วารสารพฤกษศาสตร์ไทย สวนสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์
     
แสดงบทความ
 
ชื่อบทความ(ไทย): สัณฐานวิทยาเรณูของพืชสกุลว่านสี่ทิศ (Hippeastrum) 6 พันธุ์ปลูก
ชื่อบทความ(Eng): Pollen Morphology of six cultivars of Hippeastrum
ชื่อผู้แต่ง(ไทย): ประภัสสร อารยะกิจเจริญชัย1,* และ ฉันทนา สุวรรณธาดา2
ชื่อผู้แต่ง(Eng) : PRAPASSORN ARAYAKITCHAROENCHAI1,* & CHUNTANA SUWANTHADA2
เลขที่หน้า: 101  ถึง 110
ปี: 2553
ปีที่: 2
ฉบับที่: 2   แสดงบทความทั้งหมดของฉบับ
บทคัดย่อ:         ว่านสี่ทิศเป็นพืชที่มีถิ่นกำเนิดในแถบอเมริกาใต้และทางตอนใต้ของทวีปแอฟริกา มีการนำพืชสกุลนี้บางชนิดซึ่งมีดอกขนาดเล็กเข้ามาปลูกในประเทศไทยเป็นเวลานาน จนกลายเป็นพืชพื้นบ้านและกระจายอยู่ในทุกภาคของประเทศ ปัจจุบันได้มีการนำเข้าว่านสี่ทิศพันธุ์แท้และพันธุ์ลูกผสมจากหลายประเทศ มาใช้ประโยชน์เป็นไม้ดอกไม้ประดับการค้าในประเทศไทยและต่อมามีการผลิตพันธุ์ลูกผสมระหว่างชนิดขึ้นอย่างค่อนข้างกว้างขวาง ว่านสี่ทิศดังกล่าวนี้มีระดับพลอยดีที่แตกต่างกันทำให้มีความสามารถในการผสมข้ามแตกต่างกัน การศึกษาครั้งนี้เป็นส่วนหนึ่งของการศึกษาชีววิทยาของเรณูของว่านสี่ทิศที่ใช้เป็นพ่อพันธุ์ เพื่อการสร้างลูกผสมซึ่งมีประโยชน์ต่องานปรับปรุงพันธุ์พืชชนิดนี้เพื่อลดการนำเข้าสายพันธุ์การค้า ดำเนินการโดยนำเรณูของว่านสี่ทิศหลายพันธุ์ทั้งกลุ่มที่เป็นพันธุ์พื้นบ้าน (ดิพลอยด์) พันธุ์แท้นำเข้า (ดิพลอยด์) และพันธุ์การค้า (โพลีพลอยด์) มาทดสอบความมีชีวิต และศึกษาสัณฐานวิทยาโดยใช้กล้องจุลทรรศน์แบบใช้แสงและแบบส่องกราด พบว่า เรณูของว่านสี่ทิศทั้ง 6 พันธุ์ปลูก มีเปอร์เซ็นต์การงอกหลอดเรณูค่อนข้างสูง และทั้งหมดเป็นเรณูเดี่ยว มีรูปร่างรีมีขนาดความยาวของแกนระหว่างขั้ว 88.20 – 112.15 ไมโครเมตร และความยาวของแกนตามแนวศูนย์สูตร 30.25 – 37.13 ไมโครเมตร ลักษณะผิวของเรณูแตกต่างกันตามสายพันธุ์ปลูก ข้อมูลที่ได้นี้เป็นข้อมูลที่บอกเอกลักษณ์ของเรณูว่านสี่ทิศแต่ละสายพันธุ์ปลูกได้
         Hippeastrum is originated in South America and also a native of Southern Africa. Some of Hippeastrum species, having small flowers, were long time introduced to Thailand and have become the Thai’s local cultivars across the country. Currently, Hippeastrum species and hybrids are introduced from many countries for commercial ornamental purposes. These Hippeastrum are then widely used as parent plants to produce new hybrids. They are of various ploidy levels hence obtained different capability of cross hybridization. Studies on pollen biology of such Hippeastrum male parents are useful for the breeding programme of which could help reducing importing of commercial cultivars. The morphological observation of the pollens collected from Hippeastrum plants of local diploid cultivars, introduced diploid species and polyploid commercial cultivars were investigated under light and scanning electron microscopes. It was found that the pollen of cultivated species have high viability. The pollen grains are monad, ellipsoidal with 88.20 – 112.15 μm in length of polar axis and 30.25 – 37.13 μm in length of equatorial axis. The exine sculpturing is differing among the studied cultivars. Therefore, the pollen morphology would later be helpful characters for cultivars identification.
download count:
 



    right-buttom
     
 

There are 385 online

All rights reserved The Botanical Garden Organization,Thailand