วารสารพฤกษศาสตร์ไทย สวนสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์
     
แสดงบทความ
 
ชื่อบทความ(ไทย): สารพฤกษเคมี ฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระ และความเป็นพิษของสารสกัดใบกระถิน (Leucaena leucocephala (Lam.) de Wit) และใบไมยราบยักษ์ (Mimosa pigra L.)
ชื่อบทความ(Eng): Phytochemicals, antioxidation and toxicity of lead tree (Leucaena leucocephala (Lam.) de Wit) and giant mimosa (Mimosa pigra L.) leaf extracts
ชื่อผู้แต่ง(ไทย): พชรมน เม่ามูลเฮ1 จิณณวัตร์ มานะเสถียร2 และ ปิยนุช คะเณมา1,*
ชื่อผู้แต่ง(Eng) : PACHARAMON MAOMOONHA1, JINNAWAT MANASATHIEN2 & PIYANUT KHANEMA1,*
เลขที่หน้า: 175  ถึง 189
ปี: 2561
ปีที่: 10
ฉบับที่: 2   แสดงบทความทั้งหมดของฉบับ
บทคัดย่อ:

     งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อตรวจวัดปริมาณแทนนิน สารประกอบฟีนอลิกทั้งหมด มิโมซิน ฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระ และความเป็นพิษของใบกระถินและใบไมยราบยักษ์ในรูปสารสกัดน้ำกลั่นเอทานอล 40% และ 80% ผลการทดลองพบว่า สารสกัดใบกระถินและใบไมยราบยักษ์มีปริมาณแทนนินอยู่ในช่วง 24.55 ± 1.31 ถึง 95.22 ± 0.22 mg TNE/g และ 21.95 ± 1.43 ถึง 93.56 ± 0.62 mg TNE/g ตามลำดับ ปริมาณสารประกอบฟีนอลิกทั้งหมดอยู่ในช่วง 3.29 ± 0.35 ถึง 4.97 ± 0.99 mg GAE/g และ 3.87 ± 1.48 ถึง 5.72 ± 0.30 mg GAE/g ตามลำดับ ฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระตรวจวัดด้วยวิธี DPPH มีค่าสูงที่สุดในสารสกัดใบกระถินเอทานอล 40% และสารสกัดใบไมยราบยักษ์เอทานอล 80% (IC50 770.22 ± 80.61 และ 706.14 ± 51.82 μg/ml ตามลำดับ) โดยฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระแปรผันตามความเข้มข้นของสารประกอบฟีนอลิกทั้งหมดอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติยกเว้นสารสกัดใบไมยราบยักษ์น้ำกลั่นและเอทานอล 80% ปริมาณมิโมซินของพืช ทั้งสองมีค่าต่ำมากในทุกชุดการทดลอง โดยอยู่ในช่วง 0.07 ± 0.01 ถึง 0.16 ± 0.02 mg MME/g และ 0.07 ± 0.00 ถึง 0.09 ± 0.02 mg MME/g ตามลำดับ และความเป็นพิษเฉียบพลันของสารสกัดมีค่าเพิ่มขึ้น เมื่อให้เวลาทดสอบนานขึ้น โดยเฉพาะสารสกัดใบกระถินน้ำกลั่นและสารสกัดใบไมยราบยักษ์เอทานอล 40% ซึ่งแสดงความเป็นพิษสูงที่สุดเมื่อให้เวลาการทดสอบ36 ชั่วโมง (LC50 เท่ากับ 49.35± 10.32 และ 58.79 ±17.14 μg/mlตามลำดับ) สรุปพืชทั้งสองมีปริมาณสารพฤกษเคมีและฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระใกล้เคียงกัน แต่สารสกัดใบกระถินแสดงความเป็นพิษมากกว่าสารสกัดใบไมยราบยักษ์

     This study was conducted to determine thecontent of tannin, total phenolic compounds, mimosine, antioxidation and acute toxicity of lead tree (L) and giant mimosa (G) leavesvia distilled (DI), 40% and 80% ethanolic (Et) extracts. In lead tree and giant mimosa extracts, tannin contents varied from 24.55 ± 1.31 to 95.22 ± 0.22 mg TNE/g and from 21.95 ± 1.43 to 93.56 ± 0.62 mg TNE/g. Total phenolic compounds in the extracts ranged from 3.29 ± 0.35 to 4.97 ± 0.99 mgGAE/g and from 3.87 ± 1.48 to 5.72 ± 0.30 mg GAE/g. Antioxidant determination via DPPH method expressed the highest potential at L-40%Et and G-80%Et (IC50 770.22 ± 80.61 and 706.14 ± 51.82 μg/ml, respectively). Antioxidant mannersignificantly depended on an increasing of total phenolic compounds, except G-DI and G-80%Et. Both plants, mimosine contents of all groups were verylow by ranging from 0.07 ± 0.01 to 0.16 ± 0.02 mg MME/g and 0.07 ± 0.00 to 0.09 ± 0.02 mg MME/g. The acute toxicity was corresponding with the examination time, especially L-DI and G-40%Et which were the mosttoxic at 36 h (LC50 49.35 ± 10.32 and 58.79 ± 17.14 μg/ml, respectively). In conclusion, phytochemical contents and antioxidant activity being in both plants were similarly, but the extract of lead tree leaves seems more toxic over than that of giant mimosa leaves.


download count: 172
 



    right-buttom
     
 

There are 76 online

All rights reserved The Botanical Garden Organization,Thailand