วารสารพฤกษศาสตร์ไทย สวนสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์
     
แสดงบทความ
 
ชื่อบทความ(ไทย): การจัดสรรเพศและความสำเร็จในการสืบพันธุ์ของกระดุมเต็ม
ชื่อบทความ(Eng): Sex allocation and reproductive success in Eriocaulon smitinandii Moldenke
ชื่อผู้แต่ง(ไทย): สิรินันท์ ครองตน นริสา พิมพ์เสน และ อมรรัตน์ ประจักษ์สูตร์*
ชื่อผู้แต่ง(Eng) : SIRINAN KHORNGTON, NARISA PHIMSEN & AMORNRAT PRAJAKSOOD*
เลขที่หน้า: 17  ถึง 25
ปี: 2558
ปีที่: 7
ฉบับที่: 1   แสดงบทความทั้งหมดของฉบับ
บทคัดย่อ:

ศึกษาการจัดสรรเพศและความสำเร็จในการสืบพันธุ์ของกระดุมเต็ม (Eriocaulon smitinandii Moldenke) ในอุทยานแห่งชาติภูพาน จังหวัดสกลนคร จำนวน 25 ช่อดอก ภายใต้กล้องจุลทรรศน์แบบสเตอริโอ พบว่าในช่อดอกมีการเรียงชั้นของดอกเพศผู้สลับกับชั้นของดอกเพศเมีย โดยชั้นล่างสุดเป็นดอกเพศเมีย ในแต่ละช่อดอกมีดอกเพศเมียจำนวน 113–174 ดอก และมีดอกเพศผู้จำนวน 29–40 ดอก คิดเป็นอัตราส่วนของดอกเพศเมียต่อดอกเพศผู้ประมาณ 4 ต่อ 1 ส่วนการติดผลและการติดเมล็ดมีค่าเท่ากัน (92%) ศึกษาความหนาแน่นของกระดุมเต็ม โดยวางแปลงสำรวจแบบสุ่มขนาด 25 x 25 ตารางเซนติเมตร พบกระดุมเต็ม 5 บริเวณ คือ 1) บริเวณลานดุสิตา 2) บริเวณถ้ำจันทน์ 3) บริเวณเส้นทางถ้ำจันทน์ไปลานสาวเอ้ 4) บริเวณลานสาวเอ้และ 5) บริเวณอ่างกบ พืชมีความหนาแน่นในแต่ละบริเวณเป็น 48, 32, 89, 32 และ 63 ต้นต่อตารางเมตร ตามลำดับ การที่กระดุมเต็มมีความสำเร็จในการสืบพันธุ์สูงคือ มีค่าการติดผลและค่าการติดเมล็ดสูง รวมถึงการมีความหนาแน่นของประชากรสูง เป็นผลมาจากการมีดอกเพศเมียมากกว่าดอกเพศผู้ถึง 4 เท่า ในแต่ละช่อดอก

The sex allocation and reproductive success of Eriocaulon smitinandii Moldenke in Phu Phan National Park, Sakon Nakhon Province were studied by investigating 25 inflorescences under stereo microscope. The result showed that the inflorescence comprised alternate layers of male and female flowers. The lowest layer was the female flowers. The female flowers in each inflorescence were 113–174 whereas the male flowers were 29–40. The ratio of female to male flowers was 4 to 1. Fruit set and seed set were the same (92%). Plant density of this species was investigated by random sampling 25 x 25 cm 2. This species was found in five sites, including 1) Laan Dusita 2) Tham Chan 3) Tham Chan to Laan Sao Ae trail 4) Laan Sao Ae and 5) Ang Kob. The densities of the species in each area were 48, 32, 89, 32 and 63 plants per square meter, respectively. The high reproductive success in E. smitinandii, i.e. the high fruit set, the high seed set and the high population density, is caused by the fact that the number of female flowers is four times higher than the number of male flowers in each inflorescence.

download count:
 



    right-buttom
     
 

There are 297 online

All rights reserved The Botanical Garden Organization,Thailand