สภาพอากาศในแต่ละฤดูกาลในระบบนิเวศต่างๆมีผลต่อกระบวนการสังเคราะห์ด้วยแสงของไลเคนการศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาปัจจัยของภูมิอากาศในระบบนิเวศในฤดูกาลต่างๆที่มีผลต่อการสังเคราะห์ด้วยแสงของ
ไลเคนในเขตร้อน 5 ชนิด ได้แก่ Cladonia submultiformis, Parmotrema
tinctorum, Relicinaabstrusa, Relicinopsis intertexta และ Usneaundulata ซึ่งแพร่กระจายอยู่ในป่าดิบชื้นป่าดิบแล้ง ป่าดิบเขาต่ำ ป่ารุ่นสอง และป่าเต็งรัง ในอุทยานแห่งชาติเขาใหญ่ โดยนำไลเคนมาวัดการสังเคราะห์ด้วยแสงในสภาพควบคุมในห้องปฏิบัติการในฤดูหนาวฤดูร้อน ฤดูฝน และปลายฤดูฝนในพ.ศ. 2554 และ พ.ศ. 2555 พบว่า อัตราการสังเคราะห์ด้วยแสงเฉลี่ยสูงสุดวัดได้จาก U.undulata รองลงมาคือ C. submultiformis, R. abstrusa, P.tinctorum และ Rs. intertexta มีค่า 14.5, 12.6, 10.9, 9.5 และ 7 nmol CO2 g-1s-1 adw ตามลำดับ ระบบนิเวศที่ไลเคนมีอัตราการสังเคราะห์ด้วยแสงสูงสุดคือ ป่ารุ่นสอง วัดได้จาก U. undulata มีค่า 19.3 nmol CO2 g-1s-1 adw และต่ำที่สุดวัดได้ในป่าดิบชื้นจาก Rs. intertexta ไลเคนส่วนใหญ่มีอัตราการสังเคราะห์ด้วยแสงแตกต่างกันระหว่างฤดูกาลมากกว่าระบบนิเวศการศึกษาครั้งนี้ทำให้เข้าใจความสามารถและประสิทธิภาพในการสร้างสารอินทรีย์ของไลเคนในระบบนิเวศและฤดูกาลต่างๆซึ่งเป็นข้อมูลพื้นฐานที่นำไปสู่การอนุรักษ์และใช้ประโยชน์ไลเคนในเขตร้อนอนาคต
Variations of climatic factor in different seasons and ecosystems influence photosynthesis of lichens. The objective of this study was to observe the influences of climatic factor among different seasons and ecosystems on photosynthesis of lichens in the tropic. The lichens Cladonia submultiformis, Parmotrematinctorum, Relicina abstrusa, Relicinopsis intertexta and Usneaundulata were used as experimental plants. They distributed in tropical rain forest (TRF), dry evergreen forest (DEF), lower montane forest (LMF), secondary forest (SF) and dry dipterocarp forest (DDF) at Khao Yai national park. Photosynthesis of these lichens were measured under the control condition in the laboratory in the cool, hot, rainy and late rainy seasons in 2011 and 2012. The results showed that the highest net photosynthesis (NP) was averaged from U. undulataand subsequently lower in C. submultiformis, R. abstrusa, P. tinctorum and Rs. intertexta accounting for 14.5, 12.6, 10.9, 9.5 and 7 nmol CO2 g-1s-1 adw respectively. Usnea undulata from SF had the highest NP measured 19.3 nmol CO2 g-1s-1 adw while the lowest was observed in TRF from Rs. intertexta. Variations of NP among seasons were greater than those among ecosystems inmost lichens. Thus, these studies enhanced our understanding on the influences of climatic factors on production of organic matter among lichens, which are baseline data for conservation and sustainable utilization of lichens in the tropic in the future.