วารสารพฤกษศาสตร์ไทย สวนสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์
     
แสดงบทความ
 
ชื่อบทความ(ไทย): DNA barcodes ของพืช: หลักการพื้นฐาน การประยุกต์ใช้ และข้อจำกัด
ชื่อบทความ(Eng): DNA barcodes of plants: basic concept, application and limitation
ชื่อผู้แต่ง(ไทย): วุฒิพงศ์ มหาคำ
ชื่อผู้แต่ง(Eng) : WUTTIPONG MAHAKHAM
เลขที่หน้า: 1  ถึง 30
ปี: 2554
ปีที่: 3
ฉบับที่: 1   แสดงบทความทั้งหมดของฉบับ
บทคัดย่อ:           DNA barcode เป็นวิธีการทางชีววิทยาระดับโมเลกุลได้ถูกพัฒนาขึ้นมาเพื่อใช้ในการระบุชนิดหรือกลุ่มของสิ่งมีชีวิตภายในเวลาอันรวดเร็ว วิธีการนี้อาศัยหลักการวิเคราะห์ลำดับนิวคลีโอไทด์ของสายดีเอ็นเอในบริเวณที่เรียกว่า “ดีเอ็นเอมาตรฐาน” จากตัวอย่างสิ่งมีชีวิตที่ยังไม่ทราบชื่อ แล้วนำลำดับนิวคลีโอไทด์ที่ได้ไปเปรียบเทียบกับฐานข้อมูลลำดับนิวคลีโอไทด์ของสิ่งมีชีวิตที่ทราบชื่อวิทยาศาสตร์แล้ว บริเวณดีเอ็นเอมาตรฐานที่นำมาใช้เปรียบเทียบนั้น อาจเป็นบริเวณเดียวหรือ 2-3 บริเวณ แต่ต้องมีความยาวไม่มากและเป็นบริเวณเดียวกับชนิดอื่นๆ ที่ต้องการใช้เปรียบเทียบกันวิธีการสร้างระบบ DNA barcode จะช่วยให้ระบุชื่อสิ่งมีชีวิตได้จากทุกระยะของการเจริญ รวมถึงในสภาพที่เป็นชิ้นส่วนขนาดเล็ก ทั้งที่เป็นตัวอย่างสดและตัวอย่างที่ถูกรักษาสภาพไว้ ซึ่งจะเป็นประโยชน์อย่างมากต่อนักอนุกรมวิธานและบุคคลทั่วไปที่ไม่มีความชำนาญทางด้านอนุกรมวิธานและสามารถนำไปประยุกต์ใช้กับศาสตร์สาขาอื่นได้ เช่น การศึกษาทางด้านนิเวศวิทยา นิติวิทยาศาสตร์และการตรวจสอบผลิตภัณฑ์ทางชีวภาพและเภสัชภัณฑ์ เป็นต้น ปัจจุบันเป็นที่ทราบกันดีว่าระบบDNA barcode ของพืชมีประสิทธิภาพในการแยกและระบุชนิดพืชได้ไม่ดีนักเมื่อเทียบกับของสัตว์ และยังไมส่ ามารถนำไปใชได้ครอบคลุมกับพืชทุกกลุม่ ในบทความนี้ได้ เสนอขอ้ มูลพื้นฐานและการประยุกต์ใช้เกี่ยวกับ DNA barcode ของพืช นอกจากนี้ยังชี้ให้เห็นถึงข้อพึงระวังในการใช้ข้อมูลให้ถูกต้อง รวมถึงข้อจำกัดของวิธีการนี้ด้วย
         DNA barcoding has been explicitly proposed as a rapid molecular method that aims to identify biological specimens, and to assign them to a known species. The method involves the diagnostic comparison of one or a few fragments of short, universal and orthologous DNA sequences—standardized DNA—from an unknown specimen to a database of reference sequences from known species. The ideal DNA barcoding system allows identifying an organism at any stage of development and a small fragment of biological origin, both fresh and preserved specimens, hence it is practically desirable method for both taxonomists and non-specialists. DNA barcoding system is not only very useful for integrated taxonomic system, but also serves as a potentially applicable tool in other fields, such as ecological and forensic studies and pharmaceutical and biological product detection system. Unlike animals, DNA barcoding of plants seems to face a major challenge in delivering results in a discriminatory power and universality. In this review, I briefly provide both basic and applied aspects of DNA barcoding in plants and also indicate the awareness about the method, the correct use of concepts and its limitation.
download count:
 



    right-buttom
     
 

There are 865 online

All rights reserved The Botanical Garden Organization,Thailand