ขอขอบคุณ

        ตามที่องค์การสวนพฤกษศาสตร์ ได้จัดประชุมวิชาการเฉลิมพระเกียรติฯ พฤกษศาสตร์พื้นบ้าน "พฤกษศาสตร์พื้นบ้านไทย มองไกลสู่อนาคต" ในวันที่ 24-27 สิงหาคม 2559 ที่ผ่านมานั้น บัดนี้การประชุมดังกล่าวได้สำเร็จลุล่วงแล้วด้วยความเรียบร้อย ได้ผลตามวัตถุประสงค์ที่กำหนดไว้ทุกประการ ในโอกาสนี้ทางองค์การสวนพฤกษศาสตร์ขอขอบพระคุณผู้เข้าร่วมการประชุมทุกท่านและผู้สนับสนุนทุกหน่วยงานเป็นอย่างสูงมา ณ โอกาสนี้ หวังเป็นอย่างยิ่งว่าจะได้รับความร่วมมือจากท่านในโอกาสต่อไป

ขอแสดงความนับถือ
คณะกรรมการจัดการประชุมฯ

รายชื่อผู้เข้าร่วม ประมวลภาพถ่าย

จดหมายเวียนฉบับที่ 2

ดาวน์โหลดในรูปแบบ PDF






ที่มาและความสำคัญ

        ชนเผ่าดั้งเดิมหรือกลุ่มชนพื้นบ้านมีวิถีชีวิตและวัฒนธรรมที่มีความผูกพันกับพืช มาตั้งแต่ครั้งโบราณกาล ภูมิปัญญาพื้นบ้านในการใช้ประโยชน์จากพืชที่ได้ถูกถ่ายทอดจากรุ่นสู่รุ่น ซึ่งมีการสูญหายไปบ้างตามกาลเวลาและสภาพสังคมที่เปลี่ยนแปลงไป วิถีชีวิตแบบชนบทค่อยๆ ถูกแทนที่ด้วยสังคมเมือง ดังนั้น เพื่อไม่ให้ภูมิปัญญาและทรัพยากรอันมีค่าสูญหายไปมากกว่านี้ จึงควรจะมีการศึกษารวบรวมข้อมูลเพื่อสืบทอดภูมิปัญญานี้ไว้ โดยเฉพาะการศึกษาวิจัยด้านพฤกษศาสตร์พื้นบ้านซึ่งมีความเกี่ยวข้องกับศาสตร์อื่นๆ อีกหลายสาขา เช่น พฤกษอนุกรมวิธาน พฤกษนิเวศ เภสัชศาสตร์ มานุษยวิทยา ฯลฯ นอกจากนี้ การศึกษาวิจัยด้านพฤกษศาสตร์พื้นบ้านยังเป็นแนวทางในการต่อยอดภูมิปัญญาพื้นบ้านและพัฒนาการใช้พืชพื้นเมือง ให้เกิดการใช้ประโยชน์อย่างยั่งยืนและการแบ่งปันผลประโยชน์อย่างเป็นธรรม

        การประชุมวิชาการเฉลิมพระเกียรติฯ พฤกษศาสตร์พื้นบ้าน จัดขึ้นเพื่อเป็นการเฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ เนื่องในโอกาสมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา 7 รอบ 84 พรรษา ในฐานะที่ทรงเป็นบุคคลสำคัญด้านการส่งเสริมใช้ประโยชน์จากภูมิปัญญาพื้นบ้านควบคู่กับการส่งเสริมศิลปาชีพตลอดจนเพื่อเป็นการเทิดพระเกียรติในฐานะ “พระมารดาแห่งการคุ้มครองความหลากหลายทางชีวภาพ” โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อส่งเสริมการพัฒนาเครือข่ายทางวิชาการด้านพฤกษศาสตร์ และเป็นเวทีการนำเสนอผลงาน แลกเปลี่ยนความคิดเห็น และถ่ายทอดเทคโนโลยีของนักวิชาการ นักวิจัย ผู้ประกอบการ นักเรียน นักศึกษา ประชาชน รวมถึงหน่วยงานทั้งภาครัฐและเอกชน องค์กรส่วนท้องถิ่น ภายในประเทศ เพื่อให้เกิดการเรียนรู้ ตลอดจนความร่วมมือทางวิชาการ วิชาชีพ และการต่อยอดทางธุรกิจ ที่เกี่ยวข้องกับพฤกษศาสตร์พื้นบ้าน ตลอดจนเป็นการส่งเสริมการศึกษาวิจัย พัฒนาใช้ประโยชน์ รวมถึงการอนุรักษ์ภูมิปัญญาท้องถิ่น ให้ได้ผลอย่างเป็นรูปธรรมและยั่งยืน


