วารสารพฤกษศาสตร์ไทย สวนสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์
     
แสดงบทความ
 
ชื่อบทความ(ไทย): ฤทธิ์ในการต้านอนุมูลอิสระและยับยั้งเอนไซม์ไทโรซิเนสของส่วนสกัดจากเหง้าของว่านสาวหลง
ชื่อบทความ(Eng): In vitro anti-oxidant and anti-tyrosinase activities of the rhizomal extracts from Amomum biflorum Jack.
ชื่อผู้แต่ง(ไทย): กล่าวขวัญ ศรีสุข ปรีดาวรรณ สาลี เยาวลักษณ์ เจริญสุข และ เอกรัฐ ศรีสุข
ชื่อผู้แต่ง(Eng) : KLAOKWAN SRISOOK, PREEDAWAN SALEE, YAOWALUK CHAROENSUK & EKARUTH SRISOOK
เลขที่หน้า: 143  ถึง 150
ปี: 2553
ปีที่: 2
ฉบับที่: พิเศษ   แสดงบทความทั้งหมดของฉบับ
บทคัดย่อ:         งานวิจัยนี้ทำการศึกษาฤทธิ์ต้านอนุมุลอิสระ ปริมาณสารประกอบฟีนอลรวม และฤทธิ์ต้านเอนไซม์ไทโรซิเนสของส่วนสกัดเฮกเซน เอทิลอะซิเตท และน้ำของเหง้าว่านสาวหลง ฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระทำโดยการทดสอบฤทธิ์กำจัดอนุมูล 2,2-Diphenyl-1-picrylhdrazyl (DPPH) ความสามารถในการรีดิวซ์ และความสามารถในการคีเลทไอออนของโลหะ จากการทดสอบพบว่า ส่วนสกัดเอทิลอะซิเตท มีฤทธิ์กำจัดอนุมูล DPPH และมีความสามารถในการรีดิวซ์สูงที่สุด ในขณะที่ส่วนสกัดน้ำมีความสามารถในการคีเลทไอออนของโลหะสูงที่สุด การวิเคราะห์หาปริมาณสารประกอบฟีนอลรวมโดยวิธี Folin-Ciocalteu พบว่าส่วนสกัดเอทิลอะซิเตทมีปริมาณสารประกอบฟีนอลรวมสูงที่สุดนอกจากนี้ยังได้ศึกษาฤทธิ์ต้านเอนไซม์ไทโรซิเนส พบว่าส่วนสกัดเฮกเซนแสดงฤทธิ์ยับยั้งเอนไซม์ไทโรซิเนสที่ดีที่สุด ผลการทดลองแสดงให้เห็นว่าส่วนสกัดจากเหง้าของต้นว่านสาวหลงมีศักยภาพในการนำไปพัฒนาเป็นองค์ประกอบของผลิตภัณฑ์เครื่องสำอางได้ในอนาคต
        In this study, hexane, ethyl acetate and water crude extracts of the rhizome of Amomum biflorum Jack. were evaluated for antioxidant activities, total phenolic contents and tyrosinase inhibitory activity. Evaluation of antioxidant activities included 2,2-diphenyl-1- picrylhdrazyl (DPPH) radical scavenging ability, reducing power and ferrous-ion chelating ability. Among solvent extracts, ethyl acetate extract showed the highest DPPH radicalscavenging and reducing power activities whereas the most potent ferrous-ion chelating activity was found in water extract. Total phenolic contents of the extracts were also evaluated using the Folin-Ciocalteu method. Ethyl acetate extract had the highest phenolic content among others. When tyrosinase inhibitory efffect was determined, hexane extract exhibited the most potent activity. These results suggest that the rhizomal extracts from A. biflorum have a potential to be useful ingredients in the further development of cosmetic products.
download count:
 



    right-buttom
     
 

There are 266 online

All rights reserved The Botanical Garden Organization,Thailand