|
|
|
|
|
|
|
แสดงบทความ
|
|
|
ชื่อบทความ(ไทย): |
พฤกษศาสตร์พื้นบ้านของชาวกะเหรี่ยงที่ตำบลบ้านจันทร์และแจ่มหลวง อำเภอแม่แจ่ม จังหวัดเชียงใหม่
|
ชื่อบทความ(Eng): |
Ethnobotany of the Karen at Ban Chan and Chaem Luang subdistricts, Mae Chaem district, Chiang Mai province
|
ชื่อผู้แต่ง(ไทย): |
ขวัญฤทัย คำฝาเชื้อ1,* ปริทรรศน์ ไตรสนธิ1 และ ชูศรี ไตรสนธิ1
|
ชื่อผู้แต่ง(Eng) : |
KHWANRUETHAI KHAMFACHUEA1,*, PARITAT TRISONTHI1 & CHUSIE TRISONTHI1
|
เลขที่หน้า: |
275
ถึง
297
|
ปี: |
2553
|
ปีที่: |
2
|
ฉบับที่: |
พิเศษ
แสดงบทความทั้งหมดของฉบับ
|
บทคัดย่อ: |
การศึกษาพฤกษศาสตร์พื้นบ้านของชาวกะเหรี่ยง ณ ต.บ้านจันทร์ และ ต.แจ่มหลวง อ.แม่แจ่มจ.เชียงใหม่ เลือกศึกษา 5 หมู่บ้าน การสำรวจเพื่อเก็บข้อมูลการใช้ประโยชน์พืชใช้วิธีสัมภาษณ์คนในท้องถิ่น เพื่อบันทึกข้อมูลเกี่ยวกับพืช ได้แก่ ชื่อพืชที่เป็นภาษาประจำเผ่า ส่วนที่ใช้ วิธีการใช้ ติดตามเก็บตัวอย่างพืช นำมาตรวจสอบชื่อวิทยาศาสตร์ด้วยเอกสารทางอนุกรมวิธานพืช และทำตัวอย่างแห้งเพื่อเก็บไว้สำหรับอ้างอิงที่หน่วยวิจัยพฤกษศาสตร์พื้นบ้าน ภาควิชาชีววิทยา คณะวิทยาศาสตร์มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ จากการสำรวจพบพืชที่มีการนำมาใช้ประโยชน์ทั้งหมด 216 ชนิด ใน 81 วงศ์แบ่งพืชออกเป็นหมวดหมู่ตามการใช้ประโยชน์เป็น 6 ประเภท คือ พืชที่ใช้เป็นอาหาร 153 ชนิด พืชที่ใช้ทำเครื่องนุ่งห่มและสีย้อม 30 ชนิด พืชที่ใช้ทำที่อยู่อาศัยและเครื่องใช้ 26 ชนิด พืชที่ใช้ในพิธีกรรมความเชื่อต่างๆ 9 ชนิด พืชมีพิษ 4 ชนิด และพืชที่ใช้ประโยชน์อื่นๆ 51 ชนิด ตัวอย่างพืชที่น่าสนใจได้แก่ สนสองใบ (Pinus merkusii Jungh. & de Vriese) เป็นพืชที่ขึ้นอยู่มากในพื้นที่ ลำต้นใช้ทำโครงสร้างต่างๆ ของบ้าน เช่น เสา ไม้กระดาน ฝาบ้าน เหมือดโลด (Aporosa villosa (Wall. ex Lindl.)Baill.) เนื้อไม้ใช้ทำภาชนะต่างๆ เช่น ถ้วย ชาม แก้วน้ำ ทัพพี และเปลือกต้นสับเป็นชิ้นเล็กๆ ตากจนแห้งใชเ้ ปน็ ไสบุ้หรี่ขี้โย ยอดออ่ นของปงิ้ ขาว (Clerodendrum colebrookianum Walp.) นำมาลวกรับประทานได ้และผลสุกใช้ทำสีย้อมธรรมชาติให้สีฟ้า รากของยอดิน (Morinda augustifolia Roxb.) ให้สีส้มแดงการย้อมผ้าด้วยสีย้อมธรรมชาตินับว่าเป็นภูมิปัญญาดั้งเดิมของชาวกะเหรี่ยงที่น่าสนใจ ปัจจุบันความรู้กำลังจะเลือนหายไป จึงน่าจะส่งเสริมให้มีการอนุรักษ์องค์ความรู้นี้ไว้
Ethnobotany of the Karen at Ban Chan and Chaem Luang subdistricts, Mae Chaem district, Chiang Mai province, was studied. Five villages were chosen as study sites. The data collection about plant uses was conducted by means of interviewing the local informants to record ethnobotanical data such as local names, used parts and their preparation. The samples were collected for taxonomic identification and kept as voucher specimens. The specimens were deposited in an Ethnobotanical Research Unit, Department of Biology, Faculty of Science, Chiang Mai University. The results indicated that 216 plant species in 81 families have been used by Karen people. The plants were classified into six categories according to their uses, 153 plant species used for food, 30 for costumes and dye, 26 for housing and utensils, 9 in ritually ceremony, 4 poisonous plants and 51 for miscellaneous uses. The interesting species were found, for instance, Pinus merkusii Jungh. & de Vriese are dominant plants in this area. Their stems are used for fuel and house construction, for example, poles, boards and wall. Aporosa villosa (Wall. ex Lindl.) Baill. wood is used for wares, cups, bowls, glasses and ladles whereas its chopped dry bark is one of the ingredients in local cigarette. Young shoots of Clerodendrum colebrookianum Walp. are edible and its ripened fruits can be used as natural blue coloured dye. Besides, roots of Morinda augustifolia Roxb. are also used for providing orange-red colour. Karen’s natural dying regards as interesting native wisdom. These valuable knowledges must be conserved before extinction.
|
|
download count:
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|