วารสารพฤกษศาสตร์ไทย สวนสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์
     
แสดงบทความ
 
ชื่อบทความ(ไทย): ความสัมพันธ์ของลักษณะเมล็ดและการงอกกับปริมาณสาร Gamma-Aminobutyric Acid (GABA) ในข้าว 14 พันธุ์
ชื่อบทความ(Eng): Correlations between seed characteristics, seed germination and Gamma-Aminobutyric Acid (GABA) content of 14 rice cultivars
ชื่อผู้แต่ง(ไทย): พัชรี ปัญญานาค สิรี สุวรรณเขตนิคม สุวณี ตันเฮง และ วิลาวรรณ ศิริพูนวิวัฒน์
ชื่อผู้แต่ง(Eng) : PATCHAREE PANYANAK, SIREE SUWANKETNIKOM, SUWANEE TONHANG & WILAWAN SIRIPOONWIWAT
เลขที่หน้า: 97  ถึง 113
ปี: 2553
ปีที่: 2
ฉบับที่: พิเศษ   แสดงบทความทั้งหมดของฉบับ
บทคัดย่อ: ข้าวกล้องงอกมีสาร GABA สูงกว่าข้าวกล้องเนื่องจากการเปลี่ยนแปลงของเมล็ดระหว่างการงอก การทดลองนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ของขนาดเมล็ด ขนาดคัพภะ เปอร์เซ็นต์การงอก ปริมาณโปรตีน และปริมาณสาร GABA ในข้าว 14 พันธุ์ วางแผนการทดลองแบบสุ่มตลอด(CRD) จำนวน 2 ซ้ำ วิเคราะห์โปรตีนด้วยวิธี Kjeldahl Method และใช้ GC-MS วิเคราะห์สาร GABA พบว่า ขนาดเมล็ด ขนาดคัพภะ และรูปร่างของข้าวกล้องแตกต่างกันทางสถิติ (p<0.01) โดยกลุ่มข้าวนาส่วนใหญ่เมล็ดยาว คัพภะใหญ่และรูปร่างเรียว กลุ่มข้าวญี่ปุ่นเมล็ดสั้น คัพภะเล็ก รูปร่างป้อม ส่วนกลุ่มข้าวไร่มีทั้งเมล็ดยาวและสั้น คัพภะใหญ่และเล็ก มีทั้งรูปร่างปานกลางและป้อม พบนัยสำคัญทางสถิติของเปอร์เซ็นต์การงอกของเมล็ด (p<0.01) เปอร์เซ็นต์เมล็ดที่รากยาว 0.5-2.0 มม. (p<0.01) และเวลาที่เมล็ดงอกจนรากยาว 0.5-2.0 มม. (p<0.05) โดยพันธุ์หอมนิลซึ่งมีปริมาณสาร GABA สูงที่สุด
(241.72 มก./กก.) มีเปอร์เซ็นต์การงอก (100%) และเปอร์เซ็นต์เมล็ดที่รากยาว 0.5-2.0 มม. (86.7%) สูงที่สุด แต่ใช้เวลาในการงอกน้อยที่สุด (43.5 ชม.) ปริมาณสาร GABA มีสหสัมพันธ์ทางบวกกับเปอร์เซ็นต์เมล็ดที่รากยาว 0.5-2.0 มม. (r=0.60, p=0.03) และทางลบกับเปอร์เซ็นต์เมล็ดที่รากยาว <0.5 มม. (r= -0.55, p=0.05) ชี้ให้เห็นว่าพันธุ์ข้าวที่มีประสิทธิภาพการงอกสูงร่วมกับมีคัพภะใหญ่ และอยู่ในกลุ่มรูปร่างเรียวมีแนวโน้มมีปริมาณสาร GABA ในข้าวกล้องงอกสูงกว่าพันธุ์ที่ประสิทธิภาพการงอกต่ำและรูปร่างแบบอื่น
        GABA content of Germinated brown rice (GBR) was higher than brown rice (BR)due to changes in the rice grain during germination. The aims of this experiment were to study correlations between seed size, embryo size, seed germination, protein and GABA contents of 14 rice cultivars in CRD with 2 replications. Protein contents were analyzed using Kjeldahl Method, and GC-MS was used for GABA analysis. The results showed that seed size, embryo size and shape of BR were significantly different (p<0.01). The Lowland rice varieties were long grain, large embryo and slender shape; Japanese varieties were in short grain, small embryo and bold shape, while Upland rice varieties were both in long and short grain, large and small embryo, thus there were both in medium and bold shape. This study showed highly significant effect of percentage of seed germination (p<0.01), percentage of 0.5-2.0 mm root (p<0.01), and period of seed germination of 0.5-2.0 mm root (p<0.05). HN with the highest GABA content (24.17 mg/100 g) was the highest percentage of seed germination (100%) and percentage of 0.5-2.0 mm root (86.7%), whereas the period of seed germination was the least (43.5 hr). GABA content showed positive correlation with percentage of 0.5-2.0 mm root (r=0.60, p=0.03) and negative correlation with percentage of <0.5 mm root (r= -0.55, p=0.05). The results suggested that rice varieties with highly efficient seed germination, large embryo and slender shape tended to showed higher GABA content in GBR than varieties
with low efficient seed germination and others shape.
download count:
 



    right-buttom
     
 

There are 65 online

All rights reserved The Botanical Garden Organization,Thailand