Thai Journal of Botany
     
Article's details
 
Title: Economic botany of Sugar palms (Arenga pinnata Merr. and A. westerhoutii Griff., Arecaceae) in Thailand
ชื่อบทความ: คุณค่าทางเศรษฐกิจของปาล์มน้ำตาล (Arenga pinnata Merr. and A. westerhoutii Griff., วงศ์ Arecaeae) ในประเทศไทย
Author: RATCHADA PONGSATTAYAPIPAT AND ANDERS S. BARFOD
ชื่อผู้แต่ง : รัชดา พงษ์สัตยาพิพัฒน์ และ แอนเดอรส์ เอส บาร์ฟอด
Pages: 103 - 117
Year: 2552
Year No.: 1
Volume: 2   Show All Articles
Abstract:        ปาล์มสกุลต๋าวหรือชิด (Arenga) มีการกระจายพันธุ์ในภาคเอเชียตะวันตกเฉียงไต้ แต่ในประเทศไทยพบทั้งหมด 5 ชนิด และมี 3 ชนิดที่มีลักษณะสัณฐานวิทยาภายนอกคล้ายคลึงกัน คือมีลำต้นยาวขนาดใหญ่และมักถูกเรียกโดยรวมว่าปาล์มน้ำตาล (Sugar Palm) การศึกษาถึงการใช้ประโยชน์และคุณค่าทางเศรษฐกิจของพืชสกุลต๋าวหรือชิดในประเทศไทยมีวัตถุประสงค์เพื่อการศึกษาสถานภาพการใช้ประโยชน์ เพื่อนำไปสู่การอนุรักษ์ และการจัดการทรัพยากรอย่างยั่งยืน จากการาศึกษาพบว่าต้นชก (Arenga pinnata) เป็นปาล์มที่สามารถใช้ในการผลิตน้ำตาลชก ซึ่งมีความสำคัญต่อเศรษฐกิจระดับชุมชน เป็นพืชกึ่งเพาะปลูกที่มักพบกระจายอยู่ในพื้นที่ชุมชน มีการกระจายอยู่ในบางพื้นที่ทางภาคไต้เท่านั้น ส่วนต้นต๋าวหรือชิด (A. westerhoutii) พบกระจายพันธุ์อยู่ทั่วประเทศ ต้นต๋าวให้ผลผลิตคือลูกชิดที่บริโภคอยู่ทั่วประเทศ ปาล์มน้ำตาลทั้งสองชนิดนี้จัดเป็นพืชที่มีความสำคัญต่อเศรษฐกิจระดับชุมชนและระดับประเทศ จัดเป็นพืชที่มีศักยภาพสูงในระบบวนเกษตร การศึกษาเพิ่มเติมในด้านปัจจัยแวดล้อมที่เกี่ยวข้องโดยตรงกับการเจริญเติบโต การเพาะขยายพันธุ์และการพัฒนาเพื่อปรับปรุงพันธุ์ รวมไปถึงการอนุรักษ์ในระดับพันธุกรรม จัดได้ว่ามีความสำคัญที่จะนำไปสู่การจัดการทรัพยากรและเพื่อการใช้ประโยชน์อย่างยั่งยืน
 
          Five species of the SE Asian palm genus Arenga occur in Thailand. Three of these are treelike and referred to here collectively as Sugar Palms. They are quite similar and their identity is often confused. The aim of this paper is to clarify the current status of sugar palms in Thailand and to address a number of pertinent questions in relation to their exploitation. The semi-cultivated Sugar Palm, Arenga pinnata, is economically important but has a restricted distribution in Thailand. It is mostly used for sugar tapping, but it is also exploited for edible endosperms. The other economically important Sugar Palm in Thailand, A. westerhoutii, is widespread throughout the country and constitutes a main source of edible endosperms. Sugar palms constitute an important resource at the local level that has a great potential as a component in agro-forestry systems. Future research should concentrate on sustainability of extraction, climato-edaphic requirements of different proveniences, genetic improvement and conservation of genetic resources.
download count:
 



    right-buttom
     
 

There are 183 online

All rights reserved The Botanical Garden Organization,Thailand