วารสารพฤกษศาสตร์ไทย สวนสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์
     
แสดงบทความ
 
ชื่อบทความ(ไทย): การชักนำให้เกิดพอลีพลอยด์ในเนื้อเยื่อกระชายแดง (Boesenbergia rotunda(L) Mansf.(red form)) ในสภาพทดลองโดยโคลชิซิน
ชื่อบทความ(Eng): Colchicine induced Polyploidy in Boesenbergia rotunda (L.) Mansf.
ชื่อผู้แต่ง(ไทย): นิยมศรี ศรีคุณ มาลี ณ นคร และสุรียา ติตันวิวัฒน์
ชื่อผู้แต่ง(Eng) : Niyomsri Srikun, Malee Nanakorn & Sureeya Tantiwiwat
เลขที่หน้า: 71  ถึง 80
ปี: 2552
ปีที่: 1
ฉบับที่: 2   แสดงบทความทั้งหมดของฉบับ
บทคัดย่อ: กระชายแดง (Boesenbergia rotunda (L.) Mansf. (red form)) เป็นพืชสมุนไพรวงศ์ขิง-ข่า หมอพื้นบ้านใช้เหง้าและรากสดเป็นยารักษาโรคปวดท้อง แต่กระชายแดงยังสร้างสารประกอบทุติยภูมิในปริมาณค่อนข้างต่ำ จึงมีการชักนำให้เกิดพอลิพลอยด์ ซึ่งอาจทำให้มีการสร้างสาระสำคัญมากขึ้น การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อหาความเข้มข้นของสารละลายโคลชิซินและระยะเวลาที่เหมาะสมต่อการชักนำกระชายแดงต้นดิพลอยด์เป็นต้นพอลิพลอยด์ โดยนำชิ้นส่วนยอดขนาดความสูง 1 เซนติเมตร แช่ในสารละลายโคลชิซิน ความเข้มข้น 0, 0.25 เปอร์เซ็นต์ เวลา 1 ถึง 4 วัน นำไปเลี้ยงบนอาหารกึ่งแข็งสูตร MS เติม BA ความเข้มข้น 13 ไมโครโมลาร์ เมื่อตรวจสอบกระชายแดงรุ่น M1V3 พบว่ามีการแช่ชิ้นส่วนในสารละลายโคลชิซิลความเข้มข้น 0.25 และ 0.25 เปอร์เซ็นต์ ตามลำดับ ใบของต้นพอลิพลอยด์มีความหนา และเซลล์คลุมมีความยาวมากกว่า แต่จำนวนปากใบต่อพื้นที่ 1 ตาราง มิลลิเมตร มีน้อยกว่าต้นควบคุมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ กระชายแดงที่ถูกชักนำให้เป็นต้นพอลีพลอยด์นี้อาจสร้างสารประกอบทุติยภูมิได้มากกว่าต้นดิพลอยด์ ดังที่พบในพืชบางชนิด
download count:
 



    right-buttom
     
 

There are 437 online

All rights reserved The Botanical Garden Organization,Thailand