Thai Journal of Botany
     
Article's details
 
Title: Interactive effects of nitrate and phosphorus concentrations on growth, NO3 - uptake and minerals accumulation of Salvinia cucullata Roxb. ex Bory and Azolla pinnata R. Br.
ชื่อบทความ: ผลของความเข้มข้นของไนเทรตและฟอสฟอรัสต่อการเติบโต การดูดซับไนเทรต และการสะสมธาตุอาหาร ในเนื้อเยื่อของจอกหูหนู (Salvinia cucullata Roxb. ex Bory) และแหนแดง (Azolla pinnata R. Br.)
Author: PAKAWAT JANYASUPAB1,2 & ARUNOTHAI JAMPEETONG2,*
ชื่อผู้แต่ง : ภควัต จรรยาสุภาพ1,2 และ อรุโณทัย จำปีทอง2,*
Pages: 51 - 66
Year: 2562
Year No.: 11
Volume: 1   Show All Articles
Abstract:

     จอกหูหนู (Salvinia cucullata Roxb. ex Bory) และแหนแดง (Azolla pinnata R.Br.) เป็นพืชที่น่าสนใจในการนำมาใช้บำบัดนํ้าเสียเนื่องจากเป็นพืชที่โตเร็วและทนต่อสภาพแวดล้อมได้ดี อย่างไรก็ตามความเข้มข้นของไนเทรตและฟอสฟอรัสในนํ้าเสียแต่ละแหล่งมีความแตกต่างกันไป ซึ่งอาจส่งผลกระทบต่อการเติบโตของพืชและประสิทธิภาพการบำบัดนํ้าโดยพืช การศึกษาครั้งนี้จึงมีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลของความเข้มข้นของไนเทรตและฟอสฟอรัสต่ออัตราการเติบโต ลักษณะทางสัณฐานวิทยา อัตราการดูดซับไนเทรต ปริมาณคลอโรฟิลล์ ปริมาณไนโตรเจนอนินทรีย์ และปริมาณธาตุอาหารในเนื้อเยื่อของพืชทั้งสองชนิด ทำการทดลองโดยนำจอกหูหนูและแหนแดงมาปลูกในสารละลายธาตุอาหารที่ดัดแปลงสูตรจาก Smart & Barko (1985) ที่เติมไนเทรตที่มีความเข้มข้น 100 และ 4,000 μM และฟอสฟอรัสที่มีความเข้มข้น 10, 100 และ 200 μM ตามลำดับ ปลูกพืชเป็นเวลา4 สัปดาห์ ภายใต้สภาวะโรงเรือน จากการศึกษาพบว่าแหนแดง มีอัตราการเติบโตสัมพัทธ์อยู่ในช่วง 0.03–0.08 g g-1 d-ซึ่งสูงกว่าจอกหูหนูที่มีอัตราการเติบโตสัมพัทธ์ประมาณ 0.02 g g-1 d-1 โดยแหนแดงแทบไม่มีการดูดซับไนเทรตจากสารละลายที่ใช้ปลูกพืชเลย ในขณะที่จอกหูหนูมีอัตราการดูดซับไนเทรตอยู่ในช่วง 11–28 μmol NO3 - g-1 root DW h-ซึ่งแต่ละกลุ่มทดลองไม่มีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ แต่จอกหูหนูที่ปลูกด้วยไนเทรตความเข้มข้นสูงจะมีการสะสมไนเทรตและแอมโมเนียมในเนื้อเยื่อมากกว่า โดยพืชจะมีความยาวและจำนวนรากน้อยกว่าจอกหูหนูที่ปลูกในไนเทรตความเข้มข้นตํ่า ส่วนความเข้มข้นของฟอสฟอรัสที่เพิ่มขึ้น มีผลให้ใบของจอกหูหนูมีการสะสมฟอสฟอรัสเพิ่มขึ้น แต่ในแหนแดงจะสะสมฟอสฟอรัสสูงเมื่อความเข้มข้นของฟอสฟอรัสไม่เกิน 100 μM ผลจากการศึกษาครั้งนี้แสดงให้เห็นว่าพืชทั้งสองชนิดเหมาะสมในการใช้บำบัดนํ้าเสียที่มีความเข้มข้นของไนโตรเจนและฟอสฟอรัสที่แตกต่างกันไป

     Salvinia cucullata Roxb. ex Bory and Azollapinnata R. Br. have been considered as interesting species for wastewater treatments because of their fast growing and high tolerance to various environmental conditions. However, nitrate and phosphorus concentrations in each sources of wastewaterare different which could affect the plants. This study aims to assess the effects of nitrate and phosphorus concentrations on growth, morphology, nitrate uptake, chlorophyll contents, inorganic nitrogen, and mineral elements in the plant tissue. The plants were grown on a standard growth medium modified from Smart & Barko (1985) with 100 and 4,000 μM nitrate combined with 10, 100 and 200 μM phosphorus. All plants were grown under greenhouse conditions for four weeks. It was found that these two species could grow in all nitrate and phosphorus concentrations. A. pinnata experienced higher RGR, at 0.03–0.08 g g-1 d-1, while RGR of S. cucullata was about 0.02 g g-1 d-1, however, nitrate uptake rate of A. pinnata was very little. S.cucullata took up nitrate insignificantly different across treatments, at a range of 11–28 μmol NO3 - g-1 root DW h-1, but there was a significant different in inorganic nitrogen accumulation in the tissue which was high in the plant grown on high nitrate concentration. Moreover, the plants obtained high nitrate concentration had decrease in its root number and root length. According to an increase in phosphorus concentrations, the leaves of S.cucullata accumulated higher phosphorus in the plant tissue. However, phosphorus concentrations in A. pinnata was high under 100 μM of external phosphorus concentration. As a result, these two species could be good candidates for wastewater treatments under different concentrations of nitrate and phosphorus.


download count: 62
 



    right-buttom
     
 

There are 130 online

All rights reserved The Botanical Garden Organization,Thailand