วารสารพฤกษศาสตร์ไทย สวนสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์
     
แสดงบทความ
 
ชื่อบทความ(ไทย): ความหลากหลายทางชีวภาพของไลเคนในเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าภูหลวง จังหวัดเลย
ชื่อบทความ(Eng): Biodiversity of lichens in Phu Luang Wildlife Sanctuary, Loei province
ชื่อผู้แต่ง(ไทย): พชร มงคลสุข1,* กวินนาถ บัวเรือง1 ขจรศักดิ์ วงศ์ชีวรัตน์1 ชัยณรงค์ ดูดดื่ม2 นาถวิดา ดวงผุย1 วสันต์ เพิงสูงเนิน1 วราภรณ์ ศรีปรางค์1 สัญญา มีสิม1 สิทธิพร ปานเม่น1 และ มัตติกา โสดามุข1
ชื่อผู้แต่ง(Eng) : PACHARA MONGKOLSUK1,*, KAWINNAT BUARUANG1, KAJONSAK VONGSHEWARAT1, CHAINARONG DOODDURM2, NATWIDA DANGPHUI1, VASUN POENGSUNGNOEN1, VARAPORN SRIPRANG1, SANYA MEESIM1, SITTIPORN PARNMEN1 & MATTIKA SODAMUK1
เลขที่หน้า: 19  ถึง 30
ปี: 2556
ปีที่: 5
ฉบับที่: พิเศษ   แสดงบทความทั้งหมดของฉบับ
บทคัดย่อ:

    รวบรวมตัวอย่างไลเคนได้จำนวน 4,154 ตัวอย่าง จากเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าภูหลวง จังหวัดเลยที่ระดับความสูง 400-1,500 เมตร เหนือระดับน้ำทะเลปานกลาง จาก 7 สภาพป่า คือ ป่าดิบเขา (hill evergreen forest, HEF) ป่าดิบชื้น (tropical rainforest, TRF) ป่าดิบแล้ง (dry evergreen forest, DEF) ป่าเต็งรัง (mixed deciduous forest, MDF) ป่าเบญจพรรณ (dry dipterocarp forest, DDF) ป่าละเมาะเขาต่ำ (lower montane scrub, LMS) และป่าสนเขา (coniferous forest, CF) ระหว่างเดือนมิถุนายน พ.. 2551 ถึงเดือนพฤษภาคม พ.. 2553 เมื่อศึกษาคุณสมบัติทางกายวิภาควิทยา สัณฐานวิทยา และส่วนประกอบทางเคมีด้วยวิธีสปอตเทส (spot test) และรงคเลขผิวบาง (thin layer chromatography, TLC) สามารถจำแนกไลเคนระดับชนิด 3,488 ตัวอย่าง ประกอบด้วย ไลเคน 34 วงศ์ 106 สกุล 461 ชนิดเป็นไลเคนที่รายงานครั้งแรกในประเทศไทย 17 ชนิด และไลเคนที่ไม่สามารถระบุชนิดได้ ซึ่งคาดว่าจะเป็นไลเคนชนิดใหม่จำนวน 88 ชนิด โดยไลเคนวงศ์กราฟิดาซิอิ (Graphidaceae) มีความหลากหลายของชนิดมากที่สุด ถึง 130 ชนิด ขณะที่ป่าละเมาะเขาต่ำพบความหลากหลายของชนิดไลเคนมากถึง 31 วงศ์ 81 สกุล 283 ชนิด คำนวณได้ร้อยละ 34 ของชนิดไลเคนทั้งหมดที่ทำการศึกษา          

          Four thousand one hundred and fifty-four lichens specimens were collected from Phu Luang Wildlife Sanctuary, Loei province at 400-1,500 meters altitude. The collections were performed from seven different forest types; hill evergreen forest (HEF), tropical rainforest (TRF), dry evergreen forest (DEF), mixed deciduous forest (MDF), dry dipterocarp forest (DDF), lower montane scrub (LMS) and coniferous forest (CF) during June 2008 to May 2010. They were taxonomically classified based on anatomical, morphological and chemical constituent substances by spot test and thin layer chromatography. Lichens with completed taxonomic characters consisted of 3,488 specimens. They were identified into 34 families 106 genera and 461 species. Seventeen taxa were the first report of Thailand and 88 taxa were unidentified and expected to be new to science. The Graphidaceae had the greatest species diversity including 130 taxa. The lower montane scrub had the highest species diversity comprised as much as 31 families 81 genera and 283 taxa, which was 34 percentages of all described species.

download count:
 



    right-buttom
     
 

There are 834 online

All rights reserved The Botanical Garden Organization,Thailand