Thai Journal of Botany
     
Article's details
 
Title: Effect of leucaena green leaf manure on yield and animal nutritive value of Napier grass (Taiwan A 148 and Wruk Wona)
ชื่อบทความ: ผลของการใช้ใบกระถินเป็นปุ๋ยพืชสดต่อผลผลิตและคุณค่าทางอาหารสัตว์ ของหญ้าเนเปียร์พันธุ์ไต้หวันเอ 148 และรุควอน่า
Author: SIRIWATH THONGSAWATH1,*, SAYAN TUDSRI1, PRAPA SRIPICHITT1 & SOMKIAT PRASANPANICH2
ชื่อผู้แต่ง : สิริวัฒน์ ทองสวัสดิ์1,* สายัณห์ ทัดศรี1 ประภา ศรีพิจิตต์1 และ สมเกียรติ ประสานพานิช2
Pages: 73 - 82
Year: 2553
Year No.: 2
Volume: 2   Show All Articles
Abstract:          การศึกษาผลของการใช้ใบกระถินเป็นปุ๋ยพืชสดต่อผลผลิตและคุณค่าทางอาหารสัตว์ของหญ้าเนเปียร์พันธุ์ไต้หวันเอ 148 และพันธุ์รุควอน่า ที่ศูนย์วิจัยข้าวโพดและข้าวฟ่างแห่งชาติ อำเภอปากช่อง จังหวัดนครราชสีมา โดยวางแผนการทดลองแบบ split plot in RCBD จำนวน 3 ซ้ำ mainplot ประกอบด้วย หญ้าเนเปียร์ 2 พันธุ์ คือ ไต้หวันเอ 148 และ รุควอน่า และ subplot ประกอบด้วยอัตราการใส่ปุ๋ย 5 ระดับ คือ ไม่ใส่ปุ๋ย (แปลงควบคุม) ใส่ปุ๋ยพืชสดจากใบกระถินในอัตรา 1 2 และ3 ตันต่อไร่ต่อปี และปุ๋ยยูเรีย 196 กิโลกรัมต่อไร่ต่อปี ตัดหญ้าทุกๆ 2 เดือน โดยเก็บข้อมูลจำนวนหน่อต่อกอ ความสูง ผลผลิตน้ำหนักแห้ง เปอร์เซ็นต์ใบ และองค์ประกอบทางเคมีของหญ้า ผลการทดลองพบว่า หญ้าเนเปียร์พันธุ์ไต้หวันเอ 148 มีความสูงมากกว่าพันธุ์รุควอน่า แต่หญ้าเนเปียร์ทั้ง 2 พันธุ์ มีจำนวนหน่อไม่แตกต่างกันทางสถิติ เมื่อใส่ใบกระถินเป็นปุ๋ยพืชสดในอัตรา 2 และ 3 ตันต่อไร่ต่อปี พบว่า ผลผลิตน้ำหนักแห้งรวมไม่แตกต่างจากการใช้ปุ๋ยยูเรีย แต่การใส่ปุ๋ยพืชสดในอัตรา 2 และ 3 ตันต่อไร่ต่อปี กับการใส่ปุ๋ยยูเรียทำให้ผลผลิตน้ำหนักแห้งรวมสูงกว่าไม่ใส่ปุ๋ย (แปลงควบคุม)และใส่ใบกระถินในอัตรา 1 ตันต่อไร่ต่อปีอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ เมื่อพิจารณาองค์ประกอบทางเคมีพบว่าหญ้าเนเปียร์ทั้ง 2 พันธุ์ มีปริมาณไนโตรเจน ฟอสฟอรัส โพแทสเซียม แคลเซียม แมกนีเซียมและกำมะถัน ในใบและลำต้นใกล้เคียงกัน แต่การใส่ปุ๋ยยูเรียทำให้ปริมาณไนโตรเจน และแคลเซียมในลำต้นมีค่าสูงกว่าการใส่ใบกระถิน และการไม่ใส่ปุ๋ย แต่ไม่มีผลต่อองค์ประกอบทางเคมีอื่นๆ
          A study on the effect of leucaena green leaf manure on yield and animal nutritive value of napier grass cultivars: Taiwan A 148 and Wruk Wona was conducted at the National Corn and Sorghum Research Center, Pakchong district, Nakhon Ratchasima province. The experimental design was a split plot in RCBD with 3 replications. Main plot consisted of 2 napier grass cultivars, i.e. Taiwan A 148 and Wruk Wona, and subplot consisted of 5 different fertilizer rates, i.e. leucaena green leaf manure 0, 1, 2 and 3 tons per rai per year and urea 196 kg per rai per year. The grasses were all cut every 2 months. The data collections were number of tillers, plant height and animal nutritive values. The results showed that Taiwan A 148 was higher than Wruk Wona and number of tiller of 2 napier grass cultivars had no significantly difference. While total dry matter yield of application of leucaena green leaf manure at the rate 2 and 3 tons per rai per year showed no difference from urea application. However, these treatments were significantly greater than the control and leucaena leaf application treatments at the rate 1 ton per rai per year. In terms of the chemical composition content, it showed that nitrogen, phosphorus, potassium, calcium, magnesium and sulfur in the stem and leaf of 2 napier grass cultivars were not different. Application of urea fertilizer gave higher nitrogen and calcium contents in the stem than leucaena leaf application and control treatment. However, the urea application had no effect on the other chemical compositions.
download count:
 



    right-buttom
     
 

There are 133 online

All rights reserved The Botanical Garden Organization,Thailand