สถานที่จัดงาน

    ณ สำนักบริการวิชาการ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ (ดูแผนที่นี้ใน google map)



วันที่จัดงาน

    24-27 สิงหาคม 2559

ขอบเขตการนำเสนอผลงาน

        การประชุมวิชาการเฉลิมพระเกียรติฯ พฤกษศาสตร์พื้นบ้าน แบ่งการนำเสนอผลงานออกเป็น 4 หัวข้อ ดังนี้
หัวข้อที่ 1 พฤกษศาสตร์พื้นบ้านในชนเผ่าดั้งเดิม หัวข้อที่ 2 การเกษตรพื้นบ้าน หัวข้อที่ 3 การประยุกต์ใช้และศึกษาวิจัยต่อยอด หัวข้อที่ 4 การอนุรักษ์และจัดการความรู้พื้นบ้าน

ผู้เข้าร่วมประชุม

        นักวิชาการ นักวิจัย นิสิต นักศึกษา บุคลากรภาครัฐและเอกชน ชุมชนและบุคคลที่สนใจ


กำหนดการ

กำหนดส่งบทคัดย่อ ภายใน 15 กรกฎาคม 2559
(ขยายระยะเวลา)
ลงทะเบียนร่วมงาน (นำเสนอผลงาน)
1. ภาคบรรยาย ภายใน 15 กรกฎาคม 2559
(ขยายระยะเวลา)
2. ภาคโปสเตอร์
การประชุมวิชาการและนำเสนอผลงาน 24-26 สิงหาคม 2559
ทัศนศึกษา
สวนพฤกษศาสตร์สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ อำเภอแม่ริม จังหวัดเชียงใหม่ 26 สิงหาคม 2559 (ภาคบ่าย)
ทัศนศึกษาเส้นทางสายวัฒนธรรมจอมทอง-หางดง (ดูรายละเอียด คลิก) 27 สิงหาคม 2559

*หมายเหตุ

ต้องลงทะเบียนและส่งบทคัดย่อผ่านทางเว็บไซต์การประชุมฯก่อน


อัตราค่าลงทะเบียน

ประเภท Early bird rate
(ภายใน 15 กรกฎาคม 2559)
Normal rate
(หลัง 15 กรกฏาคม 2559)
Excursion
นักเรียน/นักศึกษา 500 บาท 1,000 บาท ดูรายละเอียด คลิก
ประชาชนทั่วไป 800 บาท 1,500 บาท

หมายเหตุ
- ระบบจะปิดการลงทะเบียนออนไลน์ในวันที่ 31 กรกฎาคม 2559 ผู้ที่สนใจลงทะเบียนหลังจากนี้ สามารถลงทะเบียนได้หน้างาน
- ค่าลงทะเบียน รวมเอกสารประกอบการประชุม อาหารกลางวัน อาหารว่าง และอาหารเลี้ยงรับรองมื้อเย็นในวันที่ 24 สิงหาคม 2559

การตีพิมพ์ผลงานเรื่องเต็ม

        - กำหนดส่งบทความเรื่องเต็ม* 24 สิงหาคม 2559 - 31 ตุลาคม 2559

        - บทความเรื่องเต็มที่ส่งภายในวันที่ 31 ตุลาคม 2559 และได้รับการพิจารณาคัดเลือกจากผู้ทรงคุณวุฒิ (Peer review) จะได้ตีพิมพ์ในวารสารพฤกษศาสตร์ไทย (Thai Journal of Botany)



แนะนำที่พัก

        ข้อมูลที่พัก ณ สำนักบริการวิชาการ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ และที่พักในบริเวณใกล้เคียง ท่านสามารถติดต่อสอบถามรายละเอียดและจองที่พักตามข้อมูลเบอร์โทรศัพท์หรือเว็บไซต์ของแต่ละแห่งได้ด้วยตนเอง
คลิกเพื่อดูแผนที่ทั้งหมดของที่พัก


1. สำนักบริการวิชาการ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ (900 บาท)
053 942 870
uniserv@cmu.ac.th, uniservhostel@hotmail.com
เว็บไซต์: http://www.uniserv.cmu.ac.th/
2. The Sun Hostel (350-380 บาท)
053 217 100

