ดอยภูคาเป็นภูเขาสูงที่มีชื่อเสียงของจังหวัดน่าน อยู่ในระดับความสูง 600-1,980 เมตร จากระดับน้ำทะเลปานกลาง เป็นพื้นที่ต้นกำเนิดแม่น้ำน่านและมีสัญลักษณ์คือ ต้นชมพูภูคาและเต่าร้างยักษ์ ประชากรส่วนใหญ่ที่อาศํยอยู่บนดอยนี้ คือ ชาวลัวะและถิ่นซึ่งเป็นชนเผ่าดั้งเดิมของจังหวัดน่าน การศึกษาพฤกษศาสตร์พื้นบ้านของชาวลัวะและถิ่นมีจุดประสงค์เพื่อค้นหาทรัพยากรพืชที่ชาวลัวะและถิ่นใช้ในการดำรงชีวิตโดยได้รับความรู้ที่สืบทอดมาจากบรรพบุรุษ ผลการศึกษาพบพืชพื้นบ้าน 391 ชนิด ที่ใช้ประโยชน์ โดยใช้เป็นอาหาร ยารักษาโรค ที่อยู่อาศัย อุปกรณ์เครื่องใช้ และพืชที่ใช้ในประเพณีความเชื่อต่าง ๆ พืชพื้นบ้านที่ชาวลัวะและถิ่นได้รับความรู้ถ่ายทอดจากบรรพบุรุษ โดยมากเป็นพืชในท้องถิ่น บางชนิดได้รับการคัดเลือกพันธุ์ให้เหมาะสมกับพื้นที่ เช่น ข้าวบนที่สูง มันป๊าว แตงกวาสายพันธุ์ใหญ่พิเศษ และเครื่องเทศที่สำคัญของชาวเหนือ คือ มะแขว่น ข้อมูลการใช้พืชเหล่านี้ สามารถนำไปใช้ในการพัฒนาผลิตภัณฑ์ในเชิงเศรษฐกิจเพื่อนำกลับไปพัฒนาวิถีชีวิตของชาวลัวะและถิ่น และสามารถนำไปใช้ในการจัดการและอนุรักษ์ทรัพยากรชีวภาพบนดอยภูคาอย่างเหมาะสมได้เช่นเดียวกัน
Doi Phukha is a famous mountain in Nan Province. The altitude range between 600–1,980 meters above the average sea level. The area is the origin of Nan River and symbolized by Bretschneidera sinensis and Caryota gigas (giant palm). The major inhabitants are Lua and H’tin who have inhabited for generations. The ethnobotanical studies have been conducted to investigate the plants used traditionally for their subsistences. Three hundred and ninety one species of plants were used traditionally for their subsistences including food, medicine, housing materials, utensils and plants for spiritual ceremonies. These traditional plants are almost native species. Some of them have been selected for cultivating in the area, such as the highland cultivars of rice, special cultivar of yams, the giant cucumber and the important spice for northern people called Ma-kwaen. The data provided will be a very useful information for economic development of plant products to improve their livelihood and the appropriate management and wise use of the natural bioresources on Doi Phukha as well.