วารสารพฤกษศาสตร์ไทย สวนสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์
     
แสดงบทความ
 
ชื่อบทความ(ไทย): การถ่ายยีน chitinase เข้าสู่อ้อย (Saccharum officinarum L.) พันธุ์ Phil 66-07 โดยใช้ Agrobacterium tumefaciens
ชื่อบทความ(Eng): Agrobacterium-mediated transformation of chitinase gene into sugarcane (Saccharum officinarum L. ) cv. Phil 66-07
ชื่อผู้แต่ง(ไทย): รัตนา ขามฤทธิ์1 ประสิทธิ์ ใจศิล2 และ สุมนทิพย์ บุนนาค1,*
ชื่อผู้แต่ง(Eng) : RATTANA KHAMRIT1, PRASIT JAISIL2 & SUMONTIP BUNNAG1,*
เลขที่หน้า: 31  ถึง 44
ปี: 2554
ปีที่: 3
ฉบับที่: 1   แสดงบทความทั้งหมดของฉบับ
บทคัดย่อ:         วัตถุประสงค์ของการศึกษาเพื่อปรับปรุงพันธุ์อ้อยโดยการถ่ายโอนยีน chitinase สู่อ้อย พันธุ์ Phil 66-07 ด้วยการใช้ Agrobacterium จากการนำเนื้อเยื่อใบอ่อนอ้อย มาเลี้ยงบนอาหารสูตร MS ดัดแปลงที่เติม 2,4-D 3 มก./ล. ร่วมกับน้ำมะพร้าว 15% (โดยปริมาตร) พบว่าสามารถชักนำให้ เกิดแคลลัส 100 เปอร์เซ็นต์ จากการศึกษาผลของสารปฏิชีวนะ พบว่า สารปฏิชีวนะไฮโกรมัยซิน ความเข้มข้น 25 มก./ล. สามารถยับยั้งการเจริญของแคลลัสอ้อยได้ Agrobacterium tumefaciens สายพันธุ์ LBA 4404 ที่ใช้มีพลาสมิด pCAMBIA 1305.1 ซึ่งประกอบด้วยยีน chitinase รวมทั้งยีน hpt และยีน gus เป็นยีนเครื่องหมายและเป็นยีนรายงานผลตามลำดับ และพบว่าสามารถส่งถ่ายยีน chitinase เข้าสู่แคลลัสอ้อยได้ ซึ่งระยะเวลาที่เหมาะสมในการบ่มแคลลัสร่วมกับ Agrobacterium คือ 90 นาที ทำการยืนยันผลการถ่ายยีนด้วยวิธี histochemical GUS assay ซึ่งพบว่ามีการแสดงออก ของยีน gus ส่วนผลการตรวจสอบปฏิกิริยาลูกโซ่โพลีเมอเรส (PCR) พบว่ามีการสอดแทรกของยีน chitinase, 35S promoter และ NOS terminator ในแคลลัสอ้อยที่ผ่านการถ่ายยีน
        The objective of this study was to improve sugarcane by transferring the chitinase gene into sugarcane cv. Phil 66-07 using Agrobacterium. The young leaves of sugarcane were cultured on the modified MS medium supplemented with 3 mg/l 2,4-D and 15% coconut water (v/v). The percentage of callus induction was 100%. The effect of antibiotic was determined and found that growth of sugarcane callus was completely inhibited by 25 mg/l hygromycin. Agrobacterium tumefaciens strain LBA 4404 was used. It harbored the plasmid pCAMBIA 1305.1 which contained chitinase gene, as well as hpt and gus as marker and reporter genes, respectively. Successful transformation of chitinase gene into sugarcane callus was obtained. The optimal co-cultivation time was 90 minutes. Transformation was confirmed by histochemical GUS assay which revealed the GUS activity, while the PCR indicated the integration of chitinase gene, 35S promoter and NOS terminator in transgenic calli of sugarcane.
download count:
 



    right-buttom
     
 

There are 950 online

All rights reserved The Botanical Garden Organization,Thailand