วารสารพฤกษศาสตร์ไทย สวนสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์
     
การเตรียมต้นฉบับ   ดาวน์โหลดไฟล์นี้
ข้อแนะนำสำหรับผู้เขียน
         วารสารพฤกษศาสตร์ไทยตีพิมพ์ผลงานวิจัยและบทความวิชาการด้านพืช สาหร่าย เห็ดรา ไลเคนส์ และหัวข้ออื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง และเป็นงานวิจัยที่ไม่เคยเผยแพร่หรือตีพิมพ์ในวารสารใดมาก่อน บทความวิจัยที่ได้รับการตีพิมพ์ต้องได้รับการพิจารณาจากผู้ทรงคุณวุฒิ อย่างน้อย 3 ท่าน ผู้ทรงคุณวุฒิจะไม่ทราบข้อมูลของผู้ส่งบทความและผู้ส่งบทความจะไม่ทราบข้อมูลของผู้ทรงคุณวุฒิ วารสารพฤกษศาสตร์ไทยมีกำหนดจัดพิมพ์ปีละ 2 เล่ม ในเดือนมิถุนายนและธันวาคม สำหรับผู้ที่ส่งบทความวิจัย (corresponding author) เพื่อพิจารณาตีพิมพ์ในวารสาร ต้องเป็นสมาชิกของสมาคมพฤกษศาสตร์และจะได้รับการยกเว้นค่าใช้จ่ายในการตีพิมพ์บทความ หากไม่เป็นสมาชิกจะมีค่าใช้จ่าย

การส่งต้นฉบับ
     
      บทความสามารถเขียนเป็นภาษาไทยหรือภาษาอังกฤษที่มีความถูกต้องตามหลักการใช้ภาษา บทความที่เป็นภาษาไทยต้องมีบทคัดย่อภาษาอังกฤษโดยส่งต้นฉบับบทความผ่านระบบออนไลน์ได้ที่ http://qsbg.or.th/bot/default.aspx หรือทาง อีเมล์ [email protected] ผู้เขียนจะได้รับทราบผลการพิจารณาบทความว่ายอมรับเพื่อตีพิมพ์ ปฏิเสธ หรือต้องมีการแก้ไขภายใน 3 เดือน กรณีที่มีการแก้ไขทางวารสารจะสง่ ไปใหผู้เขียน ดำเนินการแก้ไขปรับปรุง
      
การเตรียมต้นฉบับ
        ต้นฉบับควรมีความยาวไม่เกิน 20 หน้า และพิมพ์เป็น 1 คอลัมน์ ต้นฉบับบทความภาษาไทยพิมพ์ด้วยอักษร Browallia New ขนาด 16 pt ส่วนต้นฉบับภาษา อังกฤษพิมพ์ด้วยอักษร Times New Roman ขนาด 12 pt พิมพ์บรรทัดเว้นสองบรรทัด ระยะห่างจากขอบด้านละ 2.5 ซม. บทความประกอบด้วย ชื่อเรื่อง ชื่อผู้เขียนสถาบันที่สังกัด บทคัดย่อ คำสำคัญ บทนำ วิธีการศึกษาผลการวิจัย อภิปรายผลการศึกษา กิตติกรรมประกาศและเอกสารอ้างอิง หรืออาจมีภาคผนวก

ชื่อเรื่อง ต้องสั้นกะทัดรัดและมีคำที่แสดงข้อมูลเกี่ยวกับการวิจัย บทความภาษาไทยพิมพ์ด้วยอักษร Browallia New ขนาด 20 pt ตัวหนา และต้องเขียนทั้งภาษาไทย และภาษาอังกฤษ บทความภาษาอังกฤษพิมพ์ด้วยอักษร Times New Roman ขนาด 16 pt ตัวหนา

