หลักการและเหตุผล
|
ประเทศไทยตั้งอยู่ในพื้นที่ป่าเขตร้อน มีความหลากหลายของสิ่งมีชีวิต ทั้งพืชและสัตว์ที่สลับซับซ้อน มีต้นทุนทางธรรมชาติที่สำคัญต่อการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคม มีการใช้ประโยชน์จากพืชเป็นอาหาร ยารักษาโรค สั่งสมเป็นภูมิปัญญาหรือองค์ความรู้เกี่ยวกับการใช้ทรัพยากรพืชสืบต่อกันมา ในขณะที่สังคมสมัยใหม่เน้นการพัฒนาเศรษฐกิจ มีการเปลี่ยนแปลงสภาพแวดล้อม วิถีการดำเนินชีวิต ทำให้พืชและภูมิปัญญาท้องถิ่นสูญหายไปกับการพัฒนาสังคมเมืองซึ่งเมืองมีการขยายตัวเป็นลำดับ พื้นที่เมืองรุกคืบเข้าไปในเขตเกษตรกรรม เป็นเหตุให้พืชพรรณในสภาพธรรมชาติถูกคุกคาม หากยังรักษาป่าแหล่งอาศัยของพืชไว้ไม่ได้หรือไม่มีแนวทางการใช้ประโยชน์ พรรณพืชเหล่านี้อาจสูญพันธุ์ไปในที่สุด
องค์การสวนพฤกษศาสตร์ ตระหนักถึงความสำคัญของการอนุรักษ์ทรัพยากรทางพันธุกรรมพืชท้องถิ่นและการรักษาภูมิปัญญาท้องถิ่น สนับสนุนให้มีองค์ความรู้และการสร้างภูมิคุ้มกันเพื่อคุ้มครองฐานทรัพยากรพืช ได้จัดให้มีการอบรม นักพฤกษศาสตร์ท้องถิ่นแก่บุคลากรผู้ปฏิบัติงานด้านพฤกษศาสตร์และปฏิบัติงานเกี่ยวข้องกับชุมชนท้องถิ่นขึ้นเพื่อเพิ่มพูนความรู้ ประสบการณ์ ตลอดจนแลกเปลี่ยน เรียนรู้การสร้างสมดุลระหว่างการอนุรักษ์และการใช้ประโยชน์อย่างยั่งยืนรวมถึงร่วมกันพัฒนางานด้านพฤกษศาสตร์ของประเทศให้เกิดความต่อเนื่องต่อไป
|
วัตถุประสงค์
|
1) เพื่อให้ความรู้เบื้องต้นทางด้านพฤกษศาสตร์ในหลายสาขา สำหรับการนำไปประยุกต์ใช้และศึกษาวิชาการพืชขั้นสูงต่อไป
2) เพื่อส่งเสริมการอนุรักษ์ทรัพยากรพืชและการใช้ประโยชน์อย่างยั่งยืน
3) เพื่อสร้างโอกาสการแลกเปลี่ยนความรู้ของผู้สนใจและนักวิชาการด้านพฤกษศาสตร์
|
เนื้อหาการอบรม
|
1) บทบาท หน้าที่ และความสำคัญของสวนพฤกษศาสตร์
2) การจัดการพรรณไม้
3) ความรู้ทางด้านพฤกษศาสตร์เบื้องต้น
4) ความหลากหลายของทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม
5) การอนุรักษ์สัตว์และพรรณพืช
6) การใช้ประโยชน์จากพรรณพืช
7) การเพาะขยายพันธุ์พืช
|
กลุ่มเป้าหมาย
|
ครู อาจารย์ นักศึกษา หมอยา และผู้สนใจทางด้านพฤกษศาสตร์ จำนวน 50 คน
|
คุณสมบัติผู้สมัคร
|
บุคคลทั่วไป อายุไม่เกิน 60 ปี ที่มีสุขภาพร่างกายแข็งแรง และไม่มีโรคประจำตัวร้ายแรง
|
สิ่งที่ต้องเตรียมมา
|
1) ยารักษาโรคประจำตัว
2) เสื้อกันหนาว อุปกรณ์ป้องกันแดด เช่น หมวก ร่ม แว่นตากันแดด
3) รองเท้าสำหรับเดินศึกษาภาคสนาม
|
สถานที่ดำเนินการ
|
1) สวนพฤกษศาสตร์สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ อำเภอแม่ริม จังหวัดเชียงใหม่
2) อุทยานแห่งชาติดอยอินทนนท์ อำเภอจอมทอง จังหวัดเชียงใหม่
3) บ้านปงไคร้ ตำบลโป่งแยง อำเภอแม่ริม จังหวัดเชียงใหม่
|
วิทยากรผู้ให้ความรู้
|
1) นักวิชาการ องค์การสวนพฤกษศาสตร์
2) วิทยากรภาคสนาม อุทยานแห่งชาติดอยอินทนนท์ และบ้านปงไคร้
|
หน่วยงานรับผิดชอบ
|
งานเผยแพร่ความรู้ ส่วนพิพิธภัณฑ์ธรรมชาติ ศูนย์วิจัยและพัฒนาสง่า สรรพศรี
|
ผลที่คาดว่าจะได้รับ
|
1) องค์การสวนพฤกษศาสตร์เป็นแหล่งเผยแพร่ความรู้ด้านพืชและความหลากหลายทางชีวภาพ ตลอดถึงการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม
2) เกิดการรวมกลุ่มผู้สนใจงานด้านพฤกษศาสตร์ให้เกิดการขยายงานด้านการศึกษาความหลากหลาย การใช้ประโยชน์และการอนุรักษ์พรรณพืช รวมถึงการรวบรวมพันธุกรรม พืชสมุนไพรและพืชเศรษฐกิจในชุมชนท้องถิ่น เกิดแนวทางต่อยอดภูมิปัญญาพื้นบ้าน การกระจายพันธุ์ สามารถนำข้อมูลไปประยุกต์ในการศึกษา วิจัยพืชขั้นสูงต่อไป
|
***หมายเหตุ
1. ทุกหลักสูตรไม่เสียค่าใช้จ่ายในการลงทะเบียน
2. ขอสงวนสิทธิ์ในการลงทะเบียน หากได้ผู้เข้าร่วมอบรมครบตามจำนวนที่กำหนดครบแล้ว
3. ขอสงวนสิทธิ์ในการมอบใบประกาศนียบัตร หากผู้เข้าร่วมอบรมไม่สามารถรับการอบรมได้ครบตามชั่วโมงที่กำหนด
4. รับสมัครหน่วยงาน/สถาบันละไม่เกิน 5 คน ต่อหลักสูตร
5. คณะผู้จัดไม่มีบริการที่พักแก่ผู้เข้าอบรม
|