วารสารพฤกษศาสตร์ไทย สวนสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์
     
แสดงบทความ
 
ชื่อบทความ(ไทย): ค่าความสำคัญและดัชนีความหลากหลายทางชีวภาพของไลเคนตามความสูงของลำต้นก่อเดือยในป่าดิบเขาต่ำ ณ อุทยานแห่งชาติเขาใหญ่
ชื่อบทความ(Eng): Important value and biodiversity index of lichens along the trunks of Castanopsis acuminatissima in the lower montane rain forest at Khao Yai National Park
ชื่อผู้แต่ง(ไทย): ภาควิชาชีววิทยา คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยรามคำแหง กรุงเทพฯ 10240
ชื่อผู้แต่ง(Eng) : Department of Biology, Faculty of Science, Ramkhamhaeng University, Bangkok 10240, Thailand
เลขที่หน้า: 81  ถึง 88
ปี: 2553
ปีที่: 2
ฉบับที่: พิเศษ   แสดงบทความทั้งหมดของฉบับ
บทคัดย่อ:         การศึกษาค่าความสำคัญและดัชนีความหลากหลายทางชีวภาพของไลเคนซึ่งแยกชั้นตามความสูงของต้นก่อเดือย (Castanopsis acuminatissima (Blume) A.DC.) ในป่าดิบเขาต่ำณ อุทยานแห่งชาติเขาใหญ่ มีจุดประสงค์เพื่อ ใช้ไลเคนเป็นตัวชี้วัดสิ่งแวดล้อม และเป็นแนวทางในการจัดทำสถานภาพของไลเคน เพื่อการนำไปใช้ประโยชน์ และการอนุรักษ์ในอนาคต การศึกษาทำโดยการวางแปลง 20 x 60 เซนติเมตร ที่บริเวณโคนต้น กลางต้น และเรือนยอด ของต้นก่อเดือย5 ต้น วาดขอบเขตของแทลลัสและเก็บตัวอย่างนำมาจำแนกชนิด วัดค่าความเป็นกรด-ด่างของเปลือกไม้ทั้งสามระดับ จากการศึกษาพบไลเคนทั้งหมด 142 ชนิด โดย Dimerella sp.3 ที่อาศัยอยู่บริเวณโคนต้นมีค่าความสำคัญสูงสุด รองลงมา คือ Phaeographina chlorocarpoides ที่อาศัยอยู่บริเวณเรือนยอด และ Bacidia sp.1 ที่อาศัยอยู่บริเวณโคนต้น โดยมีค่า IV 0.165, 0.163 และ 0.160 ตามลำดับ ดัชนีความหลากหลายทางชีวภาพแสดงโดยใช้ค่า diversity เป็นการวัดความอุดมสมบูรณ์ของชนิด มีค่า 12.8, 20 และ 23.6 จากโคนต้น กลางต้น และเรือนยอด ตามลำดับ ส่วน diversityของทั้งสามระดับมีค่า 3.28, 3.3 และ 3.09 ค่าความเหมือนสูงสุดคือบริเวณกลางต้น และเรือนยอดโดยมีค่าสูงถึง 54.8 ความเป็นกรดเพิ่มขึ้นแต่ค่า pH ของเปลือกไม้ลดลงตามระดับความสูง โดยวัดได้3.5, 3.6 และ 3.7 จากโคนต้น กลางต้น และเรือนยอด ไลเคนที่พบทั้งหมดเป็นพวกชอบกรดและส่วนใหญ่ชอบแสงโดยเฉพาะไลเคนที่เติบโตที่บริเวณเรือนยอดและกลางลำต้น
        Study on important value and biodiversity index of lichens along vertical stratification
of habitats on trunks of Castanopsis acuminatissima (Blume) A.DC. was performed at the lower
montane rainforest at Khao Yai National Park. The objectives of this study were to use lichen community for environmental indicator and identifying status for conservation and utilization.Quadrates of 20 x 60 cm were placed at the base, mid trunk and canopy of five host trees.Thallus covers of lichens were estimated by drawing outlines of thalli and samples were collected for identification. Bark pH at the three levels were determined. The study found a total of 142 species. The highest important value (IV) was found in Dimerella sp.3, inhabited the tree base, and subsequently lower in, Phaeographina chlorocarpoides, the canopy inhabited, and Bacidia sp.1, the base occupied accounting for 0.165, 0.163 and 0.160, respectively. Biodiversity index show that diversity values, measuring richness of taxa, were 12.8, 20 and 23.6 from base, mid trunk and canopy levels, respectively. The diversity, measuring taxa that are unique to each ecosystem, of the three levels were 3.28, 3.3 and 3.09, respectively. The highest similarity of taxa was recorded from mid trunk and canopy accounting for 54.8%.Acidity of bark slightly declines along height with pH measured 3.5, 3.6 and 3.7 from base, mid trunk and canopy. All species were acidophyte and the majority were phototrophilic, epecialty those grow on canopies and mid trunks.
download count:
 



    right-buttom
     
 

There are 926 online

All rights reserved The Botanical Garden Organization,Thailand