ชื่อผู้เขียน ให้ระบุชื่อผู้เขียน บทความภาษาไทยพิมพ์ด้วยอักษร Browallia New ขนาด 16 pt ตัวหนา ต้องเขียนทั้งภาษาไทยและภาษาอังกฤษ บทความภาษาอังกฤษพิมพ์ด้วยอักษร Times New Roman ขนาด 12 pt ตัวหนา สถาบันที่สังกัด ที่อยู่สถาบัน และอิเล็กทรอนิกส์เมลของผู้วิจัยที่เป็นผู้ประสานงานบทความภาษาไทยพิมพ์ด้วยอักษร Browallia New ขนาด 14 pt ตัวหนา ต้องเขียนทั้งภาษาไทยและภาษาอังกฤษ บทความภาษาอังกฤษพิมพ์ด้วยอักษร Times New Roman ขนาด 10 pt ตัวหนา

บทคัดย่อ ต้องเขียนบทคัดย่อที่สรุปความสำคัญของเนื้อหา มีความยาวไม่เกิน 250 คำ บทความภาษาไทยพิมพ์ด้วยอักษร Browallia New ขนาด 16 pt ต้องเขียนทั้งภาษาไทยและภาษาอังกฤษ บทความภาษาอังกฤษพิมพ์ด้วยอักษร Times New Roman ขนาด 12 pt

คำสำคัญ ควรมี 3–5 คำ และเป็นคำที่ไม่ควรปรากฏในชื่อเรื่อง บทความภาษาไทยพิมพ์ด้วยอักษร Browallia New ขนาด 16 pt ต้องเขียนทั้งภาษาไทยและภาษาอังกฤษ บทความภาษาอังกฤษพิมพ์ด้วยอักษร Times New Roman ขนาด 12 pt

เนื้อหาบทความวิจัย บทความภาษาไทยพิมพ์ด้วยอักษร Browallia New ขนาด 16 pt บทความภาษาอังกฤษพิมพ์ด้วยอักษร Times New Roman ขนาด 12 pt การเขียนชื่อวิทยาศาสตร์ หรือชื่อละตินเขียนตัวอักษรเอนเท่านั้น
          การอ้างอิงในเนื้อหาในกรณีอ้างอิงบทความ ภาษาไทยให้ใช้ ชื่อ นามสกุล และคณะ (ปี) หรือ (ชื่อ นามสกุล และคณะ, ปี) เช่น ประนอม จันทรโณทัย และคณะ (2551) หรือ (ประนอม จันทรโณทัย และคณะ,2551) กรณีอ้างอิงบทความภาษาอังกฤษให้ใช้ นามสกุล (ปี) หรือ (นามสกุล, ปี) เช่น Chantaranothai et al.(2008) หรือ (Chantaranothai et al., 2008) หากอ้างอิงจากงานวิจัยมากกว่า 1 เรื่อง ให้เรียงลำดับตามปีที่พิมพ์ โดยคั่นด้วยเครื่องหมายอัฒภาค (;)

ภาพประกอบ และ ตาราง ให้เรียงตามลำดับการใช้อักษรตัวเลขอารบิค ภาพและตารางจะต้องมีการอ้างอิงในเนื้อความโดยใช้ว่า ตารางที่ และ ภาพที่ ในการส่งต้นฉบับให้แยกตารางและภาพประกอบออกจากส่วนเนื้อหา โดยจัดไว้หน้าท้ายสุดของต้นฉบับ
           การตีพิมพ์ภาพสี เจ้าของบทความต้องรับผิดชอบค่าใช้จ่ายในการจัดพิมพ์ โดยติดต่อบรรณาธิการการจัดการ

หน่วย หน่วยที่ใช้ตามเกณฑ์ของ System International d'Unites (SI)

 
เอกสารอ้างอิง บทความภาษาไทยพิมพ์ด้วยอักษร Browallia New ขนาด 14 pt บทความภาษาอังกฤษพิมพ์ด้วยอักษร Times New Roman ขนาด 11 pt การอ้างอิงวารสารให้เขียนชื่อเต็มวารสาร และไม่ควรอ้างอิงโครงงานวิจัยระดับปริญญาตรีหรือรายงานการวิจัยฉบับสมบูรณ์ ยกเว้นได้รับการตีพิมพ์เผยแพร่ในวารสารวิชาการแล้ว การเรียบเรียงเอกสารอ้างอิงให้จัดเรียงตามลำดับอักษรภาษาไทย และตามด้วยภาษาอังกฤษ ตัวอย่างรูปแบบการเขียนดังนี้

