วารสารพฤกษศาสตร์ไทย สวนสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์
     
แสดงบทความ
 
ชื่อบทความ(ไทย): พฤกษศาสตร์พื้นบ้านของละว้า บ้านละอูบ อำเภอแม่ลาน้อย จังหวัดแม่ฮ่องสอน
ชื่อบทความ(Eng): Ethnobotany of Lawa in La-Oob Village, Mae La Noi District, Mae Hong Son Province
ชื่อผู้แต่ง(ไทย): จรัสพงษ์ มูลใจ และ อังคณา อินตา*
ชื่อผู้แต่ง(Eng) : Jaratpong Moonjai & Angkh ana Inta*
เลขที่หน้า: 181  ถึง 199
ปี: 2559
ปีที่: 8
ฉบับที่: 2   แสดงบทความทั้งหมดของฉบับ
บทคัดย่อ:

     การศึกษาพฤกษศาสตร์พื้นบ้านของชาวละว้าบ้านละอูบ อำเภอแม่ลาน้อย จังหวัดแม่ฮ่องสอน มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาภูมิปัญญาในการใช้ประโยชน์จากพืชของชนเผ่าละว้า โดยทำการสำรวจระหว่างเดือนตุลาคม พ.. 2557 ถึงเดือนตุลาคม พ.. 2558 ในบริเวณสวนครัว พื้นที่เกษตร และป่ารอบหมู่บ้าน ด้วยวิธีการสัมภาษณ์แบบกึ่งโครงสร้าง (semi-structure interview) กับผู้ให้ข้อมูลหลักจำนวน 3 คน ประกอบด้วยผู้สูงอายุ เกษตรกร และหมอสอนศาสนา เกี่ยวกับชนิดของพืชที่นำมาใช้ประโยชน์ชื่อท้องถิ่นและวิธีการใช้ประโยชน์ เก็บตัวอย่างพืชเพื่อใช้ตรวจสอบชื่อวิทยาศาสตร์และจัดทำเป็นตัวอย่างแห้งเพื่อเก็บรวบรวมไว้ที่หอพรรณไม้ภาควิชาชีววิทยา คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ (CMUB herbarium) จากการสำรวจพบพืชที่นำมาใช้ประโยชน์ทั้งสิ้น 96 ชนิด 82 สกุล 44 วงศ์ โดยแบ่งพืชออกเป็น 6 กลุ่ม ตามประเภทการใช้ประโยชน์ คือ พืชที่ใช้เป็นอาหาร 64 ชนิด พืชสมุนไพร 12 ชนิด พืชที่ใช้ทำเครื่องนุ่งห่มและสีย้อม 2 ชนิด พืชที่ใช้ทำเครื่องมือเครื่องใช้และที่อยู่อาศัย 12 ชนิด พืชที่ใช้ในพิธีกรรมความเชื่อ 5 ชนิด และพืชที่ใช้ประโยชน์อื่นๆ 7 ชนิด พืชที่น่าสนใจ เช่น ผักกาดเขียวปลี (Brassicajuncea (L.) Czern.) เป็นพืชที่ชาวละว้านิยมรับประทาน และมีวิธีการแปรรูปอาหารตามรูปแบบดั้งเดิมที่สามารถเก็บไว้รับประทานได้ตลอดปีและสะพ้านก๊น (Sambucus javanica Blume) ที่นำมารักษาอาการปวดเมื่อยกล้ามเนื้อและข้อต่อจึงเป็นพืชที่มีความเป็นไปได้ในการศึกษาสารออกฤทธิ์ทางชีวภาพเพื่อพัฒนาเป็นยา

     This study aims to investigate the ethnobotanical knowledge of the Lawa lived in La-Oob village, Mae La Noi district, Mae Hong Son province. Field surveys were conducted from October 2014 to October 2015 in home garden, agricultural areas, and community forests. The three key informants include the elderlies, farmers, and religious teachers were interviewed by semi-structure interview methods. The key informants were asked about the vernacular name, parts of use,mode of preparation, and application for each used species. Plant samples were collected for species identification. Voucher specimens were deposited in CMUB herbarium. Totally 96 species (82 genera, 44 families) were recorded. They were classified into 6 groups according to their uses: food (64 species), medicine (12 species), dye and clothing materials (2 species),building and utensils (12 species), spiritual ceremonies (5 species), and miscellaneous uses (7 species). The interesting species included, for example, Brassica juncea (L.) Czern. is a popular edible plant of Lawa and can be preserved for eating all year  round. Sambucus javanica Blume can be used for relief of muscle fatigue and joint, so it might be used for investigating bioactivity of producing new medicine.

download count: 52
 



    right-buttom
     
 

There are 257 online

All rights reserved The Botanical Garden Organization,Thailand