด้วยเอ็มบริโอรูปกลมที่มีคลอโรฟิลล์ ไม่มีใบเลี้ยง ส่วนแกนยึดเอ็มบริโอและเอนโดสเปิร์มสลายไป
         Sporogenesis, gametogenesis and embryogenesis of Eulophia andamanensis Rchb.f. were investigated by cross section of anther and ovule clearing technique in order to search specific reproductive characters of the studied species. The results show that simultaneous cytokinesis of microspore mother cell produces decussate, isobilateral, linear, T-shape, and tetrahedral microspore tetrad. The two-celled pollen grain contains a generative cell and a vegetative cell. The anther wall is composed of triangular papillae epidermal cells, two to three layers of endothecium, one layer of middle layer and uninucleate secretory tapetum. The middle layers and the tapetum disappear after the microspore stage though the mature anther wall is composed of epidermis and endothecium. The ovules are anatropous, bitegmic and tenuinucellate. The development of the embryo sac is monosporic conformed to Polygonum type. The seven nuclei mature embryo sacs result from the strike phenomena produced reduction of the embryo sac nuclei. The pollen tubes enter the embryo sac through the micropyle (porogamy). The unequal zygotic mitosis produced the two celled proembryo with a larger basal cell and a smaller terminal cell. Four celled proembryo is isobilateral. A suspensor comprises four cells, two cells develop toward the micropylar end and the other direct to the chalazal end. The mature embryo is globular, chlorophyllous and acotyledonous. The suspensors and nuclear endosperm degenerate at the final stage of ovule development.
download count:
 



    right-buttom
     
 

There are 266 online

All rights reserved The Botanical Garden Organization,Thailand