วารสารพฤกษศาสตร์ไทย สวนสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์
     
แสดงบทความ
 
ชื่อบทความ(ไทย): การขยายพันธุ์ต้นหัวร้อยรูหนาม (Myrmecodia tuberosa Jack) โดยการเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อ
ชื่อบทความ(Eng): Propagation of ant plant (Myrmecodia tuberosa Jack) by tissue culture
ชื่อผู้แต่ง(ไทย): อัจฉรา เมืองครุธ ชาติเชื้อ เชิงหอม งามนิจ ชื่นบุญงาม* และ ทยา เจนจิตติกุล
ชื่อผู้แต่ง(Eng) : ATCHARA MUANGKROOT, CHATCHUE CHUENGHOM, NGARMNIJ CHUENBOONNGARM* & THAYA JENJITTIKUL
เลขที่หน้า: 141  ถึง 159
ปี: 2558
ปีที่: 7
ฉบับที่: 2   แสดงบทความทั้งหมดของฉบับ
บทคัดย่อ:

     ต้นหัวร้อยรูหนาม (Myrmecodia tuberosa Jack) เป็นพืชอิงอาศัยเฉพาะถิ่นซึ่งพบทางภาคใต้ของไทย โดยทั่วไปพบว่าพืชชนิดนี้เป็นพืชอิงอาศัยที่มีมดอาศัยอยู่ภายในโคนลำต้น จึงทำให้ถูกเรียกว่า พืชมด ต้นหัวร้อยรูหนามถูกจัดเป็นพืชหายากและมีความเสี่ยงที่จะสูญพันธุ์ในอนาคตอันใกล้ อันมีสาเหตุจากการตัดไม้ทำลายป่าและถูกนำออกจากถิ่นอาศัยเพื่อใช้เป็นไม้ประดับ ดังนั้นการศึกษาเกี่ยวกับการอนุรักษ์พันธุ์ต้นหัวร้อยรูหนามจึงเป็นสิ่งจำเป็น ในปัจจุบันการเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อเป็นวิธีที่สามารถขยายพันธุ์พืชให้ได้ปริมาณมากในระยะเวลาจำกัดและใช้ในการอนุรักษ์พันธุ์พืช การศึกษานี้พบว่าส่วนยอดเป็นส่วนที่เหมาะสมที่สุดสำหรับการขยายพันธุ์ และได้ศึกษาสูตรอาหารที่เหมาะสมในการขยายพันธุ์พืชชนิดนี้ในหลอดทดลอง โดยตัดส่วนยอดยาว 1 เซนติเมตร จากต้นที่ปลอดเชื้อมาใช้เป็นชิ้นพืชทดลองและนำไปเลี้ยงบนอาหารวุ้นสูตร Murashige & Skoog (MS) ที่มีเบนซิลอะดีนีน (BA) เข้มข้น 0–8 มิลลิกรัมต่อลิตร ร่วมกับกรดแอลฟาแนฟทาลีนอะซิติก (NAA) เข้มข้น 0–0.1 มิลลิกรัมต่อลิตร และน้ำตาลซูโครส 30 กรัมต่อลิตร เป็นระยะเวลา 12 สัปดาห์ ก่อนย้ายเนื้อเยื่อลงบนอาหารวุ้นสูตร MS ที่ปราศจากสารควบคุมการเจริญเติบโตเป็นระยะเวลา 8 สัปดาห์ ผลการทดลองพบว่ายอดที่เลี้ยงบนอาหารวุ้นสูตร MS ที่มี BA เข้มข้น 4 มิลลิกรัมต่อลิตรร่วมกับ NAA เข้มข้น 0.1 มิลลิกรัมต่อลิตร เกิดจำนวนยอดใหม่มากที่สุด เฉลี่ย 50.86 ± 1.98 ยอดต่อชิ้นพืช และเกิดรากเฉลี่ยมากที่สุด 24.43 ± 2.53 รากต่อชิ้นพืชเมื่อตัดแยกยอดที่เกิดใหม่ไปเลี้ยงต่อในอาหารวุ้นสูตร MS ที่ปราศจากสารควบคุมการเจริญเติบโตเป็นระยะเวลา 8 สัปดาห์ พบว่ายอดมีการพัฒนาเป็นต้นหัวร้อยรูหนามที่สมบูรณ์

     Myrmecodia tuberosa Jack is an endemic epiphytic species which was found only in Southern part of Thailand. This plant has a mutualism relationship with ants so it is commonly called an tplant. At a present day, this kind of plant is considered a rare and risk to extinction species due to deforestation and forest smuggling for using as ornamental plant. Thus, the conservation study of ant plant is necessary. Nowadays, in vitro propagation is an alternative way to mass propagate plants in a limited time and to conserve them as well. In this study, shoot part was found to be the most suitable explant and the suitable medium for in vitro propagation of ant plant was investigated. The 1 cm of in vitro shoots were used as explants and were cultured on Murashige & Skoog (MS) agar medium supplemented with 0–8 mg/L N6-benzyladenine(BA) in combination with 0–0.1 mg/L α-naphthaleneacetic acid (NAA) and 30 g/L sucrose for 12 weeks. Then, all shoots were transferred to plant growth regulators (PGRs) free MS agar medium for 8 weeks. The results revealed that the explants which were cultured on MS agar medium supplemented with 4 mg/L BA and 0.1 mg/L NAA provided the maximum number of new shoots (50.86 ± 1.98 shoots/explant) and new roots (24.43 ± 2.53 roots/explant). When new shoots were individually subcultured onto PGRs-free MS agar medium for the next 8 weeks, they developedin to complete plantlets.

download count:
 



    right-buttom
     
 

There are 844 online

All rights reserved The Botanical Garden Organization,Thailand