Thai Journal of Botany
     
Article's details
 
Title: Yield of Coffea arabica in agroforestry system in Doi Tung Development Project under Royal Initiative, Chiangrai province
ชื่อบทความ: ผลผลิตกาแฟอาราบิก้าในระบบวนเกษตรในพื้นที่โครงการพัฒนาดอยตุง (พื้นที่ทรงงาน) อันเนื่องมาจากพระราชดำริ จังหวัดเชียงราย
Author: WARUNEE THIANTHAWORN, RATTANAWAT CHAIYARAT & SAKHAN TEEJUNTUK
ชื่อผู้แต่ง : วารุณี เถียรถาวร รัตนวัฒน์ ไชยรัตน์ และ สคาร ทีจันทึก
Pages: 123 - 133
Year: 2553
Year No.: 2
Volume: พิเศษ   Show All Articles
Abstract:         การศึกษาการปลูกกาแฟอาราบิก้าในระบบวนเกษตร โดยปลูกกาแฟอาราบิก้าร่วมกับสวนป่าสนสามใบ ป่ารุ่นสอง และพืชเกษตร เทียบกับการปลูกแบบเชิงเดี่ยว โดยกาแฟอาราบิก้ามีอายุ 3-25 ปี ใช้ระยะปลูก 1.65-1.80 ม. ความสูง 1.85-2.17 ม. ซึ่งไม่แตกต่างกันในแต่ละพื้นที่ จำนวน 180 แปลง พบว่า กาแฟอาราบิก้าที่ปลูกร่วมพืชเกษตร (ลิ้นจี่ แมคคาเดเมีย และชาอัสสัม เป็นต้น)มีปริมาณผลผลิตเฉลี่ยมากที่สุด 1.90±1.40 กก./ตร.ม. รองลงมาคือ การปลูกกาแฟอาราบิก้าเชิงเดี่ยวการปลูกกาแฟอาราบิก้าร่วมกับป่ารุ่นสอง และสวนป่าสนสามใบ (อายุประมาณ 20 ปี) มีปริมาณผลผลิตเฉลี่ย 1.87±1.52, 1.06±0.69 และ 0.99±0.86 กก./ตร.ม. ตามลำดับ (p < 0.05) กาแฟที่ปลูกเชิงเดี่ยวมีค่าเฉลี่ยปริมาณผลกาแฟต่อกิ่ง และจำนวนกิ่งต่อต้นมากที่สุด 53.88±53.07 ผลต่อกิ่ง และ 38.26±13.89 กิ่งต่อต้น ตามลำดับ การปลูกกาแฟอาราบิก้าร่วมกับผลไม้มีจำนวนต้นต่อพื้นที่มากที่สุด ทำให้ผลผลิตโดยรวมมีค่ามากที่สุด เมื่อเปรียบเทียบด้านเศรษฐกิจ พบว่าการปลูกกาแฟอาราบิกา้ รว่ มกับสวนปา่ สนสามใบมีการลงทุนสูงที่สุด (7,501.98±1,224.06 บาท/ไร) แตใ่ หผ้ ลตอบแทนทางเศรษฐกิจโดยรวม และผลตอบแทนสุทธิสูงที่สุด (6,170.82±2,817.71 บาท/ไร่) ส่วนการปลูกกาแฟอาราบิก้าเชิงเดี่ยว การปลูกร่วมกับพืชเกษตร และป่ารุ่นสองมีการลงทุนน้อยกว่า (5,224.33±1,182.84, 4,693.19±594.19 และ 4,262.79±422.67 บาท/ไร่ ตามลำดับ) แต่การปลูกกาแฟอาราบิก้าร่วมกับพืชเกษตรให้ผลตอบแทนทางเศรษฐกิจโดยรวม และผลตอบแทนสุทธิน้อยที่สุด (2,014.62±848.58 บาท/ไร่)
        A comparative study of Coffea arabica yield in agroforestry systems by planting under Pinus kesiya forest plantation, secondary forest, and crop plants with pure stand of C. arabica. Age 3-25 years, spacing 1.65-1.80 m. and height 1.85-2.17 m. of C. arabica are ot ignificantly different. Average yield of C. arabica under crop plants (Litchi chinensis Sonn., Macadamia sp. and Camellia sinensis var. assamica (Mast.) Kitam.) are the highest (1.90± 1.40 kg/m2) and pure stand, secondary forest and Pinus kesiya forest plantation (about 20 years) (1.87±1.52, 1.06±0.69 and 0.99±0.86 kg/m2, respectively; p < 0.05). The number of fruits per twig of pure stand of C. arabica is the highest (53.88±53.07 fruits/twig). The number of twigs is also the highest in pure stand of C. arabica (38.26±13.89 twigs). The productivity of C. arabica tree is the highest under crop plants because of the highest number of coffee trees in the area. The production cost of C. arabica under Pinus kesiya forest plantation is the highest (7,501.98±1,224.06 baht/rai) but give the highest income (6,170.82±2,817.71 baht /rai) compared to pure stand, under crop plants and secondary forest (5,224.33±1,182.84, 4,693.19±594.19 and 4,262.79±422.67 baht/rai, respectively). The lowest economic return is found in C. arabica planted under crop plants (2,014.62±848.58 baht/rai).
download count:
 



    right-buttom
     
 

There are 237 online

All rights reserved The Botanical Garden Organization,Thailand