แสดงบทความ
|
|
|
ชื่อบทความ(ไทย): |
การศึกษาพฤกษศาสตร์พื้นบ้านในประเทศไทย กรณีศึกษาในอำเภอขุนยวม จังหวัดแม่ฮ่องสอน
|
ชื่อบทความ(Eng): |
Ethnobotanical study in Thailand, and case study in Khun Yuam District Maehongson Province.
|
ชื่อผู้แต่ง(ไทย): |
ชูศรี ไตรสนธิ และปริทัศน์ ไตรสนธิ
|
ชื่อผู้แต่ง(Eng) : |
Chusie Trisonthi & Paritat Trisonthi
|
เลขที่หน้า: |
2
ถึง
23
|
ปี: |
2552
|
ปีที่: |
1
|
ฉบับที่: |
1
แสดงบทความทั้งหมดของฉบับ
|
บทคัดย่อ: |
ในประเทศไทยมีการศึกษาการใช้ประโยชน์จากพืชมานานแล้ว แต่เพิ่งเริ่มมีการนำศัพท์คำว่า พฤกษศาสตร์พื้นบ้าน มาใช้หนึ่งปีหลังจากการประชุม ชีววิทยาชาติพันธุ์ ในปี พ.ศ. 2533 ที่เมืองคุนหมิง ประเทศสาธารณรัฐประชาชนจีน นักพฤกษศาสตร์ไทยได้ประชุมเพื่อบัญญัติศัพท์ให้เป็นภาษาไทย ต่อจากนั้นทีมงานวิจัยจากมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ได้เริ่มงานวิจัยด้านนี้มาจนถึงปัจจุบัน ผลงานวิจัยสามารถนำไปใช้พัฒนาคุณภาพชีวิตของชุมชนนั้นๆ และเป็นข้อมูลพื้นฐานในการจัดการทรัพยากรธรรมชาติให้ยั่งยืน ดังกรณีชาวกะเหรี่ยง อำเภอขุนยวม จังหวัดแม่ฮ่องสอน ชาวกะเหรี่ยงวังพึ่งพาทรัพยากรธรรมชาติในการดำเนินชีวิต การวิจัยเพื่อศึกษาภูมิปัญญาพื้นบ้านเพื่อจัดการทรัพยากรพืชกระทำโดยการรวบรวมข้อมูลจากการสัมภาษณ์ชาวกะเหรี่ยงในหมู่บ้านต่างๆ ในตำบลแม่อูคอ ระหว่างออกภาคสนามออกสนามได้เก็บตัวอย่างพืชที่ชาวกะเหรี่ยงใช้ประโยชน์โดยภูมิความรู้พื้นบ้านที่น่าสนใจ 258 ชนิด ส่วนมากใช้เป็นอาหารและสมุนไพร ส่วนการใช้ประโยชน์ในด้านอื่นๆ ได้แก่ การใช้เป็นอุปกรณ์สร้างบ้านและเครื่องใช้ครัวเรือน เป็นสีย้อมผ้าและเส้นใยถักทอเครื่องนุ่งห่ม นอกจากนี้ยังใช้เป็นอุปกรณ์สำหรับการเฉลิมฉลองในพิธีกรรมต่างๆ ของชนเผ่า
|
|
download count:
|
|
|
|
|