Thai Journal of Botany
     
Article's details
 
Title: Genetic Conservation of Cleisostoma arietinum (Rchb.f.) Garay in the Region of Khok Phu Taka by Encapsulation-Dehydration
ชื่อบทความ: การเก็บรักษาพันธุ์กล้วยไม้เขาแพะ (Cleisostoma arietinum (Rchb.f.) Garay) ในพื้นที่โคกภูตากาด้วยวิธี encapsulation dehydration
Author: SUMONTIP BUNNAG*, PIYADA THEERAKULPISUT, JATUPORN HONGTHONGKHAM & SANGTIEN SANKHAO
ชื่อผู้แต่ง : สุมนทิพย์ บุนนาค* ปิยะดา ธีระกุลพิศุทธิ์ จตุพร หงส์ทองคำ และ แสงเทียน แสงขาว
Pages: 73 - 82
Year: 2555
Year No.: 4
Volume: 1   Show All Articles
Abstract:

     กล้วยไม้เขาแพะ (Cleisostoma arietinum (Rchb.f.) Garay) เป็นกล้วยไม้อีกชนิดหนึ่งที่หายาก การเก็บรักษาพันธุ์กล้วยไม้ จึงมีความจำเป็นเนื่องจากประชากรกล้วยไม้ลดลงอย่างรวดเร็ว การเก็บรักษาพันธุ์พืชโดยวิธี encapsulation-dehydration จึงเป็นอีกทางเลือกหนึ่งที่สามารถนำมาใช้ในการเก็บรักษาพันธุ์พืชในระยะยาว โดยวัตถุประสงค์ของการศึกษาในครั้งนี้คือ เพื่อหาสูตรอาหารที่เหมาะสมในการเพาะเลี้ยงเมล็ดของกล้วยไม้เขาแพะ การชักนำเมล็ดให้เจริญเป็นโปรโตคอร์ม การเพิ่มจำนวนโปรโตคอร์ม และการหาสภาพที่เหมาะสมสำหรับเก็บรักษาโปรโตคอร์ม ทำการเพาะเมล็ดกล้วยไม้เขาแพะในอาหารดัดแปลงสูตร MS (1962), VW (1949) และสูตร NDM (1993) เป็นเวลา 30 วัน พบว่าเมล็ดกล้วยไม้เขาแพะสามารถงอกและเจริญเป็นโปรโตคอร์มได้ดีที่สุด ในอาหารสูตร NDM จากนั้นนำโปรโตคอรม์ ขนาด 0.5-1 มม. อายุประมาณ 45 วัน มาหุ้มด้วยสารละลาย Ca-alginate เพื่อให้ได้เมล็ดเทียม นำเมล็ดเทียมมาปรับสภาพเซลล์และเนื้อเยื่อโดยเพาะเลี้ยงในอาหารวุ้นสูตร NDM ที่เติมน้ำตาลซูโครส 0.25 โมลาร์ เก็บไว้ในที่มืดเป็นเวลา 7 วัน แล้วย้ายลงในอาหารเหลวสูตร NDM ที่เติมน้ำตาลซูโครส 0.75 โมลาร์ เป็นเวลา 2 วัน จากนั้นนำเมล็ดเทียมมาดึงน้ำออก โดยผึ่งบนซิลิกาเจลเป็นเวลา 0-120 นาที แล้วนำไปเก็บรักษาไว้ที่อุณหภูมิ -20 และ -80 องศาเซลเซียส เป็นเวลา 3 และ 7 วัน และนำเมล็ดเทียมมาทดสอบความมีชีวิตด้วยสารละลาย 2, 3, 5-Triphenyl Tetrazolium Chloride (TTC) ผลการศึกษาพบว่า เวลาในการดึงน้ำออกที่เหมาะสมที่สุดที่อุณหภูมิ -20 องศาเซลเซียส และ -80 องศาเซลเซียส คือ 90 และ 120 นาที ตามลำดับ โดยมีอัตราการรอดชีวิตร้อยละ 40 และ 60 ตามลำดับ

     Cleisostoma arietinum (Rchb.f.) Garay is a Thai orchid which is considered rare.The preservation of them is needed due to number of orchid population decreased rapidly. Encapsulation-dehydration is an alternative method for long-term preservation. This study was aimed to examine the suitable media for seed germination, protocorm induction and proliferation and also to establish the optimal condition for protocorm preservation. The seeds were germinated on modified MS (1962), VW (1949) and NDM (1993) media for 30 days. It was found that NDM medium greatly promoted seed germination and protocorm proliferation. The protocorms reaching a diameter of 0.5-1.0 mm, aged approximately 45 days, were encapsulated with Ca-alginate for artificial seed production. They were then precultured on NDM medium supplemented with 0.25 M sucrose for 7 days in the dark. After that, they were further precultured in NDM liquid medium supplemented with 0.75 M sucrose for 2 days. The precultured beads were subsequently dehydrated in a laminar air-flow cabinet using silica gel for 0-120 min. The dehydrated beads were then preserved under -20 and -80 C for 3 and 7 days. Viability test by 2,3,5-Triphenyl Tetrazolium Chloride (TTC) indicated that the best dehydration time at -20 C and -80 C were 90 min. and 120 min., respectively. The survival rates at -20 C and -80 C were 40 and 60 %, respectively.

download count:
 



    right-buttom
     
 

There are 181 online

All rights reserved The Botanical Garden Organization,Thailand