วารสารพฤกษศาสตร์ไทย สวนสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์
     
แสดงบทความ
 
ชื่อบทความ(ไทย): รูปแบบการแปรผันของการแลกเปลี่ยนก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์และคลอโรฟิลล์ ฟลูออเรสเซนซ์ในรอบวันของไลเคน Parmotrema tinctorum ในอุทยานแห่งชาติ เขาใหญ่
ชื่อบทความ(Eng): Diel patterns of CO2 gas exchange and chlorophyll florescence in the lichen Parmotrema tinctorum in Khao Yai National Park
ชื่อผู้แต่ง(ไทย): มงคล แผงเพ็ชร1,*, พิทักษ์ชัย เฟืองแก้ว1, เวชศาสตร์ พลเยี่ยม1, ชัยวัฒน์ บุญเพ็ง1, สันติ วัฒฐานะ2 และ กันฑรีย์ บุญประกอบ1
ชื่อผู้แต่ง(Eng) : MONGKOL PHAENGPHECH1,*, PITAKCHAI FANGKAEW1, WETCHASART POLYIAM1, CHAIWAT BOONPENG1, SANTI WATTHANA2 & KANSRI BOONPARGOB1
เลขที่หน้า: 169  ถึง 181
ปี: 2562
ปีที่: 11
ฉบับที่: 2   แสดงบทความทั้งหมดของฉบับ
บทคัดย่อ:

     กระบวนการแลกเปลี่ยนก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ในไลเคนเป็นองค์ความรู้พื้นฐานสำคัญต่อการเพาะเลี้ยงไลเคนเพื่อการอนุรักษ์และใช้ประโยชน์ดังนั้นการศึกษาจึงมีวัตถุประสงค์เพื่อวัดอัตราการแลกเปลี่ยนก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ในรอบวันของไลเคนโดยเลือกไลเคนชนิด Parmotrema tinctorum ในอุทยานแห่งชาติเขาใหญ่เป็นตัวอย่างศึกษาพบว่าไลเคนเริ่มกระบวนการสังเคราะห์ด้วยแสงในช่วงเช้าประมาณ 6:30 . กระบวนการนี้ดำเนินไปเรื่อย ๆ และมีค่าสูงสุดประมาณ 9:00 . จากนั้นมีค่าลดลงและหยุดที่เวลาประมาณ 10:00 . รวมระยะเวลาทั้งสิ้นประมาณ 3.5 ชั่วโมง หลังจากนั้นไลเคนเข้าสู่สภาวะการพักตัวประมาณ 7 ชั่วโมง เนื่องจากแทลลัสแห้ง และเริ่มฟื้นตัวในช่วงคํ่าเมื่อความชื้นในบรรยากาศเพิ่มขึ้นและไลเคนเริ่มดูดซับนํ้าเข้าสู่แทลลัสอีกครั้ง การหายใจในที่มืดเกิดขึ้นและยาวนานตลอดทั้งคืนประมาณ 13.5 ชั่วโมง จนกว่าไลเคนจะได้รับแสงอีกครั้ง วัฏจักรนี้จึงจะเริ่มขึ้นใหม่สภาวะแวดล้อมที่ทำให้ไลเคนชนิดนี้เกิดกระบวนการสังเคราะห์ด้วยแสงสูงสุด 1.56 (±0.79) mol CO2 m-2s-1 คือ ความเข้มแสง 320–365 μmol m-2s-1 อุณหภูมิอากาศ 25 องศาเซลเซียสความชื้นในบรรยากาศ 86 เปอร์เซ็นต์ และมีปริมาณนํ้าในแทลลัส 75–106 เปอร์เซ็นต์ ผลการศึกษานี้ช่วยเพิ่มพูนความรู้และความเข้าใจเกี่ยวกับนิเวศสรีรวิทยาของไลเคนในเขตร้อนโดยเฉพาะในประเทศไทยซึ่งขาดแคลนองค์ความรู้ด้านนี้ และการศึกษาเพิ่มเติมในไลเคนชนิดอื่นๆ เป็นสิ่งจำเป็นเพื่อเติมเต็มองค์ความรู้พื้นฐานที่สำคัญนี้

 

     Theprocess of CO2 gas exchange in lichens is the fundamental knowledge for cultivating lichens for conservation and utilization. Thus, this study aimed to measure diel CO2 gas exchange rates in the lichen Parmotrema tinctorum in natural habitat at Khao Yai National Park. We observed that photosynthesis, positive CO2 assimilation, of the lichen began at around 6:30 a.m. The process graduallyincreased and reached a maximum at around 9:00 a.m. Then, it gradually decreased and ended at around 10:00 a.m. This net positive CO2 uptake, was sustainedat approximately 3.5 hr. Thereafter, a dormant state began and lasted for 7 hr. when thallus dried out. The lichen was then reactivated near dusk when airhumidity increased, and rehydrated. Subsequently, respiration resumed and continued throughout the night for about 13.5 hr. As sunlight of the nextmorning appeared, this cycle is repeated. The average maximum photosynthesis measured 1.56 (±0.79) μmol CO2 m-2s-1 occurred at 320–365 μmol m-2s-1 of light intensity, 25 oC air temperature, 86% relative humidity, and 75–106% thallus water content. This result enhances our understanding of lichen ecophysiology in the tropical region, especially in Thailand where this knowledge is scarce. Most importantly, studies on other lichens are necessary and encourage to fullfill gaps of this information.


download count: 21
 



    right-buttom
     
 

There are 1090 online

All rights reserved The Botanical Garden Organization,Thailand