การศึกษาความสัมพันธ์ของปัจจัยสิ่งแวดล้อมบางประการกับการกระจายของสังคมพืชบริเวณเขาแหลม อุทยานแห่งชาติเขาใหญ่ จังหวัดนครราชสีมา มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาอิทธิพลของทิศทางด้านลาด ความสูงของพื้นที่ และคุณสมบัติดิน ต่อโครงสร้างและการกระจายของสังคมพืช โดยวางแปลงชั่วคราวขนาด 10 x 10 เมตร จำนวน 3 แปลง ในทุกระดับความสูง 100 เมตร จากระดับน้ำทะเลปานกลางทั้งสองด้านของเขาแหลม เพื่อสำรวจพรรณพืชในแปลง ผลการศึกษา พบพรรณไม้ทั้งหมดจำนวน 103 ชนิด 80 สกุล 42 วงศ์ และไม่สามารถระบุชนิดอีกได้ 5 ตัวอย่าง จำแนกเป็นไม้ใหญ่ 82 ชนิด และลูกไม้ 55 ชนิด พรรณไม้สำคัญในพื้นที่ คือ ตองลาด กะอวม และสะเต้า โดยมีค่าดัชนีความสำคัญเท่ากับ 22.91%, 19.03% และ 13.85% ตามลำดับ ในส่วนการสืบต่อพันธุ์ของพืชเมื่อพิจารณาจากการกระจายของต้นไม้ตามชั้นขนาดความโตของเส้นผ่านศูนย์กลาง พบว่า มีรูปแบบการกระจายแบบ negative exponential growth form แสดงให้เห็นว่าจำนวนต้นของไม้ที่มีขนาดเล็กมีจำนวนมากพอที่จะสามารถเจริญเติบโตทดแทนเป็นไม้ขนาดใหญ่ที่ดีได้ในอนาคต ผลการวิเคราะห์การจัดลำดับของสังคมพืชตามความสัมพันธ์ของปัจจัยแวดล้อม พบว่า ความสูงจากระดับน้ำทะเลปานกลาง ปริมาณของอินทรียวัตถุในดิน และทิศทางด้านลาด มีความสัมพันธ์เชิงบวกต่อการปรากฏของสังคมพืชป่าไม่ผลัดใบ (r2=0.59, 0.63 และ 0.38 ตามลำดับ) และจากอิทธิพลของทิศทางด้านลาดต่อการปรากฏของสังคมพืช แสดงให้เห็นถึงอิทธิพลของภูเขาต่อทิศทางของลมมรสุมที่ก่อให้เกิดเขตเงาฝนเป็นผลทำให้การกระจายของสังคมพืชที่แม้จะอยู่ในระดับความสูงเดียวแต่มีทิศด้านลาดต่างกันก็อาจทำให้การกระจายของสังคมพืชต่างกันออกไป
The study on the relationships of some environmental factors and distribution of plant communities at Khao Laem, Khao Yai national park, Nakhon Ratchasima province aimed to investigate the effect of the following factors; the aspect, elevation and soil property, to the structure of plant communities and their distribution. Three temporary plots of a 10 x 10 square meters were laid at every interval of the elevation of 100 m.s.l. on both aspects of the Khao Laem for exploring plant species in the plots. The results showed that the total of 103 species, 80 genera, 42 families and five unidentified species were found. Of these, 82 species were classified as tree while 55 were sapling. The important trees were Actinodaphne henryi,Acronychia pedunculataand Pterospermum grandiflorum with Important Value Index of 22.91, 19.03 and 13.85, respectively. The pattern of diameter class of plants in the plots showed the negative exponential growth form suggesting that the plant community regeneration was in good (normal) condition. The ordination analysis of plant communities and the environmental factors indicated that the elevation, the amount of organic matter in soil and aspect were positively related to the evergreen forest (r2=0.59, 0.63 and 0.38, respectively). The aspect that faces the monsoon causing the rain shadow on the other side consequently effects the distribution of plant communities even they are on the same elevation but on different aspects.