วารสารพฤกษศาสตร์ไทย สวนสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์
     
แสดงบทความ
 
ชื่อบทความ(ไทย): พฤกษศาสตร์พื้นบ้านของชาวอาข่า หมู่บ้านห้วยหยวกป่าโซ อำเภอแม่ฟ้าหลวง และหมู่บ้านใหม่พัฒนา อำเภอแม่สรวย จังหวัดเชียงราย
ชื่อบทความ(Eng): Ethnobotany of Akha in Huay Yuak Pa So village, Mae Fah Luang district and Ban Mai Patthana village, Mae Suai district, Chiang Rai province
ชื่อผู้แต่ง(ไทย): ปรัชญา ศรีสง่า1 สุชาดา วงศ์ภาคำ2 วาสนา คำกวน3 ตรัย เป๊กทอง3 จันทรารักษ์ โตวรานนท์3 ทัศนีเวศ ยะโส4 และ สุรีย์พร นนทชัยภูมิ3,*
ชื่อผู้แต่ง(Eng) : PRACHAYA SRISANGA1, SUCHADA WONGPAKAM2, WASANA KAMKUAN3, TRAI PEKTHONG3, JANTRARARUK TOVARANONTE3, THATSANEEWET YASO4 & SUREEPORN NONTACHAIYAPOOM3,*
เลขที่หน้า: 93  ถึง 114
ปี: 2554
ปีที่: 3
ฉบับที่: 1   แสดงบทความทั้งหมดของฉบับ
บทคัดย่อ:         การศึกษาพฤกษศาสตร์พื้นบ้านเพื่อรวบรวมข้อมูลการใช้ประโยชน์จากพืชในวิถีชีวิตของชาวเขาเผ่าอาข่า หมู่บ้านห้วยหยวกป่าโซ ตำบลแม่สลองใน อำเภอแม่ฟ้าหลวง และหมู่บ้านใหม่พัฒนาตำบลวาวี อำเภอแม่สรวย จังหวัดเชียงราย ดำเนินการโดยการสัมภาษณ์ผู้ที่มีความรู้ด้านการใช้พืชสมุนไพรของหมู่บ้าน และการสำรวจพรรณไม้ในหมู่บ้านและพื้นที่รอบชุมชน เพื่อบันทึกข้อมูลพืชและการใช้ประโยชน์ มีการบันทึกภาพและเก็บตัวอย่างพืชเพื่อใช้ในการระบุชนิด อีกทั้งได้รวบรวมพืชที่ใช้ประโยชน์หลายชนิดมาปลูกไว้ในธนาคารพืชท้องถิ่น ผลการศึกษาพบว่าพืชที่นำมาใช้ประโยชน์มีทั้งสิ้น 209 ชนิด ใน 85 วงศ์ เป็นพืชใพื้นที่บ้านห้วยหยวกป่าโซ 147 ชนิด ใน 68 วงศ์ และในพื้นที่บ้านใหม่พัฒนา 108 ชนิด ใน 57 วงศ์ โดยมีพืชที่พบในทั้งสองหมู่บ้าน 46 ชนิด ใน 31 วงศ์ สามารถแบ่งการใช้ประโยชน์ที่พบออกได้ 4 ประเภท ได้แก่ ใช้เป็นอาหาร 67 ชนิด ใช้เป็นสมุนไพร 150 ชนิดใช้เกี่ยวกับพิธีกรรมความเชื่อ 15 ชนิด และใช้ประโยชน์อื่นๆ 20 ชนิด โดยพบพืชที่มีการใช้ประโยชน์มากกว่า 1 ประเภท 42 ชนิด ข้อมูลชนิดพืชและการใช้ประโยชน์ที่พบจากการศึกษานี้มีทั้งที่สอดคล้องกับการศึกษาก่อนหน้านี้และที่ไม่พบว่าเคยมีการบันทึกมาก่อน พืชหายากและพืชที่มีศักยภาพสร้างรายได้ให้แก่ชุมชนที่น่าสนใจ เช่น กือคึ หรือเก่อคึ (Rhynchanthus longiflorus Hook.f.) ตีนฮุ้งดอย (Paris polyphylla Sm.) ปิ้งหอม (Clerodendrum chinense (Osb.) Mabb. var. simplex (Mold.) S.L. Chen) และกู่ชิ (Allium hookeri Thwaites var. hookeri)
        An ethnobotanical study was conducted to investigate plant utilization by Akha people in Huay Yuak Pa So village, Mae Salong Nai subdistrict, Mae Fah Luang district, and in Ban Mai Patthana village, Wawee subdistrict, Mae Suai district, Chiang Rai province. The study was carried out by interviewing local herbalists and undertaking field surveys in and around the villages to record information about plants and their usages. Plants were photographed and collected for identification. Many useful plant species were also collected for cultivation at community plant germplasm banks. Two hundreds and nine species belonging to 85 families are reported as being used by the members of either of the two villages. Of these, 147 species belonging to 68 families were found in the Huay Yuak Pa So village, 108 species belonging to 57 families were found in the Ban Mai Patthana village, and 46 species belonging to 31 families were found in both villages. According to their uses, they are 67 species for food, 150 for medicine, 15 for ceremonial or ritual purposes and 20 for other purposes. Of these, 42 species have been used for multi-purposes. Some plant species and their uses reported here were consistent with the previous studies and some had not been recorded formerly. Interesting rare species and potential income-generating species, namely Rhynchanthus longiflorus Hook.f., Paris polyphylla Sm., Clerodendrum chinense (Osb.) Mabb. var. simplex (Mold.) S.L. Chen and Allium hookeri Thwaites var. hookeri, were observed.
download count:
 



    right-buttom
     
 

There are 132 online

All rights reserved The Botanical Garden Organization,Thailand