วารสารพฤกษศาสตร์ไทย สวนสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์
     
แสดงบทความ
 
ชื่อบทความ(ไทย): การเปลี่ยนแปลงแทนที่ของพืชน้ำบริเวณลำน้ำหลังเขื่อนแม่งัดสมบูรณ์ชล อำเภอแม่แตง จังหวัดเชียงใหม่
ชื่อบทความ(Eng): Succession of aquatic plants in the canal connected to Mae Ngad Somboon Chol dam, Mae Tang district, Chiang Mai province
ชื่อผู้แต่ง(ไทย): อรุโณทัย จำปีทอง* อรอนงค์ โพงไชยราช และ สุทธาธร ไชยเรืองศรี
ชื่อผู้แต่ง(Eng) : ARUNOTHAI JAMPEETONG*, ONANONG PONGCHAIRACH & SUTTHATHORN CHAIRUANGSRI
เลขที่หน้า: 53  ถึง 61
ปี: 2554
ปีที่: 3
ฉบับที่: 1   แสดงบทความทั้งหมดของฉบับ
บทคัดย่อ:         การสำรวจชนิดพันธุ์ไม้น้ำ และการเปลี่ยนแปลงแทนที่ของพืชน้ำในเขตลำน้ำบริเวณใต้เขื่อนแม่งัดสมบูรณ์ชล อำเภอแม่แตง จังหวัดเชียงใหม่ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาลักษณะการเปลี่ยนแปลงของสังคมพืชในลำน้ำและปัจจัยที่เกี่ยวข้อง ในช่วงเดือนสิงหาคมถึงเดือนตุลาคม พ.ศ. 2552 โดยวางแปลงขนาด 10 x 15 เมตร จำนวน 3 แปลง และเก็บขอ้ มูลชนิดพันธุ์ไม ้ เปอร์เซ็นต ์การครอบคลุมพื้นที่ ลักษณะของพื้นท้องน้ำ และปริมาณไนเตรตและแอมโมเนียมในน้ำ จากทั้ง 3 แปลง พบชนิดพืชน้ำทั้งหมด 31 ชนิด ความหลากหลายของพืชในแปลงที่ 1 มีน้อยกว่าในแปลงที่ 2 และ 3 ลักษณะพื้นท้องน้ำเป็นดินโคลนและมีแอมโมเนียมปริมาณสูง พบสาหร่ายญี่ปุ่น (Myriophyllum brasiliense Cambess.) เป็นพืชเด่นในแปลงและมีการครอบคลุมพื้นที่มากขึ้นจาก 66% ในเดือนแรกเป็น 94% ในเดือนที่ 3 ของการสำรวจ ส่วนในแปลงที่ 2 และ 3 ซึ่งพื้นที่มีลักษณะเป็นก้อนกรวดและทรายพบสังคมพืชคล้ายคลึงกัน โดยมีเทียนนา (Ludwigia hyssopifolia (G.Don) Exell) เป็นพืชเด่นซึ่งพืชดังกล่าวมีการครอบคลุมพื้นที่เพิ่มขึ้นจาก 4% เป็น 40% และ 1% เป็น 19% ในแปลงที่ 2 และ 3 ตามลำดับ นอกจากนี้ ยังพบว่ามีพืชชนิดใหม่เข้ามาในพื้นที่ เช่น ผักตบไทย (Monochoria hastata (L.) Solms) และกกบางชนิด เมื่อนำการเปลี่ยนแปลงของพืชดังกล่าวมาหาความสัมพันธ์กับปัจจัยทางกายภาพ พบว่า ในแปลงที่ 2 และ 3 นั้น ชนิดพืชที่พบจะเป็นพืชริมน้ำ สามารถขึ้นในพื้นที่แห้งได้ดีกว่า ในขณะที่แปลงที่ 1 มีสาหร่ายญี่ปุ่นเป็นชนิดเด่น ซึ่งพืชชนิดนี้ต้องการความชุ่มชื้นตลอดเวลาและจะเติบโตได้ดีในแหล่งที่มีแอมโมเนียม ซึ่งเป็นรูปของไนโตรเจนที่พบได้มากในดินโคลน และสังคมพืชมีแนวโน้มเปลี่ยนแปลงไปเป็นสังคมพืชบกมากขึ้นซึ่งสอดคล้องกับปริมาณน้ำที่ปล่อยจากเขื่อนที่ ลดลงในช่วงเดือนกันยายนและตุลาคม
        A survey of aquatic plants and their succession in the canal connected to Mae Ngad Somboon Chol dam aims to investigate the changing of aquatic macrophytes communities related to physical factors. Three quadrats (10 x 15 m2) were put in the field. The floral data, percent covering, sediment and NO3 - and NH4 + in water column were investigated monthly from August to October 2009. Overall, 31 species were recorded. In the 1st quadrat, the sediment was muddy with high NH4 + levels. The plant diversity in this quadrat was lower than the 2 nd and 3 rd quadrats. Myriophyllum brasiliense Cambess. was a dominant species and the percentage cover was up from 66% to 94% in 3 months. The plant communities in the 2nd and 3rd quadrats were similar, sand and gravel were the main sediments. Some species like Monochoria hastata (L.) Solms and many kinds of sedge were new comers found in the second and third month. For the dominant species, Ludwigia hyssopifolia (G.Don) Exell, increased from 4 to 40% and 1 to 19% in the 2nd and 3rd quadrats, respectively. Most plants had a relation to the physical factors; the plants found in the 2nd and 3rd quadrats were riparian species which can stand better in the arid area, while the dominant species of the 1st quadrat was M. brasiliense which is an emergent plant. This species had a high growth rate especially when they grew on mud with a high NH4 + concentration. Plant community in all study sites developed to be more terrestrial community, consistent with the decreased amount of water from the dam in September and October.
download count:
 



    right-buttom
     
 

There are 144 online

All rights reserved The Botanical Garden Organization,Thailand