3. Rim Nim Hostel (350-500 บาท)
091 018 9247
เว็บไซต์: ดูเพิ่มเติมในเว็บไซต์
4. Hotel Ya Yee (2,200-3,000 บ.)
099 269 5885, 085 396 0669
เว็บไซต์: https://www.facebook.com/hotelyayee/
5. Chiang Mai Flora (600-1,000 บ.)
086 185 4591, 053 895 167-70
info@chiangmaiflora.com
เว็บไซต์: https://www.facebook.com/hotelyayee/
6. Baan Mek Hostel (400-480 บ.)
094 635 5102
baanmek@gmail.com
เว็บไซต์: http://www.baanmekhostel.com/
7. Nim Man Boutique Resort (690-1,500 บ.)
053 222 638, 053 894 712, 086-430-6811
booking@nimmanresort.com
เว็บไซต์: https://www.nimmanresort.com/
8. Victoria Nimman Hotel (750-2,450 บ.)
0-5321-2775, 08 1287 8815, 053 226 234, 053 225 678
info@victorianimman.com
เว็บไซต์: http://www.victorianimman.com/
9. โรงแรมบีทู นิมมาน (890-990 บ.)
022 221 133, 088 263 2897, 053 242 838
rsvn@b2hotel.com
เว็บไซต์: http://www.xn--o3cf5fra.com/hotel/B2_Nimman



ติดต่อสอบถาม

ฝ่ายเลขานุการการประชุมฯ องค์การสวนพฤกษศาสตร์
โทรศัพท์ : 053-841204, 093-1300670
โทรสาร : 053-841204
E-mail : qsbg.ethnoconference2016@gmail.com

ประชาสัมพันธ์

ออกแล้ว รายละเอียดการทัศนศึกษา วันที่ 27 ส.ค. 59 อ่านรายละเอียด คลิก(วันที่ประกาศ 3/8/2559) ผู้สมัครท่านใดที่ได้ชำระเงินค่าลงทะเบียนเรียบร้อยแต่ยังไม่ได้ส่งหลักฐานกาารชำระเงินมาให้ฝ่ายประสานงานและลงทะเบียน หรือส่งหลักฐานการชำระเงินมาแล้วแต่สถานะการชำระของท่านแสดงเป็น "ยังไม่ได้ชำระ" กรุณาแจ้งฝ่ายประสานงานฯ และส่งหลักฐานเพื่อยืนยันการชำระเงินของท่านที่อีเมล์ qsbg.ethnoconference2016@gmail.com ด้วย จักขอบคุณยิ่ง (วันที่ประกาศ 29/7/2559) วันสุดท้ายของการส่งบทคัดย่อและการลงทะเบียน Early bird ขยายเวลาเป็นวันที่ 15 กรกฎาคม 2559 (วันที่ประกาศ 7/7/2559) ขยายเวลาการส่งบทคัดย่อและการลงทะเบียน Early bird เป็น 15 สิงหาคม 2559 (วันที่ประกาศ 30/6/2559) เปิดระบบลงทะเบียนออนไลน์แล้วคลิก (วันที่ประกาศ 1/6/2559) ท่านที่มีความสนใจจะนำเสนอผลงานในงานประชุมฯ สามารถจัดเตรียมข้อมูลของท่านเพื่อส่งเข้ารับการพิจารณาได้ โดยสามารถติดตามวันที่เปิดรับบทคัดย่อ ข้อมูลอัพเดทและข่าวสารต่างๆผ่านทางเว็บไซต์

สมัครรับข่าวสาร





ผู้จัด



หน่วยงานร่วมจัด



การเยี่ยมชม 15404 ครั้ง

เว็บไซต์การประชุมฯ

เว็บไซต์นี้จัดทำขึ้นเพื่อเป็นศูนย์กลางการกระจายข่าวและข้อมูลเกี่ยวกับการประชุมวิชาการเฉลิมพระเกียรติฯ พฤกษศาสตร์พื้นบ้าน ครั้งที่ 1 เพื่อให้บริการแก่นักพฤกษศาสตร์ นักวิจัย อาจารย์ และนิสิตนักศึกษาที่มีความสนใจในการเข้าร่วมได้เข้าถึงและรับความสะดวกจากทางผู้จัด

การใช้งานเว็บไซต์
ข้อตกลงและเงื่อนไข
FAQ
Sitemap

ข่าวล่าสุด

เปิดตัวเว็บไซต์อย่างเป็นทางการ
1 พฤษภาคม 59

ที่มาและวัตถุประสงค์

การประชุมวิชาการพฤกษศาสตร์พื้นบ้านครั้งนี้ถือเป็นอีกขั้นของการยกระดับความสำคัญให้แก่วงการการศึกษาทางด้านภูมิปัญญาจากใช้ประโยชน์พืชสมุนไพร ซึ่งได้เปิดโอกาสให้มีการนำเสนอผลงานต่างๆ จากหลากหลายหน่วยงาน ทั้งภาครัฐและเอกชนได้เข้ามาแลกเปลี่ยนและเรียนรู้องค์ความรู้ต่างๆ อันนำไปสู่การสร้างเครือข่ายเพื่อหลอมรวมเป็นอันหนึ่งอันเดียวกันของการพัฒนาประเทศให้มีความทัดเทียมหรือเป็นผู้นำด้านการศึกษาวิจัยในทุกๆด้านในอนาคต

ติดต่อเรา