วารสาร
บุญช่วง บุญสูง และ ประนอม จันทรโณทัย. 2555. หญ้าเผ่าพานิซี
         ในอุทยานแห่งชาติทุ่งแสลงหลวง จังหวัดพิษณุโลก. วารสาร
         พฤกษศาสตร์ไทย 4(2): 139-150.
Pedersen, H.Æ. & Watthana, S. 2013. Notes on the orchid
         flora of Thailand (III). Thai Journal of Botany 5(1): 5361.

หนังสือ
เชาวน์ ชิโนรักษ์ และพรรณี ชิโนรักษ์. 2528.
           ชีววิทยา พิมพ์ครั้งที่ 5. บูรพาสาส์น, กรุงเทพฯ
Ma, H. 2 0 0 6 . A molecular portrait of Arabidopsis meiosis. American
           Society of Plant Biologists, Rockville, Maryland.

บทความในหนังสือ
ธวัชชัย สันติกุล. 2532. พรรณพฤกษชาติในประเทศไทย; อดีต ปัจจุบันและอนาคต. ใน:
          ความหลากหลายทางชีวภาพในประเทศไทย. สิริวัฒน์ วงศ์สิริ และ ศุภชัย หล่อ
          โลหการ(บรรณาธิการ). หน้า 81-90. สำนักพิมพ์ประชาชน, เชียงใหม่.
D’Arcy, W.G. 1979. The classification of the Solanaceae. In: The biology
           and taxonomy of the Solanaceae
. J.G. Hawkes, R.N. Lester &
           A.D. Skelding (Eds.), pp. 3-48. Academic Press, London.
Renner, S. S., Clausing, G. , Cellinese, N. & Meyer, K. 2001.
          Melastomataceae. In: Flora of Thailand. T. Santisuk & K. Larsen
          (Eds.), Vol. 7 part 3, pp. 412- 497. Prachachon, Bangkok.

รายงานสืบเนื่องจากการประชุมวิชาการ
วรรณิกา หมุนสุข และประนอม จันทรโณทัย. 2559.กายวิภาคศาสตร์ของใบย่อยพืชกลุ่มฝาง
         (วงศถั่ว-วงศ์ย่อยราชพฤกษ์)ในประเทศไทย,หน้า 1–13.ใน: รายงานสืบเนื่องจาก
         การประชุมวิชาการพฤกษศาสตร์แห่งประเทศไทย ครั้งที่ 10,
.
        16–17 มิถุนายน 2559. มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี.

วิทยานิพนธ์
พิมพ์วดี พรพงษ์รุ่งเรือง. 2544. อนุกรมวิธานของพืชเผ่า Inuleae (Asteraceae)
         ในประเทศไทย
. วิทยานิพนธ์ ปริญญามหาบัณฑิต สาขาชีววิทยา
          บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยขอนแก่น.
Thitimetharoch, T.2004. Taxonomic. Study of the family
         Commellinaceae in Thailand
. PH.D. Thesis, Khon kaen University.

เว็บไซต์
          The Forest Herbarium. 2014. Thai Plant Names Tem Smitinand. Revised edition. R. Pooma & S. Suddee (Eds.). Department of National Parks, Wildlife and Plant Conservation, Bangkok.
           IUCN Standards & Petitions Committee. 2019. Guidelines for Using the IUCN Red List Categories and Criteria. Version. 14. Available from: https://iucnredlist.org. Accessed on: 10 December 2023.

กิตติกรรมประกาศ การเขียนกิตติกรรมประกาศควรเขียนให้สั้นกะทัดรัด

ต้นฉบับบทความที่จัดพิมพ์ ผู้ประสานงานจะได้รับต้นฉบับบทความที่จัดพิมพ์แล้ว จำนวน 5 ชุด พร้อม ไฟล์ PDF ของบทความวิจัย จำนวน 1 ชุด



 
    right-buttom
     
 

There are 98 online

All rights reserved The Botanical Garden Organization,Thailand