วารสารพฤกษศาสตร์ไทย สวนสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์
     
แสดงบทความ
 
ชื่อบทความ(ไทย): พลวัตของซากใบไม้ในป่าชายเลนรุ่นสอง จังหวัดตราด
ชื่อบทความ(Eng): Dynamic of leaf litter in a secondary mangrove forest at Trat province
ชื่อผู้แต่ง(ไทย): วิลานี สุชีวบริพนธ์ ศศิธร พ่วงปาน* และ พิพัฒน์ พัฒนผลไพบูลย์
ชื่อผู้แต่ง(Eng) : VILANEE SUCHEWABORIPONT, SASITORN POUNGPARN* & PIPAT PATANAPONPAIBOON
เลขที่หน้า: 245  ถึง 255
ปี: 2553
ปีที่: 2
ฉบับที่: พิเศษ   แสดงบทความทั้งหมดของฉบับ
บทคัดย่อ:         ป่าชายเลนได้รับอิทธิพลจากปัจจัยทางชีวภาพและปัจจัยทางกายภาพ เช่น การขึ้นลงของน้ำทะเล อาจมีผลต่อปริมาณซากใบไม้บนพื้นป่าที่จะเข้าสู่การย่อยสลายเพื่อการหมุนเวียนธาตุอาหารต่อไป จึงทำการศึกษาพลวัตของซากใบไม้ ได้แก่ ซากใบไม้ที่ร่วงหล่น ซากใบไม้สุทธิที่สะสมบนพื้นป่า และอัตราการย่อยสลายของซากใบไม้ในเขตพันธุ์ไม้ 3 เขต เรียงลำดับจากแม่น้ำเข้ามาในแผ่นดิน ได้แก ่ เขตแสม เขตโกงกาง และเขตตะบูน ผลการศึกษาพบวา่ ทั้งปริมาณซากใบไม้มราร่วงหล่น(1.37–2.51 กรัม/ตารางเมตร/วัน) และซากใบไม้ที่สะสมบนพื้นป่าที่เก็บจากพื้นป่าข้างกะบะรองรับซากพืช (0.14-0.58 กรัม/ตารางเมตร/วัน) แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญระหว่างเขตพันธุ์ไม้โดยเขตโกงกางมีปริมาณมากที่สุด รองลงมาคือเขตแสม และเขตตะบูน ตามลำดับ อัตราการสะสมของซากใบไม้บนพื้นป่าต่อซากใบไม้ที่ร่วงหล่นมีค่าเท่ากับ 0.12, 0.23 และ 0.10 สำหรับเขตแสม เขตโกงกางและเขตตะบูน ตามลำดับ แต่อัตราการย่อยสลายซากใบไม้ทั้ง 3 เขต ไม่แตกต่างกันถึงแม้อุณหภูมิดินมีความแตกต่างกัน จึงสามารถอธิบายได้ว่า ความแตกต่างของพลวัตซากใบไม้ในแต่ละเขตเป็นผลมาจากปัจจัยทางกายภาพและปัจจัยทางชีวภาพ
        Mangrove forest is usually affected by biological and physical factors such as tidewhich may influence on amount of accumulated leaf litter on the forest floor. The accumulated leaf litter plays an important role on nutrient cycling by decomposition. This study was conducted on dynamic of leaf litter in terms of litter fall, net accumulated litter and decomposition of litter in 3 vegetative zones from the river edge to inland: Avicennia, Rhizophora and Xylocarpus zones. The results showed that amount of litter fall (1.37–2.51 g/m2/day) and accumulated litter on the forest floor (0.14 - 0.58 g/m2/day) were significantly different among zones.
Rhizophora zone showed the highest amount and followed by  vicennia and Xylocarpus zones, respectively. Ratio of net accumulated litter and litter fall was 0.12, 0.23 and 0.10 in Avicennia, Rhizophora and Xylocarpus zones, respectively. Decomposition rate was not significantly different by zones, although the soil temperature was significantly different. The zonal differences of leaf-litter dynamic by some physical and biological influences were discussed.
download count:
 



    right-buttom
     
 

There are 228 online

All rights reserved The Botanical Garden Organization,Thailand